กระดานสุขภาพ

ปวดทวานหนักเวลาถ่าย
Anonymous

10 มิถุนายน 2562 11:11:03 #1

อยากถามอาการครับ พอดีมาอาการเริ่มแรกคันมากรอบๆทวารหนัก พอผ่านมาประมาณ2สัปดาห์ มีอาการปวดหน่วงๆเวลาถ่าย และเวลานั่ง ไอจามก็รู้สึกปวดเหมือนมีน้ำเหลืองซึมออกมาจากทวานหนักครับแต่ไม่มีเลืดออกมา ปวดแค่ข้างขวาข้างเดียว พอกดที่หูรูดรู้สึกปวดๆเหมือนมีตุ่มอยู่ครับ อยากทราบว่าเป็นฝีคัณฑสูตรหรือว่าริดสีดวงทวานหนักอ่าครับคุณหมอ
อายุ: 23 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 73 กก. ส่วนสูง: 170ซม. ดัชนีมวลกาย : 25.26 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Anonymous

10 มิถุนายน 2562 11:13:08 #2

เวลาถ่ายก็ไม่มีเลือดออกมานะครับ
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

14 มิถุนายน 2562 10:13:44 #3

คันทวารหนักหรือคันปากทวารหนัก(Pruritus ani) คืออาการคันที่เกิดในบริเวณรอบๆปากทวารหนักอาจเป็นอาการเฉียบพลันหรือเป็นอาการเรื้อรังทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ

คันทวารหนักเป็นอาการพบได้บ่อยอาการหนึ่งพบได้ประมาณ1-5% ของประชากรทั้งหมดพบได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุโดยผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดอาการนี้ได้เท่ากัน

สาเหตุของการคันทวารหนักมีได้หลายสาเหตุได้แก่

• บริเวณรอบทวารหนักเปียกชื้นอับเช่นจากเหงื่อออกมากอ้วนหลังเข้าห้องน้ำแล้วล้าง/เช็ดไม่แห้ง

• มีโรคผิวหนังเช่นจากโรคผื่นภูมิแพ้ต่างๆเช่นโรคผื่นแพ้สัมผัสโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังโรคสะเก็ดเงินโรคผิวหนังอักเสบที่เรียกว่าSeborrheic dermatitis

• มีอุจจาระไหลซึมออกมารอบๆปากทวารหนักเช่นโรคแผลรอยแยกขอบทวารหนักโรคฝีคัณฑสูตรภาวะท้องผูกเรื้อรังภาวะกลั้นอุจจาระไม่อยู่(เช่นในผู้สูงอายุ) ท้องเสียเรื้อรังภาวะอุจจาระเหลวไม่เป็นก้อน(เช่นในกรณีมีลำไส้อักเสบเรื้อรัง) โรคริดสีดวงทวารและโรคเนื้องอก/ติ่งเนื้อที่เรียกว่าSkin tag

• การระคายเคืองจากอาหารบางชนิดซึ่งพบได้ในบางคนที่เนื้อเยื่อรอบปากทวารหนักไวต่ออาหารประเภทนี้เช่นอาหาร/เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนเบียร์นมอาหารรสเปรี้ยวอาหารรสเผ็ดและมะเขือเทศ

• มีการติดเชื้อในผิวหนังรอบปากทวารหนักเช่นจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นสิวหรือหนองจากรักษาความสะอาดไม่เพียงพอติดเชื้อราเชื้อไวรัสบางชนิดเช่นหูดบางชนิดหรือมีพยาธิทวารหนักเช่นพยาธิเส้นด้ายหรือเหา

• ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดเช่นยาปฏิชีวนะยาเคมีบำบัดหรือยารักษาตรงเป้าบางชนิด

• จากโรคเรื้อรังของร่างกายบางชนิดเช่นโรคเบาหวานโรคดีซ่านโรคของต่อมไทรอยด์โรคไตเรื้อรังหรือภาวะไตวาย

• ผิวหนังบริเวณรอบทวารหนักสัมผัสสาร/สิ่งก่อการระคายเคืองเช่นเสื้อผ้าแป้งยาทารักษาโรคบริเวณนั้นผิวแห้งกระดาษทิชชูสบู่ผงซักฟอกน้ำยาปรับผ้านุ่มสารดับกลิ่นและยาเหน็บทวารหนักต่างๆ

• อาจเป็นอาการหนึ่งของโรคมะเร็งบางชนิดเช่นโรคมะเร็งผิวหนังโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

• อื่นๆเช่นปัญหาทางอารมณ์/จิตใจโรคของเส้นประสาทในบริเวณนั้นและบางครั้งแพทย์หาสาเหตุไม่พบ

แนวทางการรักษาอาการคันทวารหนักคือการรักษาอาการคันการรักษาสาเหตุและการรักษาประคับประคองตามอาการ

ก. การรักษาอาการคันเช่นกิน/ทายาแก้คันสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบายอากาศถ่ายเทได้ดี

ข. การรักษาสาเหตุคือการรักษาสาเหตุต่างๆดังกล่าวแล้วในหัวข้อสาเหตุเช่น

• รักษาควบคุมโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังโรคเบาหวานโรคริดสีดวงทวารและโรคแผลรอยแยกขอบทวารหนัก

• ปรับเปลี่ยนการใช้สบู่ผงซักฟอกและ/หรือประเภทอาหาร/เครื่องดื่มต่างๆที่ก่อการระคายเคืองตามแต่ละสาเหตุเป็นต้น

ค. การรักษาประคับประคองตามอาการเช่นการทำความสะอาดเมื่อมีแผลหรือหนองการกินยาแก้ปวด/เจ็บตามอาการการตัดเล็บให้สั้นเพื่อป้องกันการเกาจนเกิดแผลที่เกาติดเชื้อเป็นต้น

การดูแลตนเองและการพบแพทย์เมื่อมีอาการคันทวารหนักคือ

• ตัดเล็บให้สั้นเพื่อป้องกันแผลเกาติดเชื้อจากการเกา

• รักษาความสะอาดบริเวณทวารหนักล้างให้สะอาดด้วยน้ำเปล่าสะอาดอุณหภูมิน้ำปกติในทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำซับให้แห้งด้วยทิชชูที่อ่อนนุ่มแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้เพียงน้ำเปล่าแต่บางท่านแนะนำว่าถ้ามีหนองหรือน้ำเหลืองอาจใช้สบู่ได้แต่ต้องเป็นชนิดที่อ่อนโยนต่อผิว

• ทิชชูที่ใช้ในบริเวณทวารหนักต้องอ่อนนุ่ม

• รักษาบริเวณทวารหนักให้แห้งเสมอ

• ใส่ยาทาแก้คันได้เช่นยาคาลามาย(Calamine lotion)

• ซื้อยาแก้คันกินเองได้เช่นยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีน(Antihistamine) แต่ควรปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ

• สวมใส่เสื้อผ้ารวมทั้งชุดชั้นในที่ไม่รัดตึงเนื้อผ้าควรระบายอากาศได้ดี(ผ้าฝ้าย100%) รักษาความสะอาดชุดชั้นในควรเปลี่ยนอย่างน้อยวันละ2 ครั้งหลังอาบน้ำเช้าและก่อนนอน

• สังเกตความสัมพันธ์ของอาการกับเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องแล้วปรับตัวตามนั้นเช่นสบู่ผงซักฟอกน้ำยาปรับผ้านุ่มเป็นต้น

• สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างอาการกับอาหารและเครื่องดื่มแล้วปรับตัวตามนั้นเช่นกาแฟอาหารเผ็ดเป็นต้น

• อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้ดีเพื่อลดการมีเหงื่อ

• ควรพบแพทย์เมื่อบริเวณทวารหนักมีอาการดังนี้

- มีแผลเรื้อรัง

- มีก้อนเนื้อ

- แผลติดเชื้อ(บวมแดงร้อนมีน้ำเหลือง/หนอง)

- เจ็บมากที่ทวารหนักร่วมด้วย

- มีเลือดออกในบริเวณที่คันต่อเนื่อง

- คันมากจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและรวมทั้งต่อการนอน

- คลำได้ต่อมน้ำเหลืองขาหนีบโตข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง

- อาการคันเรื้อรังนานเป็นหลายสัปดาห์โดยไม่ดีขึ้นหลังดูแลตนเอง

- เมื่อกังวลในอาการ