กระดานสุขภาพ

ผลตรวจแบบนี้เป็นเบาหวานหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นไหมครับ
Jira*****9

22 มิถุนายน 2562 06:35:22 #1

http://haamor.com/media/images/webboardpics/jirayutt39-48596-1.jpg

http://haamor.com/media/images/webboardpics/jirayutt39-48596-2.jpg

อายุ: 22 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 175ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.59 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

23 มิถุนายน 2562 04:11:13 #2

ค่าการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดของคุนอยู่ในเกณฑ์ปกติค่ะ

เบาหวาน(Diabetes mellitus หรือDiabetes หรือเรียกย่อว่าโรคดีเอ็ม, DM) เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายต้องได้รับการดูแลรักษาตลอดชีวิตทั้งนี้เกิดจากการที่ในเลือดมีน้ำตาลสูงกว่าปกติ

เบาหวานเป็นโรคที่พบได้สูงในคนทุกอายุและทั้งสองเพศแต่จะพบได้สูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

โดยทั่วไปแบ่งเบาหวานได้เป็น3 ชนิดหลักคือเบาหวานชนิด1 (Diabetes mellitus type 1), เบาหวานชนิด2 (Diabetes mellitus type 2) และเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์(Ges tational diabetes mellitus)

เบาหวานชนิด1 เบาหวานชนิดนี้พบได้น้อยประมาณ5% ของเบาหวานทั้งหมดเกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยผิดปกติหรือสร้างไม่ได้เลยผู้ป่วยจึงต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาอินซูลินตลอดชีวิตดังนั้นจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าโรคเบาหวานชนิดต้องพึ่งอินซูลิน(Insulin-dependent diabetes mellitus) และเพราะเบาหวานชนิดนี้มักพบในเด็กและวัยรุ่นจึงเรียกได้อีกชื่อว่าโรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นหรือJuvenile diabetes mellitu

เบาหวานชนิด2 เป็นเบาหวานที่มักพบในผู้ใหญ่อายุมากกว่า40 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะในคนอ้วนดังนั้นจึงเรียกอีกชื่อว่าเบาหวานในผู้ใหญ่(Adult onset diabetes mellitus) และเป็นเบาหวานที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งอินซูลิน(Non- insulin-dependent diabetes mellitus) ซึ่งเบาหวานชนิดนี้พบได้สูงที่สุดประมาณ90 - 95% ของโรคเบาหวานทั้งหมดดังนั้นโดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงโรคเบาหวานจึงมักหมายถึงโรคเบาหวานชนิดนี้

เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์พบได้ประมาณ2 - 5% ของเบาหวานทั้งหมดกล่าวคือเป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์เท่า

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้แก่

-โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกินซึ่งส่งผลให้เซลล์ต่างๆดื้อต่ออินซูลิน

-ขาดการออกกำลังกายเพราะการออกกำลังกายจะช่วยควบคุมน้ำหนักและช่วยให้เซลล์ต่างๆไวต่อการนำน้ำตาลไปใช้หรือช่วยการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดได้ดีนั่นเอง

-พันธุกรรมเพราะพบว่าคนที่มีครอบครัวสายตรง(พ่อแม่พี่น้องท้องเดียวกัน) เป็นเบาหวานมีโอกาสเป็นเบาหวานสูงกว่าคนทั่วไป

-เชื้อชาติเพราะพบว่าคนบางเชื้อชาติเป็นเบาหวานสูงกว่าเช่นในคนเอเชียและในคนผิวดำ

-อายุยิ่งอายุสูงขึ้นโอกาสเป็นเบาหวานยิ่งสูงขึ้นอาจจากการเสื่อมถอยของเซลล์ตับอ่อนหรือขาดการออกกำลังกายจากสุขภาพที่เสื่อมถอย

-มีไขมันในเลือดสูง

-มีความดันโลหิตสูง

เบาหวานมีอาการอย่างไร?

อาการหลักสำคัญของเบาหวานคือหิวบ่อยกระหายน้ำและปัสสาวะปริมาณมากและบ่อยนอกจากนั้นเช่น

เหนื่อยอ่อนเพลีย

ผิวแห้งคัน

ตาแห้ง

อาการชาเท้าหรือรู้สึกเจ็บแปลบที่ปลายเท้าหรือที่เท้า

ผอมลงโดยหาสาเหตุไม่ได้

เมื่อเกิดแผลในบริเวณต่างๆแผลมักหายช้ากว่าปกติโดยเฉพาะแผลบริเวณเท้า

บางครั้งสายตาพร่ามัวโดยหาสาเหตุไม่ได้

การวินิจฉัย

แพทย์วินิจฉัยโรคเบาหวานได้จากประวัติอาการประวัติการเจ็บป่วยต่างๆประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัวการตรวจร่างกายและที่สำคัญคือการตรวจเลือดเพื่อดูปริมาณน้ำตาลในเลือดและ/หรือดูสารที่เรียกว่าฮีโมโกลบินเอวันซี(HbA1C: Glycated hemoglobin)

ค่าปกติของน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารอย่างน้อยประมาณ8 ชั่วโมง(Fasting Blood Sugar หรือเรียกย่อว่าFBS) คือน้อยกว่า110 มิลลิกรัม/เดซิลิตร(มก./ดล.) หรือถ้าตรวจเลือดที่2 ชั่วโมงหลังแพทย์ให้กินน้ำตาลประมาณ75 กรัม(Glucose tolerance Test หรือเรียกย่อว่าจีทีที/ GTT) ค่าน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า140 มก./ดลหรือค่าHbA1C น้อยกว่า6.5%

เบาหวานคือค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารสูงตั้งแต่126 มก./ดล. ขึ้นไปและ/หรือค่าจีทีทีสูงตั้งแต่200 มก./ดล. ขึ้นไปหรือค่าHbA1C มากกว่าหรือเท่ากับ6.5%

อาจมีการตรวจอื่นๆประกอบด้วยเช่นการตรวจปัสสาวะดูน้ำตาลในปัสสาวะซึ่งจะไม่พบในคนปกตินอกจากนั้นคือการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไตเพราะเบาหวานมักส่งผลต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังและการตรวจสุขภาพตาโดยจักษุแพทย์เพื่อเฝ้าระวังผลข้างเคียงของเบาหวานต่อจอตาหรือที่เรียกว่าเบาหวานขึ้นตา