กระดานสุขภาพ
ขมปาก กินอาหารแล้วเค็มมาก 7วันแล้ว | |
---|---|
17 กันยายน 2562 01:13:16 #1 ผมไม่สบาย ตรวจเลือดแล้วไม่เป็นไข้เลือดออก ตอนนี้ไม่มีไข้แล้ว แต่ลิ้นยังไม่สามารถรับรสได้ พอกินอะไรเข้าไปมันจืดและเค็มมาก จนกินอะไรไม่ได้เลย เป็นมา1สัปดาห์แล้ว กินได้แต่ของเหลว นม น้ำ ขนมช้อคโกแลต ปล. ตอนนี้ยังมีไออยู่บ้างเล็กน้อย และหิวท้องร้องบ่อยมาก อยากทราบว่าผมต้องทำอย่างไร |
|
อายุ: 23 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 54 กก. ส่วนสูง: 164ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.08 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
Koda*****o |
17 กันยายน 2562 08:49:21 #2
เพิ่มเติม วันนี้ไปตรวจเกล็ดเลือดมาเหลือ 111k ละครับต่ำกว่าค่าปกติ
|
Koda*****o |
17 กันยายน 2562 14:16:44 #3
ตอนนี้สามารถทานอาหารได้มากขึ้นแล้วครับ ลิ้นรับรสชาตได้บ้างครับ
|
Koda*****o |
18 กันยายน 2562 06:12:23 #4
เกล็ดเลือดวันนี้ 124k ละครับ
|
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
21 กันยายน 2562 15:28:48 #5 ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia) เป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเลือดออกผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายมีเกล็ดเลือดต่ำมาก และเมื่อไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจเกิดอาการเลือดออกจนเสียชีวิตได้ สาเหตุของเกล็ดเลือดต่ำมีได้หลายอย่าง หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม สามารถทำให้ผู้ป่วยหายและมีชีวิตเป็นปกติได้ เกล็ดเลือด (Platelet) เป็นส่วนหนึ่งของเม็ดเลือดที่อยู่ในกระแสเลือด (ในกระแสเลือดมีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด) มีหน้าที่สำคัญทำให้เลือดอยู่ในภาวะปกติ ไม่เกิดเลือดออกง่าย แต่หยุดยาก โดยจำนวนและหน้าที่ของเกล็ดเลือดต้องปกติ เมื่อเกล็ดเลือดต่ำเพียงเล็กน้อยอาจไม่มีอาการอะไรเลย ไม่มีเลือดออกที่ใด แต่เมื่อเกล็ดเลือดต่ำถึงระดับหนึ่ง จะมีอาการเลือดออก อาการเลือดออกจากเกล็ดเลือดต่ำ มักเกิดที่ผิวหนังเป็นจุดเลือดออกแดงๆ คล้ายยุงกัด กดแล้วไม่จางหายไป (หากเป็นจุดยุงกัดเมื่อกดแล้วจะจางลง) หรือเป็นจ้ำเลือดออกตื้นๆ (Ecchymosis) ซึ่งบางคนเรียกว่า ‘พรายย้ำ” จ้ำเลือดปกติ คลำดูจะเรียบแต่บางครั้งคลำดูเหมือนมีไตแข็งขนาดเมล็ดถั่วเขียวอยู่ตรงกลางจ้ำเลือดก็ได้ จ้ำเลือดจะมีสีม่วงปนเหลืองเนื่องจากเม็ดเลือดแดงที่อยู่ในตำแหน่งเลือดออกจะแตกตัวได้สารสีเหลือง สีจ้ำเลือดจะไม่สม่ำเสมอ แล้วแต่การแตกตัวของเม็ดเลือดแดงก่อนหลัง หากมีจ้ำเป็นสีน้ำตาลเสมอกันอาจไม่ใช่จ้ำเลือด อาจเกิดจากการแพ้ยาบางชนิด ซึ่งเรียกว่า fixed drug eruption บางคนอาจมีเลือดออกแถวเยื่อเมือกบุในช่องปาก เลือดออกที่เหงือก ในหญิงที่มีประ จำเดือนแล้ว อาจมีเลือดประจำเดือนออกมาก บางคนมีปัสสาวะเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระมีเลือดปน หรือถ่ายอุจจาระสีดำเหมือนเส้นผม หรือยางมะตอย อาการเลือดออกจากเกล็ดเลือดต่ำเพียงสาเหตุเดียว มักไม่มีเลือดออกในข้อหรือในกล้ามเนื้อลึกๆ หากมีอาการดังกล่าวต้องหาสาเหตุของเลือดออกจากปัจจัยการแข็งตัวของเลือดผิดปกติด้วย เกล็ดเลือดต่ำเกิดจากสาเหตุสำคัญ 4 อย่างคือ สร้างจากไขกระดูกได้น้อยมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งต่อมหมวกไต และโรคมะเร็งอื่นๆ หรือเกล็ดเลือดต่ำจากยาบางชนิดที่ไปกดการสร้างเม็ดเลือดที่ไขกระดูก เช่น ยาในกลุ่มยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง เช่น ภาวะที่ไขกระดูกฝ่อ หรือที่เรียกว่า โลหิตจางอะพลาสติก (Aplastic anemia) ซึ่งไขกระดูกจะสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดได้น้อยมาก รวมทั้งเกล็ดเลือดด้วย หรือภาวะที่ไขกระดูกถูกกดเบียดจากการมีโรคมะเร็งกระจายเข้าในไขกระดูก เช่น โรค เกล็ดเลือดถูกทำลายมากโรคเอสแอลอี (SLE, Systemic lupus erythematosus) โรคนี้มักจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ผื่นผิวหนังที่เกิดจากแพ้แสงแดด ช่องปากเป็นแผล ปวดข้อ ผมร่วง เป็นต้น ในโรค เอสแอลอี อาจจะพบเม็ดเลือดชนิดอื่นๆต่ำลงด้วยนอกเหนือ ไปจากเกล็ดเลือดต่ำ นอกจากนี้มียาจำนวนมากที่อาจทำให้เกล็ดเลือดต่ำจากปฏิกิริยาอิมมูน (Immune) หรือจากภูมิต้านทานทำลายเกล็ดเลือด ยาที่พบบ่อยคือ ยาเฮพาริน (Heparin) ซึ่งเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่มีการใช้บ่อยในโรคที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด โรคที่มีการสร้างภูมิต้านทานทำลายเกล็ดเลือดอย่างเดียวโดยไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ได้แก่ โรค ไอทีพี (ITP, Immune thrombocytopenia หรือที่เคยเรียก Immune thrombocy topenic purpura หรือ Idiopathic thrombocytopenic purpura) โรคนี้มักมีเกล็ดเลือดต่ำแบบเฉียบพลัน ในเด็กอาจมีการติดเชื้อไวรัสนำมาก่อน หรือมีประวัติฉีดวัคซีนบางชนิดมาก่อน ในผู้ใหญ่มักมีอาการค่อยเป็นค่อยไป การทำลายเกล็ดเลือดอาจเกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานมาทำลายเกล็ดเลือดเอง เช่น ในโรคที่เรียกว่า เกล็ดเลือดถูกบีบ (Squeeze) ไปอยู่ในที่หนึ่งที่ใดมากเกินไป เช่นไปอยู่ในหลอดเลือดที่ม้าม หรืออยู่ในก้อนที่มีหลอดเลือดผิดปกติที่เรียก Hemangioma ยังผลให้เกล็ดเลือดในกระแสเลือดลดลง มีการใช้เกล็ดเลือดมากเกินไป นอกจากนี้ยังมีภาวะที่มีการใช้เกล็ดเลือดมาก อีกกรณีหนึ่งคือภาวะ Disseminated intravascular coagulation ซึ่งเรียกย่อว่า ภาวะ ดีไอซี (DIC) เป็นภาวะที่มีลิ่มเลือดกระจายไปในหลอดเลือดเล็กๆทั่วไป ทั่วร่างกาย อันเป็นผลตามมาจากการมีภาวะติดเชื้อรุนแรง ภาวะช็อก ภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน หรือภาวะทางสูติศาสตร์ เช่น รกลอกตัวก่อนกำหนด ในภาวะ ดีไอ ซี ผู้ป่วยมักมีอาการหนัก มีปัญหาโรคอื่นๆ นำมาก่อนมีลิ่มเลือดในหลอดเลือด แล้วตามมาด้วยภาวะเลือดออกผิดปกติ เช่น ในภาวะที่มีเลือดออกร่างกายต้องนำเกล็ดเลือดไปใช้ในการห้ามเลือด ดังนั้นเมื่อมีเลือดออกและพบว่าเกล็ดเลือดต่ำจึงต้องหาว่าอะไรเป็นสิ่งที่เกิดก่อนคือเกล็ดเลือดต่ำก่อนหรือเลือดออกก่อนเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง เกล็ดเลือดต่ำเพราะมีปริมาณน้ำในร่างกายมาก (Dilutional thrombocy topenia) พบในผู้ที่ได้รับน้ำเกลือ หรือสารน้ำคอลลอยด์ (Colloids,สารน้ำชนิดหนึ่งซึ่งใช้เพิ่มปริมาณน้ำในหลอดเลือด ในการรักษาผู้ป่วยภาวะร่างกายขาดน้ำ เช่น จากการสูญเสียน้ำจากแผลไฟไหม้) ทางหลอดเลือดดำมากเกินไป หรือได้รับส่วนประกอบอื่นๆของเลือดในปริมาณมาก เช่น ได้รับเฉพาะแต่เม็ดเลือดแดง หรือ เฉพาะแต่เม็ดเลือดขาว แต่ไม่ได้รับเกล็ดเลือดร่วมด้วย และยังอาจพบในระยะท้ายๆของการตั้งครรภ์ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณสารน้ำในเลือดสูงขึ้น (ไตรมาสที่ 3) แต่ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ เกล็ดเลือดมักไม่ต่ำมาก แพทย์จะดำเนินการ ดังนี้ เมื่อสงสัยผู้ป่วยมีเกล็ดเลือดต่ำ ซักประวัติโดยละเอียด เช่น ประวัติการมีเลือดออก ตำแหน่งที่เลือดออก โดยแพทย์จะแยกว่า เป็นเลือดออกเฉพาะที่ หรือเป็นเลือดออกจากเกล็ดเลือดต่ำ เช่น การมีหลอดเลือดฝอยที่ผนังกั้นกลางจมูกผิดปกติ หลอดเลือดจึงเปราะแตกง่าย ทำให้มีเลือดกำเดาออกที่เดียว แต่ถ้าเป็นจากเกล็ดเลือดต่ำ น่าจะมีเลือดออกหลายๆที่ และลักษณะของเลือดออกพอจะบอกได้ว่า เป็นจากเกล็ดเลือดต่ำหรือจากเลือดออกจากปัจจัยการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ แพทย์จะซักประวัติการใช้ยามาก่อน ประวัติมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เช่น มีการติดเชื้อนำมาก่อน การฉีดวัคซีนบางชนิดในผู้ป่วยเด็ก อาจสัมพันธ์กับการมีเกล็ดเลือดต่ำ เช่น ในโรค ITP หรือมีอาการปวดข้อ มีผมร่วง มีผื่น แพ้แสงแดด หรือมีภาวะซีดร่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งมักพบในโรคเอสแอลอี การติดเชื้อไวรัส เช่น โรคไข้เลือดออก ทำให้เกล็ดเลือดต่ำหลังจากมีไข้สูงประมาณ 3 วัน แต่ก็จะกลับมาปกติในวันที่ 8 ถึง 10 ตรวจร่างกาย เพื่อหาสาเหตุที่จะทำให้เกล็ดเลือดต่ำว่าเกิดจากโรคอะไร ดังได้กล่าวในสาเหตุของเกล็ดเลือดต่ำ การตรวจพิสูจน์ว่าเกล็ดเลือดต่ำจริง ไม่ได้เกิดจากเทคนิคทางห้องปฏิบัติการผิด พลาด เช่น บางทีเกล็ดเลือดอาจเกาะกลุ่มกัน ทำให้การตรวจนับด้วยเครื่องนับอัตโนมัติผิด พลาดไป ซึ่งแพทย์จะเอาแผ่นแก้ว/สไลด์ (Slide) ที่ สเมียร์เลือด (Smear,ทำให้เลือดเป็นแผ่นบางๆบนแผ่นแก้ว) มาตรวจสอบ แพทย์จะดูว่าเกล็ดเลือดต่ำจริงหรือไม่ โดยนับเกล็ดเลือดในสไลด์และตรวจว่าเกล็ดเลือดรูปร่างผิดปกติหรือไม่ เม็ดเลือดขาวผิดปกติ หรือมีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือไม่ ตลอดจนเม็ดเลือดแดงผิดปกติหรือไม่ ตรวจหาสาเหตุตามที่สงสัยจากประวัติและการตรวจร่างกาย เช่น อาจมีการเจาะเลือดเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นโรค เอสแอลอี หรือไม่ อาจตรวจไขกระดูกหาความผิดปกติต่างๆ เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือบางโรคที่ไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ หรืออาจรอเฝ้าดูให้เกล็ดเลือดสูงขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือให้การรักษาไปก่อนแล้วติดตามดู เป็นต้น การรักษา แพทย์จะรักษาตามความรีบด่วนของอาการ และตามสาเหตุ (ซึ่งจะแตก ต่างกันไปตามสาเหตุ เช่น รักษาโรคเอสแอลอี เป็นต้น) เช่น หากมีเลือดออกมากต้องห้ามเลือด และให้เกล็ดเลือดทดแทนก่อน ยกเว้นกรณีที่ให้เกล็ดเลือดแล้ว ไม่ทำให้ผู้ป่วยดีขึ้น แต่กลับทำให้เกล็ดเลือดอาจถูกทำลายมากขึ้น เป็นต้น |
Koda*****o