กระดานสุขภาพ
รบกวนปรึกษาค่ะ | |
---|---|
19 ธันวาคม 2562 18:34:25 #1 รบกวนปรึกษาค่ะ หลานชายอายุ 15 โรคประจำตัว G6PD เลือดกำเดาไหลบ่อย ตั้งแต่เด็ก เมื่อคืนเลือดกำเดาไหลตอนอาบน้ำ แล้วตอนเช้าก็ไหลอีกตอนอาบน้ำเหมือนกัน ไม่ทราบว่าอาการนี้เกี่ยวกับโรค G6PD มั้ยคะ ?? ขอบคุนมากค่ะ... |
|
อายุ: 15 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 44 กก. ส่วนสูง: 170ซม. ดัชนีมวลกาย : 15.22 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
Anonymous |
20 ธันวาคม 2562 04:10:32 #2 เลือดกำเดาไหล คือภาวะที่มีเลือดออกทางจมูก เกิดจากเส้นเลือดฝอยในโพรงจมูกแตก ทำให้มีเลือดไหลออกข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาจไหลจากส่วนหน้า หรือส่วนหลังของจมูก พบได้ทุกอายุทั้งเพศหญิงและชาย เลือดออกทางส่วนหน้าของจมูกมักพบในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอายุน้อย เลือดออกจากส่วนหลังของจมูกมักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งมักมีสาเหตุจากความดันโลหิตสูง เลือดกำเดาไหล (epistaxis) หมายถึง การที่มีเลือดออกจากโพรงจมูก ทางด้านหน้า หรือด้านหลังโพรงจมูก อาจออกข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ สามารถพบได้ทุกเพศ และทุกวัย มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ภาวะนี้มักพบในช่วงฤดูที่มีอากาศหนาวมากกว่าฤดูอื่นๆ เนื่องจากในฤดูหนาว มีความชื้นในอากาศที่ลดลง และมีอุบัติการณ์ของหวัด หรือการอักเสบติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนต้นเพิ่มขึ้น เป็นการยากที่จะประมาณอุบัติการณ์ของเลือดกำเดาไหลในประชากรทั่วไป เนื่องจากภาวะนี้อาจหายได้เอง หรือดีขึ้นได้เองโดยการดูแลรักษาตามอาการโดยไม่ต้องมาพบแพทย์ ภาวะเลือดกำเดาไหล อาจมีสาเหตุโดยตรงจากโรคของจมูก หรือไซนัสเอง หรือเป็นผลจากโรคอื่น ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยปัญหานี้ สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีเลือดออกจำนวนน้อยๆ และหยุดได้เอง แต่เป็นมาแล้วหลายครั้ง มักจะเป็นเด็ก, วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่อายุน้อย ที่มีเลือดออกมาจากจมูกทางส่วนหน้า (anterior epistaxis) สาเหตุของเลือดกำเดาไหล 1. สาเหตุเฉพาะที่ ได้แก่ 1.1 ) การระคายเคือง หรือบาดเจ็บบริเวณจมูก เช่น การแคะจมูกที่ทำบ่อยจนติดเป็นนิสัย ผู้ที่มีนิสัยชอบแคะจมูกมักจะมีน้ำมูกแห้งกรัง เมื่อแคะออกจะเกิดแผลถลอก และอาจเป็นแผลเรื้อรังโดยเฉพาะส่วนด้านหน้าของผนังกั้นช่องจมูก, การได้รับแรงกระแทกที่จมูก (ซึ่งอาจมีกระดูกของจมูกแตกหักร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้), การผ่าตัดในโพรงจมูก เช่นการผ่าตัดเยื่อบุจมูก, การผ่าตัดผนังกั้นช่องจมูก, การผ่าตัดโพรงไซนัส, การใส่ท่อช่วยหายใจผ่านทางจมูก, การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก หรือสูดดมโคเคนอย่างไม่ถูกต้องเป็นเวลานานๆ, การสั่งน้ำมูกแรง ๆ หรือมีการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศอย่างรวดเร็ว เช่นระหว่างขึ้นเครื่องบิน หรือดำน้ำ เป็นต้น สาเหตุดังกล่าวนี้ จะทำให้เลือดออกจากจมูก เนื่องจากมีการฉีกขาดของเยื่อบุโพรงจมูก เลือดที่ออก มักมีปริมาณไม่มาก และออกเป็นระยะเวลาสั้นๆ และ อาจมีเลือดออกซ้ำในช่วงระยะที่กำลังหายได้ การบาดเจ็บบริเวณศีรษะและใบหน้าอย่างรุนแรง (ซึ่งอาจโดนที่จมูกโดยตรงหรือโพรงไซนัส) จะทำให้เลือดออกจากจมูกเป็นปริมาณมากในระยะแรกได้ แต่ถ้ามีเลือดออกจากจมูกหลังจากการบาดเจ็บในระยะเวลาเป็นสัปดาห์นั้น ควรนึกถึงเส้นเลือดโป่งพองที่เกิดจากอุบัติเหตุด้วย ส่วนภาวะอากาศหนาว ความชื้นต่ำ จะทำให้เยื่อบุจมูกแห้ง และ มีแนวโน้มที่จะทำให้มีการระคายเคืองและเลือดออกได้ง่าย 1.2) การอักเสบในโพรงจมูก เช่นจากการติดเชื้อไวรัส, โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้, ไซนัสอักเสบ, สิ่งแปลกปลอมในจมูก, การสัมผัสกับสารระคายเคืองต่าง ๆ เช่นการใช้โคเคนสูดทางจมูก รวมทั้งการใช้เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า [nasal continuous positive airway pressure (CPAP)] เพื่อรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือการให้ออกซิเจนที่มีความชื้นต่ำ ซึ่งสาเหตุดังกล่าวเหล่านี้ จะทำให้มีเลือดคั่งที่เยื่อบุจมูก และ/หรือเยื่อบุไซนัสมากกว่าปกติ และเส้นเลือดแตกได้ง่าย เลือดที่ออกจากสาเหตุนี้มักจะปนมากับน้ำมูก แต่ถ้าความรุนแรงของการอักเสบเพิ่มขึ้น หรือ ผู้ป่วยสั่งน้ำมูกแรงๆ ก็อาจจะมีเลือดออกมากได้ 1.3) ความผิดปกติทางกายวิภาค เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด หรือมีกระดูกงอก หรือมีรูทะลุ ทำให้เกิดความไม่สมดุลของอากาศที่ผ่านเข้าออก ผู้ป่วยมักมีเลือดกำเดาไหลข้างที่มีผนังกั้นช่องจมูกคด หรือข้างที่แคบ เนื่องจากข้างที่แคบนั้น มีลมหายใจ หรืออากาศผ่านเข้า-ออก มากและเร็วกว่า ทำให้เยื่อบุจมูกบริเวณดังกล่าวแห้ง มีสะเก็ด และเปราะบาง ทำให้มีเลือดออกได้ง่าย จุดที่มักจะเกิดเลือดออกนั้น มักจะเป็นที่ตำแหน่งทางด้านหน้าของบริเวณที่มีการคดงอ หรือ มีกระดูกงอก 1.4) เนื้องอก เช่น มะเร็งในจมูก ไซนัส หรือโพรงหลังจมูก หรือ เนื้องอกชนิดไม่ร้ายที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมาก อาจทำให้ผู้ป่วยมีเลือดออกจากจมูกได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการเลือดออกจากจมูกเป็นๆหายๆ หรือเลือดออกจมูกเป็นปริมาณมากควรได้รับการส่องกล้องตรวจในโพรงจมูก หรือได้รับการตรวจเอ็กซเรย์ว่า มีเนื้องอกเป็นสาเหตุหรือไม่ 1.5) ความผิดปกติของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงจมูก เช่น เส้นเลือดโป่งพองที่เกิดจากอุบัติเหตุ หรือ ความผิดปกติของเส้นเลือดแดง และดำที่มาเชื่อมต่อกันจากอุบัติเหตุ เป็นต้น การประเมินความรุนแรง และแก้ไขภาวะที่เกิดจากการเสียเลือดและการหาสาเหตุสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก คือการประเมินทางเดินหายใจ และระบบไหลเวียนโลหิตเบื้องต้น และแก้ไขอย่างทันท่วงที เช่นการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง การให้สารน้ำทางหลอดเลือด การจองเลือด ไปพร้อม ๆกับ การห้ามเลือด แล้วจึงค้นหาสาเหตุของเลือดกำเดาไหล โดยทั่วไปอาจแบ่งระดับความรุนแรงของเลือดกำเดาไหลออกเป็น 1.1) ระดับน้อย หมายถึงมีเลือดออกปริมาณน้อย ไม่สามารถวัดปริมาณได้ชัดเจน เช่น เปื้อนผ้าเช็ดหน้า หรือกระดาษชำระ และมักหยุดได้เอง 1.2) ระดับปานกลาง หมายถึงเลือดออกมากขึ้น และระบุปริมาณได้ เช่น มากกว่า 100 มล. หรือเปรียบเทียบเป็น ½ แก้วน้ำดื่ม เป็นต้น ส่วนสัญญาณแสดงชีพยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ 1.3) ระดับรุนแรง หมายถึงเลือดออกมาก จนมีอาการแสดงของระดับสารน้ำในหลอดเลือดต่ำ หรือภาวะช็อค เช่นชีพจรเต้นเร็ว เบา ความดันโลหิตต่ำ หรือมีหน้ามืด เป็นลมเวลาเปลี่ยนท่า และรวมถึงกลุ่มที่เลือดไหลไม่หยุด แม้ว่าได้รับการห้ามเลือดโดยใช้ผ้าก๊อสใส่ในโพรงจมูกทั้งทางด้านหน้าและหลังแล้ว การค้นหาสาเหตุ และให้การรักษาตามสาเหตู เช่น การผ่าตัดเพื่อกำจัดเนื้องอก, การผ่าตัดเอารอยโรคออก และซ่อมเยื่อบุผิว, การแก้ไขความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด หรือ การทำผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นช่องจมูกคด หรือการตัดกระดูกที่งอกในผู้ป่วยที่มีผนังกั้นจมูกคด หรือ มีกระดูกงอก ที่ทำให้มีปัญหาเลือดออกจากจมูก เป็นต้น โดยสรุป ภาวะเลือดกำเดาไหล หรือ เลือดไหลออกจากจมูก เป็นภาวะที่พบได้บ่อย และเป็นภาวะฉุกเฉินทางหู คอจมูก ที่ผู้ป่วยควรรักษาเบื้องต้นได้ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการแคะจมูก หรือ การอักเสบในโพรงจมูกโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อายุน้อย การดูแลรักษาที่ต้องปฏิบัติอย่างทันท่วงที คือการห้ามเลือด และประเมินปริมาณเลือดที่เสียไป เพื่อที่จะให้ทดแทนอย่างเหมาะสม และพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และรักษาตามสาเหตุ |
Anonymous