กระดานสุขภาพ
ทาน P* แล้วเวียนหัวมากเลย | |
---|---|
21 ธันวาคม 2557 12:55:37 #1 เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาตรวจพบว่าเป็นไทรอยด์ค่ะเกินค่ามาตรฐานมาสามเท่าตัวได้ได้ยา ทุกครั้งที่ทาน P* เข้าไปแล้วรู้สึกมึนหัวมากเลยค่ะ ลักษณะนี้เป็นผลข้างเคียงของยา เป็นการปรับตัวของร่างกาย |
|
อายุ: 21 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 48 กก. ส่วนสูง: 165ซม. ดัชนีมวลกาย : 17.63 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
Haamor Admin(Admin) |
21 ธันวาคม 2557 15:08:33 #2 ถึง คุณ wiinphuek เพื่อความเหมาะสมในการใช้สื่อสาธารณะ ทาง Admin ขออนุญาตลบชื่อทางการค้าออกจากหน้าเว็บนะคะ และทาง Admin ได้ส่งเนื้อหาทั้งหมดของคำถามให้ทางคุณหมอเรียบร้อยแล้วนะคะ ดังนั้น คุณ wiinphuek ยังสามารถติดตามคำตอบของคุณหมอได้เช่นเดิมค่ะ |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
23 ธันวาคม 2557 14:38:41 #3 Dear Khun wiinphuek, ตัวยาที่คุณสอบถามมานั้น ประกอบด้วย - propylthiouracil 50 MG ซึ่งเป็นยาต้านธัยรอยด์ ควรรับประทานยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที เพื่อลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และช่วยให้ระดับยาในเลือดค่อย ๆสูงขึ้น ไม่ถูกดูดซึมเร็วเกินไป อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ผมร่วง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยอาการจะค่อย ๆดีขึ้นเอง แต่หากเลย 1 สัปดาห์ไปแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาปรับลดขนาดยา หรือปรับเปลี่ยนเป็นยาอื่น อาการไม่พึงประสงค์ที่ควรรีบไปพบแพทย์ - ผื่นคันร่วมกับไข้ แผลในปาก เป็นจ้ำเลือดโดยไม่ทราบสาเหตุ ปัสสาวะผิดปกติ ท้องอืด แน่นท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง - atenolol 25 MG เป็นยาที่ช่วยลดความดันโลหิต และอาการใจสั่น อาการกระวนกระวาย จากอาการที่คุณให้ข้อมูลมานั้น น่าจะประกอบจากตัวยาทั้งสองตัว โดยหากอาการปวดศีรษะไม่ทุเลาหรือเป็นมากขึ้น อาจโทร.ปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับลดขนาดยาลง จนร่างกายปรับตัวได้ จึงค่อยเพิ่มระดับยาจนได้ผลการรักษาตามต้องการ ช่วงนี้ต้องควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเล หรือเกลือเสริมไอโอดีน เนื่องจากจะกระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานเพิ่มมากขึ้น ไม่ได้เป็นข้อห้ามนะครับ แต่ต้องคงระดับและรูปแบบ (pattern) ในการรับประทาน เช่น อาจรับประทานกี่ครั้งต่อสัปดาห์ ไม่ควรรับประทานแบบไม่สม่ำเสมอ เช่น สัปดาห์นี้รับประทาน สัปดาห์ต่อไปไม่รับประทานเลย เนื่องจากจะทำให้ยากต่อการปรับระดับยาให้เหมาะสมกับฮอร์โมนธัยรอยด์ที่ตรวจเลือดพบ - งดรับประทานกะหล่ำปลีสด เนื่องจากมีสารที่จับกับฮอร์โมนธัยรอยด์ ทำให้ยากต่อการปรับระดับยาให้เหมาะกับระดับฮอร์โมนธัยรอยด์ในเลือด เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ ไทรอยด์: โรคของต่อมไทรอยด์ (Thyroid: thyroid diseases) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์ วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ |
Wiin*****k