กระดานสุขภาพ

แผลขอบทวาร
Anonymous

30 มิถุนายน 2563 12:33:45 #1

พอดีผมเป็นแผลขอบทวารบ่อยมากครับ เป็นๆหายๆ การขับถ่ายมีถ่ายแข็งบ้าง แต่ไม่บ่อยครับ เมื่อก่อนเคยถ่ายแข็งบ่อยจนเป็นแผล แล้วนับจากนั้นก็เป็นๆหายๆมาตลอด 1.ทำยังไงดีครับให้หายขาด 2.ตอนที่เป็นเอายาอะไรทาให้หายไวๆได้บ้างครับ พอเป็นแล้วไม่กล้าถ่าย 3.ตอนเป็นใช้ยาแดงทาจะช่วยไหมครับ
อายุ: 25 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 167ซม. ดัชนีมวลกาย : 21.51 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

5 กรกฎาคม 2563 20:25:14 #2

แผลรอยแยกขอบทวารหนักหรือแผลปริขอบทวารหนักหรือแผลที่ขอบทวารหนักหรือแผลที่ปากทวารหนัก(Anal fissure) คือโรคที่มีแผลรอยแยก/แผลปริที่ขอบทวารหนักสาเหตุหลักคือจากการถ่ายอุจจาระก้อนที่ใหญ่และแข็งจนเกิดการครูดบาดทวารหนักและกลายเป็นแผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บรูทวารหนักเวลาถ่ายอุจจาระอาจมีเลือดออกเล็กน้อยแผลรอยแยก/ปรินี้อาจเป็นเพียงแค่ชั่วคราวหรือกลายเป็นแผลเรื้อรังก็ได้การรักษามีทั้งการใช้ยาและการผ่าตัดร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระ

  • แผลรอยแยกที่ขอบทวารหนักเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น
  • • อุจจาระก้อนใหญ่และแข็งหรือท้องผูกเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด
  • • ถ่ายอุจจาระเหลวเรื้อรังหรือท้องเสียเรื้อรังเพราะเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดปากทวารหนัก
  • • การคลอดลูกทางช่องคลอดในผู้หญิง
  • • การร่วมเพศทางทวารหนัก
  • • การใช้เครื่องมือตรวจที่ต้องใส่เข้าไปในทวารหนักรวมถึงการใช้นิ้วตรวจภายในทวารหนัก(Per rectal examination)
  • • การเป็นโรคบางอย่างเช่นโรคซิฟิลิสโรคหนองในวัณโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังชนิดCrohn’s disease ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี(HIV) และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว(Leukemia) เป็นต้น
  • ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บรูทวารหนักเวลาจะถ่ายอุจจาระ(คือเมื่อลำไส้ตรงมีการบีบตัวขับเคลื่อนอุจจาระไปที่ทวารหนัก) และเมื่ออุจจาระเคลื่อนผ่านบาดแผลก็จะเจ็บปวดมากขึ้นเมื่อถ่ายอุจจาระออกไปแล้วจะยังคงมีอาการเจ็บอยู่ซึ่งอาจเป็นอยู่เพียงไม่กี่นาทีจนถึงเป็นชั่วโมงอาการเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยไม่อยากถ่ายอุจจาระอาจพยายามกลั้นอุจจาระไว้และทำให้เกิดอาการท้องผูกตามมาอุจจาระก็จะยิ่งมีปริมาณมากและแข็งมากขึ้นและเมื่อถ่ายอุจจาระออกมาก็ทำให้เกิดบาดแผลเพิ่มขึ้นต่อไปและกลายเป็นแผลเรื้อรังในที่สุด
  • นอกจากนี้บนก้อนอุจจาระอาจมีเลือดสดเคลือบอยู่เล็กน้อยแต่จะไม่ปนเป็นเนื้อเดียวกับอุจจาระบางครั้งอาจมองไม่เห็นเลือดบนอุจจาระแต่เมื่อใช้ทิชชูเช็ดทำความสะอาดรูทวารจะเห็นเลือดสดติดอยู่กับทิชชูได้แต่ทั้งนี้โรคนี้จะไม่เป็นสาเหตุของการถ่ายเป็นเลือดสดหรือมีเลือดไหลออกมาเป็นปริมาณมากผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการคันรอบรูทวารมีมูกไหลจากบริเวณแผลและอาจมีกลิ่นเหม็นได้
  • นอกจากนี้อาการเจ็บรูทวารหนักอาจส่งผลให้มีอาการเจ็บเวลาปัสสาวะได้หรือทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยด้วยได้เพราะการอักเสบจากแผลที่ทวารหนักอาจส่งผลให้เกิดการอักเสบของทางเดินปัสสาวะร่วมด้วยได้
  • แผลรอยแยกขอบทวารหนักที่เกิดขึ้นเฉียบพลันแนวทางการรักษาจะอาศัยการใช้ยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระเป็นหลักหากได้รับการรักษานาน3 - 4 สัปดาห์ไปแล้วอาการไม่ดีขึ้นก็จะพิจารณาการผ่าตัดรักษาต่อไป
  • สำหรับการรักษาแผลรอยแยกขอบทวารหนักเรื้อรังจะอาศัยการผ่าตัดเป็นหลักร่วมไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระ
  • 1. การรักษาด้วยยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลักการคือต้องทำให้อุจจาระนิ่มไม่ท้องผูกเพื่อไม่เกิดอุจจาระครูดรูทวารหนักเวลาถ่ายอุจจาระ
  • • การทำให้อุจจาระนิ่มคือการเพิ่มกากใยอาหารให้กับอุจจาระได้แก่การกินผักผลไม้มากๆหรืออาจรับประทานใยอาหารสกัดเช่นใยอาหารที่สกัดจากเมล็ดเทียนเปลือกหอยเรียกว่าPsyllium ซึ่งมีขายแบบสำเร็จรูปหรืออาจกินเม็ดแมงลักซึ่งมีราคาถูกกว่าแต่มีผลคล้ายกับPsyllium ก็ได้ร่วมกับการดื่มน้ำสะอาดอย่างพอเพียงอย่างน้อยวันละ6 - 8 แก้วเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
  • • การทำให้ท้องไม่ผูกโดยการใช้ยาแก้ท้องผูก/ยาระบายช่วยในการเคลื่อนไหวบีบตัวของลำไส้รวมไปถึงการออกกำลังกายการเคลื่อนไหวร่างกายเสมอๆเพื่อช่วยกระตุ้นให้ลำไส้เคลื่อนไหว
  • • การรักษาแผลและอาการเจ็บรูทวารหนักได้แก่การแช่ก้นในน้ำอุ่นซึ่งจะเป็นการช่วยให้กล้ามเนื้อหูรูดที่บีบตัวมากเกินไปคลายตัวลงได้ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณทวารหนักทำให้แผลหายได้ดีขึ้นเร็วขึ้นหากผู้ป่วยมีอาการเจ็บรูทวารหนักมากเวลาถ่ายอาจใช้ยาชาแบบทาทาบริเวณรูทวารหนักก่อนนั่งถ่ายอุจจาระเพื่อช่วยลดอาการเจ็บได้ซึ่งมีตัวยาอยู่หลายชนิดนอกจากนี้ยังมียาในรูปแบบทาที่จะออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อหูรูดช่วยลดอาการเจ็บได้คือยาNitroglycerin แต่อาจเกิดผลข้างเคียงเช่นปวดและมึนศีรษะหัวใจเต้นเร็วแรงหน้ามืดเป็นลมเจ็บหน้าอก(ห้ามซื้อยาตัวนี้ใช้เอง)
  • *** ทั้งนี้การซื้อยาทุกชนิดใช้เองควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ
  • 2. การผ่าตัดมีอยู่2 วิธีหลักคือ
  • • การตัดกล้ามเนื้อหูรูดชั้นใน(Lateral internal sphincterotomy) เพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดการขยายตัวมากกว่าปกติทำให้ไม่เจ็บเวลาถ่ายอุจจาระอุจจาระผ่านได้สะดวกและทำให้แผลมีโอกาสหายได้เร็วขึ้น
  • • การยืดขยายรูทวารหนัก(Anal dilatation) เพื่อให้กล้ามเนื้อหูรูดขยายตัวเช่นกันนอกจากนั้นการรักษาที่เพิ่งคิดค้นมาได้ไม่นานคือการฉีดสารBotulism toxin หรือที่รู้จักกันในชื่อโบทอก(BOTOX) เข้าไปที่กล้ามเนื้อหูรูดชั้นในเพื่อให้หูรูดขยายตัวโดยจะมีผลคล้ายกับการผ่าตัดวิธีนี้จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่เป็นแผลรอยแยก/ปริเฉียบพลันรวมทั้งผู้ป่วยที่เป็นแผลรอยแยก/ปริเรื้อรังด้วยแต่ฤทธิ์ของToxin จะมีอยู่แค่3 เดือนดังนั้นผู้ป่วยที่มีแผลรอยแยก/ปริเรื้อรังจึงมีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้มากกว่าวิธีการผ่าตัดแต่ข้อดีก็คือจะเกิดผลภาวะแทรกซ้อนเรื่องการกลั้นอุจจาระไม่ได้น้อยกว่า

โดยทั่วไปในโรคแผลรอยแยกทวารหนักโอกาสหายและผลข้างเคียงคือ

  • 1. ผู้ที่เกิดแผลรอยแยก/ปริเฉียบพลันมักจะหายได้เองในเวลาประมาณ2 สัปดาห์
  • 2. ผู้ป่วยแผลรอยแยก/ปริเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาจนหายแล้วประมาณ30 - 70 % จะกลับมาเป็นแผลได้อีกหากมีอาการท้องผูกอุจจาระแข็งและกินอาหารที่มีกากใยน้อยดื่มน้ำน้อย
  • 3. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน/ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดได้แก่
  • • ติดเชื้อกลายเป็นฝีหนองพบได้ประมาณ1 - 2%
  • • เลือดออกใต้ชั้นเยื่อบุผิวซึ่งมักจะเกิดเพียงเล็กน้อย
  • • แต่ที่เป็นปัญหาสำคัญคือเกิดอาการกลั้นอุจจาระไม่ได้ซึ่งพบได้ประมาณ10 - 30% โดยส่วนใหญ่จะเป็นการกลั้นการผายลมไม่ได้มีอุจจาระเล็ดลอดออกมาเล็กน้อยพอเปื้อนกางเกงชั้นใน

การดูแลตนเองและการป้องกันโรคแผลรอยแยกขอบทวารหนักคือ

  • 1. ในแต่ละวันควรกินอาหารที่มีกากใยให้ได้ปริมาณที่เหมาะสมที่ทำให้ถ่ายอุจจาระได้ทุกวันป้องกันอาการท้องผูกโดยเฉลี่ยควรได้รับใยอาหารวันละประมาณ25 - 30 กรัมโดยผักและผลไม้ที่มีใยอาหารมากเช่นมะเขือพวงใบชะพลูใบขี้เหล็กคะน้าถั่วฝักยาวข้าวโพดอ่อนแครอดมะม่วงดิบมะละกอสุกฝรั่งแอปเปิลเป็นต้นรวมถึงธัญพืชต่างๆเช่นงาถั่วเขียวถั่วแดงรำข้าวถั่วลิสงข้าวโอต(Oat) ข้าวโพดต้มแต่ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกากใยที่ย่อยยากกากใยแหลมคมได้แก่ถั่วเปลือกแข็ง(Nuts) เช่นอัลมอนด์(Almond) พิสตาชิโอ(Pistachio) วอลนัท(Walnut) เม็ดมะม่วงหิมพานต์และข้าวโพดคั่วข้าวโพดที่เป็นแผ่นกรอบ(Chips) เป็นต้น
  • 2. ดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ6 - 8 แก้วเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่มเพื่อช่วยให้อุจจาระไม่แข็งช่วยป้องกันท้องผูก
  • 3. ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอเพื่อให้ลำไส้เคลื่อนไหวขับถ่ายได้สะดวกท้องไม่ผูก
  • 4. หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นสาเหตุให้ท้องผูกเช่นชากาแฟอาหารประเภทแป้งแปรรูป(เช่นขนมต่างๆ) และเนื้อสัตว์มากเกินไป
  • 5. หากมีอาการท้องผูกต้องรีบดูแลรักษา
  • 6. หากมีอาการถ่ายอุจจาระเหลว/ท้องเสียบ่อยหรือเรื้อรังควรรีบพบแพทย์และรักษาเช่นกันเพราะเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคนี้
  • 7. สำหรับในเด็กทารกหากอุจจาระแข็งถ่ายยากอาจต้องลองเปลี่ยนชนิดนมที่กินและให้ดื่มน้ำร่วมด้วย
  • 8. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางทวารหนัก