กระดานสุขภาพ

ติ่งเนื้อ/นิ่วในถุงน้ำดี
Anonymous

27 ตุลาคม 2563 11:25:49 #1

อัลตร้าซาวช่องท้องมาค่ะ เจอก้อนติ่งขนาด 0.5 ซม. คุณหมอแจ้งว่าบอกไม่ได้ว่าเป็นนิ่วหรือติ่งเนื้อ แนะนำให้มา follow up อีก 6 เดือน อยากทราบว่า อันตรายไหมคะ แล้วต้องปรับเปลี่ยนหรือใช้ชีวิตประจำวันยังไงบ้างคะ ควรดูแลอะไรเปนพิเศษไหม และเราจะสามารถตรวจเพิ่มยังไงได้บ้างคะว่าก้อนที่ตรวจเจอ เป็นติ่งเนื้อ หรือเป็นนิ่วคะ ขอบคุณค่ะ
อายุ: 29 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 157ซม. ดัชนีมวลกาย : 24.34 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

4 พฤศจิกายน 2563 10:24:06 #2

  • นิ่วที่อยู่ในถุงน้ำดี เกิดจากการตกผลึกของหินปูน(แคลเซียม) คอเลสเตอรอลและบิลิรูบิน(สารเคมีชนิดหนึ่งที่ให้สีเหลืองออกน้ำตาล เกิดจากการแตกตัวหรือการตายของเซลล์เม็ดเลือดแดงในหลอดเลือด) ที่มีอยู่ในน้ำดี ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดการตกผลึกของสารเหล่านี้เชื่อว่าเกิดจากการติดเชื้อของทางเดินน้ำดี และความไม่สมดุลของส่วนประกอบคอเลสเตอรอลและบิลิรูบินในน้ำดี การตกผลึกของสารเหล่านี้อาจทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่วเพียงก้อนเดียว หรือก้อนเล็กๆ หลายๆ ก้อนก็ได้
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่ว
  • ความอ้วน คนอ้วนจะเกิดนิ่วที่มีคอเลสเตอรอล เนื่องจากการบีบตัวของถุงน้ำดีลดลง
  • การได้ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากการรับประทานหรือตั้งครรภ์ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง
  • การได้ยาลดไขมันบางชนิดทำให้คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากๆ
  • การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป
  • อาการของนิ่วในถุงน้ำดี จะไม่พบอาการผิดปกติแสดงให้เห็นและมักจะตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจเช็คร่างกายบางคนอาจมีอาการท้องเฟ้อบริเวณเหนือสะดือ เรอ คลื่นไส้ อาเจียน คล้ายอาการของอาหารไม่ย่อย ซึ่งมักเป็นหลังกินอาหารมันๆ ในรายที่ก้อนนิ่วเคลื่อนไปอุดในท่อส่งน้ำดี จะมีอาการปวดบิดรุนแรงเป็นพักๆ ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวา ซึ่งอาจปวดร้าวมาที่ไหล่ขวาหรือบริเวณหลังตรงใต้สะบักขวา มักปวดนานเป็นชั่วโมงๆ และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
  • บางคนอาจปวดรุนแรงจนเหงื่อออก เป็นลม อาการปวดท้องมักเป็นหลังกินอาหารมันหรือกินอาหารมื้อหนัก บางคนอาจมีอาการดีซ่าน (ตาเหลือง) เกิดขึ้นตามหลังอาการปวดท้อง การตรวจร่างกายมักไม่พบสิ่งผิดปกติ มักไม่มีไข้ บางครั้งอาจตรวจพบอาการกดเจ็บเล็กน้อยบริเวณใต้ลิ้นปี่และได้ชายโครงขวา
  • ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี แม้จะไม่แสดงอาการ อาจตรวจพบตอนไปตรวจรักษาโรคอื่น แพทย์จะแนะนำให้รับการผ่าตัด เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ อาจมีการอักเสบและมีโรคแทรกซ้อนตามมาก็ได้ที่สำคัญโรคนี้ป้องกันได้ด้วยการลดกินอาหารมีไขมัน และการออกกำลังกายเป็นประจำ