กระดานสุขภาพ
สอบถามครับ เรื่องยาคุมฉุกเฉิน | |
---|---|
18 กันยายน 2557 14:56:39 #1 ผมอยากทราบว่า หลังจากทานยาคุมฉุกเฉินไป หลังจากนั่น6-7 วันมีเลือดประจำเดือนมา แต่แฟนผมเธอบอกว่าหลังเลือดประจำเดือนผลของยา ราวๆ 10 กว่าวัน เธอรู้สึกคล้ายๆ ปวดท้องเหมือนประจำเดือนจะมา เจ็บหน้าอก คือผลของยาหรือป่าวครับ ประจำเดือนก็เป็นไปแล้วแล้ว สิ่งที่เกิดคืออะไรครับ |
|
อายุ: 19 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 185ซม. ดัชนีมวลกาย : 17.53 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
21 กันยายน 2557 16:51:59 #2 เรียน คุณ db731, ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ทางการแพทย์ใช้ต่อเมื่อมีเหตุจำเป็นเท่านั้น คือ เมื่อถูกข่มขืน หรือเมื่อถุงยางอนามัย ฉีกขาด รั่วซึม เนื่องจากมีปริมาณฮอร์โมนค่อนข้างสูง 1500 ไมโครกรัม เมื่อเทียบกับยาคุมกำเนิดปกติ 50-75 ไมโครกรัม วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้องมี 2 แบบ คือ 1. รับประทานยา 1 เม็ดทันที แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ จากนั้นอีก 12 ่ชั่วโมง รับประทานยาอีก 1 เม็ด วิธีนี้มีข้อดี คือ อาการคลื่นไส้อาเจียนจากการได้รับยาปริมาณสูงจะน้อยกว่า ข้อเสีย คือ อาจลืมรับประทานยา 2. รับประทานยา 2 เม็ดทันที แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ วิธีนี้มีข้อดี คือ ไม่ต้องกลัวลืมรับประทานยา แต่ข้อเสียคือ อาการคลื่นไส้อาเจียน ค่อนข้างสูง เนื่องจากได้รับยาปริมาณสูงเพียงครั้งเดียว วิธีนี้ หากมีเพศสัมพันธ์อีกภายหลังรับประทานยาไปแล้ว ต้องใช้วิธีอื่นแทน เช่นการสวมถุงยางอนามัย หรือใส่ห่วงคุมกำเนิด - กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์ ประกอบด้วย 3 กลไกหลัก ๆคือ
- ภายหลังรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ประมาณ 7-10 วันจะมีเลือดออกจากช่องคลอด เนื่องจากเยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาตัวฉีกขาด/หลุดลอกออก เมื่อหมดฤทธิ์ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน จะทำให้มีฮอร์โมนเอสโตรเจนหลั่งออกมาจากรังไข่เพิ่มขึ้น คล้ายกับรอบเดือนปกติ จะทำให้มีอาการคัดตึง เจ็บเต้านม มีการบีบตัวของมดลูก เพื่อกำจัดเยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาตัวออก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการมีไข่ตกและพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ต่อไป - ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้ เนื่องจากโอกาสเสี่ยงในการตั้งครรภ์ค่อนข้างสูง 8-10 เปอร์เซ็นต์ (แม้จะรับประทานยาอย่างถูกต้อง) การรับประทานยามากกว่า 2 กล่องต่อเดือน จะทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการตกเลือดภายในช่องท้อง สาเหตุจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก และจากการศึกษาย้อนหลังพบว่าในสตรีที่ได้รับยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมากเกินกว่า " 3 ครั้ง ตลอดชีวิต" จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่ออวัยวะต่าง ๆสูงหลายเท่ามากกว่าสตรีที่ได้รับยาคุมกำเนิดปกติหรือไม่เคยได้รับยาคุมกำเนิดมาก่อน เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูกหรือรังไข่ หรือมะเร็งตับ เป็นต้น - หากยังไม่ได้แต่งงาน และต้องการมีเพศสัมพันธ์ แนะนำให้ใช้การสวมถุงยางอนามัย จะปลอดภัยต่อทั้งสองฝ่าย นอกจากช่วยคุมกำเนิดแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน ซิฟิลิส แผลริมอ่อน พยาธิในช่องคลอด ไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ซี หรือร้ายสุด คือไวรัสเอชไอวี (เอดส์) ที่ยังไม่มีทางรักษา นอกจากนี้ยังช่วยลดการติดเชื้อกลับไปมา จากเชื้อเอชพีวี (HPV - human papilloma virus) ที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก หรือหูดหงอนไก่ / มะเร็งองคชาติในเพศชายอีกด้วย
อย่าลืม ยืดอก พกถุง จะได้ไม่ต้องมานั่งเลือกว่า ลูก หรือ โรค ครับ เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ การคุมกำเนิด (Contraception) โดย แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา สูตินรีแพทย์ |
Anonymous