กระดานสุขภาพ
อยากทราบว่า Augclav กับ dicloxacillin | |
---|---|
4 มิถุนายน 2557 17:10:57 #1 อยากทราบว่า Augclav กับ dicloxacillin นั้นแตกต่างกันอย่างไร ผมเคยไปตัด เส้นผังผืดใต้ หมอจะจัด Augclav
เมื่อไม่นานมานี้ผมไปขริบมา หมดจัด dicloxacillin มาให้ อยากทราบว่า 1. dicloxacillin ทานร่มกับ Augclav ได้หรือไม่่ 2. dicloxacillin กับ Augclav มีความแตกต่างกันอย่างไร ใช้รักษาโรคอะไรได้บาง 3. ไปผ่าตัดมา สามารถ ใช้ Augclav ได้แทน dicloxacillin ได้หรือเปล่า ทานตัวไหนเหมาะสมที่สุด 4.ถ้าไปขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศออก ระหว่าง Augclav ได้แทน dicloxacillin ทานตัวไหนเหมาะสมที่สุด
ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้าน่ะครับ
|
|
อายุ: 30 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 90 กก. ส่วนสูง: 175ซม. ดัชนีมวลกาย : 29.39 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
5 มิถุนายน 2557 17:26:52 #2 เรียน คุณ FanClubNaruto, ขออนุญาตให้ข้อมูลตัวยาก่อน นะครับ พอสังเขป เพราะถ้าอยากทราบรายละเอียดความแตกต่างจริง ๆ คงต้องลงเรียนคณะเภสัชศาสตร์แทนนะครับ A. Augclav ตัวยาหลักคือ amoxicillin ซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อออกฤทธิ์กว้าง เหมาะกับเชื้อแบคทีเรีย (Broad spectrum antibacteria) สำหรับการติดเชื้อทางเดินหายใจ ในช่องปาก ทางเดินปัสสาวะ ดังนั้น ตัวยานี้จึงเหมาะกับการติดเชื้อทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ ที่ส่วนใหญ่ติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา หรือเป็นช่วงที่มีการระบาดของเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ไม่แนะนำให้ใช้กับการติดเชื้อเบื้องต้น เนื่องจากอาจกระตุ้นให้เชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น โดยหากรับประทานยาไม่ครบขนาด หรือไม่ครบตามจำนวนวันที่แพทย์สั่งจ่าย หรือ เชื้อเกิดการปรับตัวเอง เพื่อหนีตัวยา จะทำให้เกิดเชื้อที่ดื้อยาเพิ่มมากขึ้น ข้อแนะนำ คือควรรับประทานยาก่อนอาหารทันที เพื่อลดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ถ่ายเหลว และควรดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ เนื่องจาก ตัวยา clavulanic acid มีการละลายน้ำไม่ค่อยดี นอกจากนี้ยังช่วยกำจัดยาที่เหลือจากการออกฤทธิ์ให้ออกทางปัสสาวะได้อีกด้วย B. Dicloxacillin เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนิซิลลิน เหมาะกับการติดเชื้อที่ผิวหนัง เป็นฝี หนอง หรือมีการอักเสบจากการผ่าตัด เป็นแผล มีการปรับโครงสร้างยาให้เหมาะกับเชื้อแบคทีเรียที่ท่ำให้เกิดฝีหนอง ที่ดื้อยา ไม่สามารถใช้รักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย ทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ หรือในช่องปากได้ ข้อแนะนำคือ ควรรับประทานยาก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มการดูดซึม ลดการถูกน้ำย่อยในกระเพาะอาหารทำลาย ควรรับประทานให้ตามนาฬิกา มากกว่าจะเป็นตามมื้ออาหาร เช่น ทุก 6 ชั่วโมง เพื่อให้ระดับยาในเลือดสม่ำเสมอ จะได้ลดปริมาณเชื้อให้เหลือน้อยที่สุด จนภูมิต้านทานร่างกายกำจัดแบคทีเรียที่เหลือออกไปได้หมด ลดความเสี่ยงในการเกิดเชื้อดื้อยา ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ หลังรับประทานยา เพื่อป้องกันไม่ให้แคปซูลยาเกาะติดที่หลอดอาหาร และเพิ่มการละลาย ช่วยกำจัดยาที่เหลือออกทางปัสสาวะ
เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล |
FanC*****o