กระดานสุขภาพ
ทานยาคุมฉุกเฉินติดต่อกัน2ครั้ง จะเป็นอันตรายกับตัวเรามากมั้ยคะ | |
---|---|
16 พฤษภาคม 2558 10:26:47 #1 สอบถามเกี่ยวกันอันตรายจากยาคุมฉุกเฉินค่ะ คือประจำเดือนมาวันที่ 1-6 แล้ววันที่ 7 ได้ทานยาคุมฉุกเฉินไป (รอบนี้ไม่ได้บอกกับฝ่ายแฟนว่าทานไปเพราะฝ่ายเราเองที่กังวลเลยซื้อมาทานเอง) แล้ววันที่8 ก็เกิดเหตุฉุกเฉินเลยได้ทานยาคุมฉุกเฉินไปอีก ซึ่งได้ทานยาคุมฉุกเฉินติดต่อกันสองแผงในวันถัดกัน แล้ววันที่14 ก็มีประจำเดือนมาอีกค่ะ อยากทราบเกี่ยวกับประจำเดือนของเดือนหน้าว่าจะเลื่อนไปอีกนานมั้ยคะ และจะส่งผลต่อมดลูกของเรารึป่าวคะ ทั้งหมดรวมสองครั้งนี้ทานไปแล้ว4ครั้งค่ะ จะมีอันตรายอะไรกับผลระยะยาวมั้ยค่ะ แล้วจะมีวิธีไหนที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการทานยาคุมฉุกเฉินบ้างคะ (เคยอ่านกระทู้เก่าที่คุณหมอเคยตอบ มีทานพวกแคลเซียมอะค่ะ)
ขอบคุณค่ะ |
|
อายุ: 23 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 50 กก. ส่วนสูง: 165ซม. ดัชนีมวลกาย : 18.37 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
21 พฤษภาคม 2558 02:45:05 #2 เรียน คุณ 3ab4a, จากที่คุณให้ข้อมูลมา เลือดที่ออกมาในวันที่ 14 นั้น ไม่ใช่เลือดประจำเดือนตามปกตินะครับ เป็นเลือดที่เกิดจากกลไกการออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเท่านั้น กลไกการออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดฉุกเฉินนั้น หลัก ๆมี 3 กลไก คือ
ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินนั้นทางการแพทย์ ใช้ต่อเมื่อเกิดเหตุที่ไม่สามารถใช้วิธีการคุมกำเนิดตามปกติได้ เช่น เมื่อถูกข่มขืน หรือเมื่อถุงยางอนามัยฉีกขาด รั่วซึม เนื่องจากการใช้ไม่ถูกต้อง ไม่แนะนำให้ใช้แทนการคุมกำเนิดตามปกติ เนื่องจากมีปริมาณฮอร์โมนเพศสูง (1500 ไมโครกรัม) เทียบกับชนิดปกติ 50-75 ไมโครกรัม และมีอัตราเสี่ยงในการตั้งครรภ์ค่อนข้างสูง 8-15 เปอร์เซ็นต์ โดยทั่วไปการรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน 1 กล่องจะทำให้รอบประจำเดือนคลาดเคลื่อนจากเดิมประมาณ 7-14 วัน แต่เนื่องจากคุณรับประทานยา 2 กล่องติดกัน จึงคาดเดาได้ยากว่าจะคลาดเคลื่อนมากกว่าเดิมหรือไม่ หรือจะคลาดเคลื่อนเพียง 7-14 วัน เหมือนกับการรับประทานยาเพียง 1 กล่อง จากข้อมูลของบริษัทยา ไม่ควรรับประทานยาเกิน 2 กล่องต่อเดือน เนื่องจากเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการตกเลือดในช่องท้อง สาเหตุจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก (กลไกข้อที่ 2) แต่จากการศึกษาวิจัย พบว่าสตรีที่ได้รับยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน มากเกินกว่า 3 ครั้ง ตลอดชีวิต จะมีอัตราเสี่ียงในการเกิดมะเร็งต่ออวัยวะต่าง ๆสูงกว่าสตรีที่ไม่เคยได้รับยาคุมกำเนิด หรือสตรีที่ได้รับยาคุมกำเนิดปกติ เช่น มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก/รังไข่ มะเร็งตับ เป็นต้น นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันไวรัสเอชพีวี ที่เป็นสาเหตุกระตุ้นใหเกิดมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิง หรือหูดหงอนไก่/มะเร็งองคชาติในเพศชายด้วย ส่วนวิธีการหลีกเลี่ยง ให้ปฏิบัติตามหลักพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งเรื่องอาหาร อากาศ ออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ขับถ่ายให้เป็นเวลา
ส่วนที่รับประทานยาไปแล้ว คงแก้ไขอะไรไม่ได้ ได้แต่ดูแลสุขภาพ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ หมั่นสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย มีการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง "ก่อน" เริ่มต้นใช้ยา ไม่ควรรอคำตอบจากทางหน้าเว็บ เนื่องจากบางครั้งปัญหาจากการใช้ยาที่เกิดอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจนถึงแก่ชีวิตได้ เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ การคุมกำเนิด (Contraception) โดย แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา (สูตินรีแพทย์) |
Anonymous