กระดานสุขภาพ
เลิกกินยาคุมมาได้ 1 สัปดาห์แล้วมีอารการเจ็บหัวนม ผิดปกติหรือไม่ค่ะ | |
---|---|
7 มิถุนายน 2558 02:44:33 #1 สวัสดีค่ะคุณหมอ หนูกินยาคุมยี่ห้อ *** มาเกอืบ3ปีแล้วคะ หนูกลัวมีผลกระทบต่อการกินยาคุมนานไป เลยเลิกกินหลังหมดประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาได้สัปดาห์นึงแล้วคะ แล้วมารู้สึกเจ็บหัวนมเวลาไปโดนมัน เต้านมไม่เจ็บนะคะ เจ็บหัวนมอย่างเดียวทั้งสองข้างเลยคะ หนูอยากถามว่า 1...กินยาคุมนานๆมีผลเสียอะไรไหมคะ ถ้าจะกินต่อไปอีกได้ไหม เพราะมันสะดวก ?? 2...อาการเจ็บหัวนมของหนู มันผิดปกติไหมคะ หรืออาจเป็นเพราะฮอโมนเปลี่ยนจากการเลิกกินยาคุม ?? 3...ถ้าจะเปลี่ยนเป็นยาคุมแบบฝัง มันได้ผลดีเหมือนแบบเม็ดไหมคะ หรือว่าแบบเม็ดได้ผลดีดว่า ?? 4...หนูอยากฉีดวัคฉีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกค่ะ แบบป้องกันHPV4สายพันธุ์ราคาประมาณเท่าไหรหรอคะ ได้ผลดีไหม ?? (เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกเมื่อปีที่แล้วแล้วคะ ผลไม่เป็นอะไร) .....สุดท้ายนี้ขอให้คุณหมอทุกๆท่านสุขภาพแข็งแรง มีความสุขมากๆนะคะ ^_^ |
|
อายุ: 24 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 44 กก. ส่วนสูง: 162ซม. ดัชนีมวลกาย : 16.77 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
10 มิถุนายน 2558 04:51:47 #2 เรียน คุณ 9172f, ขอตอบเป็นข้อ ๆตามที่คุณสอบถามมานะครับ 1. และ 3. จากที่มีการเก็บข้อมูลย้อนหลัง พบว่าสตรีที่ได้รับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันมาเป็นเวลา 12 ปี ไม่พบความเสี่ยงต่อสุขภาพแตกต่างจากสตรีที่ไม่เคยได้รับประทานยาคุมกำเนิดมากอ่น ทั้งนี้ต้องมีการตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เนื่องจากปัจจุบันมีสารปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมากกว่าสมัยก่อนมาก ทั้งในอาหาร อากาศ น้ำดื่ม 2. อาการคัดตึงเต้านม หรือประจำเดือนมากะปริบกะปรอย หรือตกขาว มักพบได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศ ส่วนใหญ่มักหายได้เอง เมื่อผ่านไป 1-2 เดือน ซึ่งร่างกายจะปรับตัวเข้ากับระดับฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนแปลงไป 4. กรณีของคุณ หากต้องการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสกระตุ้นมะเร็งปากมดลูก ยังคงได้ครับ เพียงแต่ประสิทธิภาพอาจไม่ดีเท่ากับการฉีดในเด็ก 9-15 ปี ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน เนื่องจากเชื้อนี้เป็นเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนยี่ห้อนั้น ให้ผลป้องกันไวรัสกระตุ้นมะเร็งปากมดลูกไม่แตกต่างกัน เพียงแต่ชนิด 4 สายพันธุ์ จะมีเพิ่ม 2 สายพันธุ์ที่ช่วยป้องกันไวรัสที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ แล้วแต่ความสะดวกของคุณครับ ส่วนเรื่องราคานั้น ไม่ทราบครับ แนะนำให้สอบถามจากสถานบริการที่คุณติดต่อรับบริการ ซึ่งอาจแตกต่างกัน เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ การคุมกำเนิด (Contraception) แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา สูตินรีแพทย์ ยาฝังคุมกำเนิด (Contraceptive implant) รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ประนอม บุพศิริ สูตินรีแพทย์ |
Anonymous |
26 มิถุนายน 2558 17:42:27 #3 ขอบคุณมากๆเลยนะคะ ที่ทำให้หายสงสัย ^^ |
Anonymous