กระดานสุขภาพ
กินออยเลซแล้วอ๊วกคะเปลี่ยนไปกินซินโฟเนียได้เลยใหมคะ | |
---|---|
15 กุมภาพันธ์ 2557 02:31:27 #1 กินออยเลซไปครึ่งแผงแล้วคะ รู้สึกว่าคลื่นไส้ |
|
อายุ: 20 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 43 กก. ส่วนสูง: 155ซม. ดัชนีมวลกาย : 17.90 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
16 กุมภาพันธ์ 2557 15:25:28 #2 เรียน คุณ Wasuntra34, จากข้อมูลตัวยาที่คุณให้มานั้น ปริมาณฮอร์โมนค่อนข้างน้อยนะครับ แนะนำให้รับประทานยาก่อนเข้านอน จะช่วยลดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาดังกล่าว แต่หากคุณปฏิบัติอยู่แล้ว และยังคงมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ค่อนข้างมาก ก็สามารถเปลี่ยนยาได้ครับ แนะนำให้ปรึกษาเภสัชกรร้านยาจะดีกว่านะครับ เพื่อเลือกตัวยาที่ค่อนข้างเหมาะสมกับคุณ โดยพิจารณาจากข้อมูลส่วนบุคคล รูปร่าง และรูปแบบการมีประจำเดือน - ถ้ามีรูปร่างเป็นผู้หญิงค่อนข้างชัดเจน มีหน้าอก เอว สะโพกชัดเจน ผิวค่อนข้างเนียน ไม่ค่อยมีขน ไม่ค่อยเป็นสิว ประจำเดือนมาค่อนข้างมาก หรือหลายวัน แบบนี้เหมาะกับยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสตินสูง เช่น ยี่ห้อที่เพื่อนบ้านคุณเคยรับประทาน - ถ้ามีรูปร่างค่อนข้างตรง อก เอว สะโพกไม่ค่อยชัดเจน ผิวมัน ขนดก รูขุมขนค่อนข้างกว้าง ประจำเดือนมาไม่มาก หรือน้อยวัน แบบนี้เหมาะกับยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง เช่น ยี่ห้อออยเลซที่คุณเคยใช้ แต่ถ้ายังมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ค่อนข้างมาก คงต้องปรับเปลี่ยนเป็นยี่ห้ออื่น ๆแทน ซึ่งมีฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง แต่อาจทำให้เกิด อาการไม่พึงประสงค์ด้านมีเลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างเดือนได้ อาการไม่พึงประสงค์ของการรับประทานยาคุมกำเนิดส่วนใหญ่จะค่อย ๆดีขึ้นภายในแผงที่ 2-3 เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกกะปริบกะปรอย - การรับประทานยาก่อนเข้านอน เพื่อช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หากยังมีอาการมาก แนะนำให้เปลี่ยนเป็นหลังอาหารเย็นทันที เพื่อชะลอการดูดซึมตัวยาให้เข้าสู่กระแสเลือดช้าลง - การรับประทานยาสม่ำเสมอ ด้วยน้ำดื่มสะอาดเท่านั้น (หมายรวมถึงยาทุกชนิดด้วย) เวลาไม่ควรคลาดเคลื่อนจากเดิมเกิน (+/-) 1 ชั่วโมง เพื่อให้ระดับฮอร์โมนภายในเลือดค่อนข้างคงที่ จะลดอาการเลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างเดือนได้ - ไม่ซื้อยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใด ๆมาใช้ โดยที่ไม่ได้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร "ก่อน" เสมอ แต่ถ้าปรับทั้งหมดนี้แล้วยังมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมากอยู่ แนะนำให้ปรึกษาสูติแพทย์ เพื่อปรับวิธีการคุมกำเนิดอื่น ๆต่อไป จากประสบการณ์จะพบประมาณ 1 ใน 100 คน ที่ไม่สามารถรับประทานยาคุมกำเนิดหรือใช้วิธีที่มีฮอร์โมนอื่นในการคุมกำเนิดได้ แต่อาจใช้ห่วงคุมกำเนิดแทน หรือการสวมถุงยางอนามัย เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth control pill) โดย แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา (สูตินรีแพทย์) |
Wasu*****4