กระดานสุขภาพ

สอบถามเกี่ยวกับ botulinum toxin
Anonymous

18 สิงหาคม 2557 15:39:39 #1

เมื่อร่างกายได้รับ botulinum toxin จากหน่อไม้ดอง ทำไมต้องมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้อง กลไกการเกิดมันเป็นยังไงคะ เป็นเพราะกระเพาะอาหารระคายเคือง หรือเป็นเพราะแบคทีเรีย หรือเป็นเพราะว่าอะไรคะ

อายุ: 20 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 40 กก. ส่วนสูง: 159ซม. ดัชนีมวลกาย : 15.82 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Haamor Admin

(Admin)

19 สิงหาคม 2557 03:54:15 #2

ถึง คุณ dffb7

เนื่องจากเว็บไซต์เป็นที่สาธารณะ ดังนั้นเพื่อให้ข้อมูลเป็นเรื่องส่วนบุคคลมากที่สุด ทางทีมงานจึงทำการซ่อนชื่อจริงของผู้ถามให้นะคะ โดยคุณ dffb7 ยังสามารถติดตามคำตอบคุณหมอได้ที่กระทู้นี้ค่ะ

ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

20 สิงหาคม 2557 16:27:46 #3

เรียน คุณ dffb7,

ไม่ทราบวัตถุประสงค์ของการสอบถามนะครับ หลักการคือเชื้อ Clostridium botulinum เมื่อเจริญเติบโตจะปลดปล่อยสารพิษ ที่เราเรียกกันว่า botulinum toxin ซึ่งทางการแพทย์มีหลายสายพันธุ์ ที่พบมากคือ ชนิด เอ และบี โดยทางการแพทย์จะนำมาทำให้บริสุทธิ์และใช้ในการรักษาโรค ที่เกิดจากกล้ามเนื้อหดตัวมากกว่าปกติ เช่นตากระตุกตลอดเวลา หรือต่อมเหงือทำงานมากเกินไป รวมถึงใช้ฉีดเสริมความงามเพื่อลดรอยเหี่ยวย่นจากกล้ามเนืื้อหดตัวมากเกินไปได้ด้วย

อาการพิษจะเกิดจากการทำลายระบบประสาทอัตโนมัติอย่างถาวร ยับยั้งการปล่อยสารสื่อประสาท ดังนั้นจึงทำให้การทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเสียไป อาการเริ่มต้น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปากและคอแห้ง
อาการต่อไปจะเริ่มรุนแรงขึ้น จะเริ่มมีอาการตาพร่ามัว มองภาพซ้อน หนังตาตก พูดไม่ชัด หายใจลำบาก ท้องอืด ท้องผูก แน่นท้อง แขนขาอ่อนแรง หากรุนแรงมากจะทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมไม่ทำงาน ผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากภาวะหายใจล้มเหลวได้ เชื้อนี้ส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อนี้ร่วมกับภาวะที่ไม่ออกซิเจน ทำให้เชื้อผลิตสารพิษออกมาได้ ส่วนใหญ่จะเกิดกับอาหารหมักดอง อาหารกระป๋องที่ผลิตอย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการร่วมกับภาวะความเป็นกรด เช่น ไส้กรอก แอสพารากัส หรือหน่อไม้ปีบ

การหลีกเลี่ยง คือไม่เลือกอาหารกระป๋องที่ผิดรูป บุบ บวม เบี้ยว หรือมีรสชาติผิดเพี้ยนไป ควรรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ ๆ หรือหากจะรับประทานอาหารกระป๋อง ก็ต้องผ่านความร้อน 85-100 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 5 นาที เพื่อทำลายพิษของเชื้อนี้

 

เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล

แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่

โรคโบทูลิซึม (Botulism) โดย แพทย์หญิง สลิล ศิริอุดมภาส วว. พยาธิวิทยากายวิภาค