กระดานสุขภาพ
แฟนทานยาคุมฉุกเฉนทานมาแล้ว 2 ครั้งในชีวิต จะเป็นผลเสียอย่างไรครับ | |
---|---|
8 พฤศจิกายน 2557 02:51:46 #1 อยากทราบว่าหากทานยุคุมฉุกเฉน 2 ครั้งในชีวิตจะเป็นอะไรไหม เพราะผมเห็นข้อความบางข้อความว่าทั้งชีวิตควรทานครั้งเดียว
|
|
อายุ: 23 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 170ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.76 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
10 พฤศจิกายน 2557 03:41:20 #2 เรียน คุณ dragoonmon, ขอแยกตอบเป็นสองประเด็นนะครับ คือ 1. ข้อมูลของยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ตัวยาสำคัญ คือ levonorgestrel 1,500 ไมโครกรัม (ซึ่งเป็นฮอร์โมนโปรเจสติน) ข้อบ่งใช้คือ ใช้เมื่อไม่สามารถใช้วิธีการคุมกำเนิดปกติได้ เช่น เมื่อถุงยางอนามัยแตกหรือฉีกขาด หรือเมื่อถูกข่มขืน กลไกการออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน คือ
วิธีการรับประทานที่ถูกตอ้ง คือ ต้องรับประทานยาภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์ โดยสามารถรับประทานยาได้ 2 แบบ คือ ก. รับประทานยา 1 เม็ดทันที จากนั้นอีก 12 ชั่วโมง จึงรับประทานยาเม็ดที่สอง ข. รับประทานยาพร้อมกัน 2 เม็ดทันที ข้อดี คือไม่ต้องกังวลเรื่องการลืมรับประทานยา แต่อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดมวนแน่นท้องมากกว่าวิธีแรก อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา - เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดมวนท้อง เลือดประจำเดือนผิดปกติ (มาช้าหรือไม่มา/มาปริมาณน้อย หรือมากะปริบกะปรอย) ข้อควรระวัง - จากบริษัทยา คือ ไม่ควรรับประทานยาเกิน 2 กล่องต่อเดือน เนื่องจากเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการตกเลือดในช่องท้อง เหตุจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก (ท่อนำไข่บีบตัวช้า) แต่จากการศึกษาวิจัยย้อนหลังพบว่าสตรีที่ได้รับยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมากเกินกว่า "3 ครั้ง ตลอดชีวิต" พบว่าจะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่ออวัยวะต่าง ๆสูงหลายเท่ามากกว่าสตรีที่ได้รับยาคุมกำเนิดปกติหรือไม่เคยได้รับยาคุมกำเนิดมาก่อน เช่น มะเร็งเต้านม หรือ มะเร็งมดลูกหรือรังไข่ หรือมะเร็งตับ เป็นต้น 2. การสอดใส่หลังเป็นประจำเดือน โอกาสในการตั้งครรภ์ค่อนข้างน้อย เนื่องจากรังไข่ยังไม่มีการทำงาน จึงไม่จำเป็นต้องรับประทานยา ส่วนการสวมถุงยางอนามัยต้องสวมอย่างถูกต้อง ทั้งการเลือกขนาด (48, 49 และ 52 มิลลิเมตร) ไม่คับหรือหลวมเกินไป ต้องบีบช่วงปลายซึ่งเป็นกระเปาะสำหรับเก็บอสุจิ ไม่ให้มีอากาศภายใน จะลดการเสียดสีได้ เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ การคุมกำเนิด (Contraception) โดย แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา (สูตินรีแพทย์) |
Drag*****n