กระดานสุขภาพ
เท้าอ้วนขึ้น | |
---|---|
19 เมษายน 2562 12:07:43 #1 ปรึกษาคะ จะเกี่ยวกันมั้ย ถ้าเราอ้วนขึ้นเท้าเราจะอ้วนขึ้นด้วย เพราะตอนท้องลูกเท้าบวมมาก พอคลอดน้ำหนักก็ลงนิดหน่อย เท้าก้อลดลงแค่นิดหน่อยคะ เดี๋ยวนี้ต้องเปลี่ยนขนาดไซร์รองเท้า คลอดลูกมาก็3ปีแล้วก่อนท้องหนัก65โล หลังคลอดจนถึงปัจจุบัน69-70โล มันผิดปกติอะไรมั้ยคะ เป็นกังวลคะ |
|
อายุ: 31 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 70 กก. ส่วนสูง: 159ซม. ดัชนีมวลกาย : 27.69 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
20 เมษายน 2562 16:56:23 #2 เท้าบวมคืออาการบวมที่เกิดขึ้นตั้งแต่บริเวณเท้าไปจนถึงข้อเท้าอาการนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุมีทั้งรุนแรงและไม่รุนแรงแต่ถือเป็นสัญญาณที่มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพเท้าบวมสามารถรักษาให้ทุเลาลงได้โดยแพทย์จะรักษาตามสาเหตุ แม้อาการเท้าบวมอาจไม่อันตรายแต่ควรสังเกตอาการอื่นๆด้วยหากผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงหรือมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยควรพบแพทย์เพื่อความปลอดภัย 1.มีอาการของโรคหัวใจโรคตับหรือโรคไตและเคยมีอาการเท้าบวมมาก่อน 2.เท้าที่บวมมีลักษณะแดงหรือสัมผัสแล้วรู้สึกอุ่นๆ 3.อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นผิดปกติ 4.อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ 5. มีอาการบวมอย่างเฉียบพลันและรุนแรง 6.หากใช้วิธีบรรเทาอาการด้วยตนเองในเบื้องต้นแล้วอาการไม่ทุเลา หากมีอาการเจ็บหรือแน่นที่หน้าอกผิดปกติวิงเวียนศีรษะมึนงงรู้สึกเหมือนจะเป็นลมและมีปัญหาในการหายใจคือหายใจถี่หรือหายใจลำบากควรรีบไปโรงพยาบาลในทันทีเพราะหากปล่อยไว้อาการอาจยิ่งรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สาเหตุของเท้าบวม เท้าบวมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุโดยอาจเกิดจากสาเหตุที่บริเวณข้อเท้าหรือเท้าโดยตรงหรืออาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติของร่างกาย ที่พบบ่อยได้แก่ อาการบาดเจ็บที่เท้าหรือข้อเท้าอาการบวมที่เกิดจากอาการบาดเจ็บซึ่งที่พบได้บ่อยที่สุดก็คืออาการเท้าบวมและข้อเท้าบวมที่เกิดจากข้อเท้าแพลงจากอุบัติเหตุหรือการสะดุดล้มทำให้เส้นเอ็นบริเวณข้อเท้ายืดมากผิดปกติโดยส่วนใหญ่แล้วหากหยุดพักการใช้ข้อเท้าหรือเท้าข้างที่บาดเจ็บและประคบเย็นในระยะแรกรวมถึงพันผ้าเพื่อลดการเคลื่อนไหวของข้อเท้าจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้แต่ถ้าอาการไม่ทุเลาลงหรืออาการเจ็บปวดค่อนข้างรุนแรงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด หลอดเลือดดำบกพร่อง(Venous Insufficiency) โดยปกติแล้วหลอดเลือดดำจะมีการไหลเวียนของเลือดขึ้นไปที่หัวใจในลักษณะไหลเวียนไปในทางเดียวและมีลิ้นที่คอยกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับแต่หากลิ้นดังกล่าวเสียหายจะทำให้หลอดเลือดดำทำงานผิดปกติและเลือดไหลย้อนกลับไปคั่งที่บริเวณเท้าและขาเลือดไม่เพียงพอที่จะไหลเวียนไปที่หัวใจจนเกิดอาการบวมที่เท้าในที่สุด การติดเชื้ออาการเท้าบวมและข้อเท้าบวมอาจเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอาการลุกลามไปยังเส้นประสาทส่วนปลายบริเวณเท้าจนเป็นแผลได้ง่ายอีกทั้งแผลที่เกิดอาจลุกลามได้ง่ายกว่าคนทั่วไปจนก่อให้เกิดอาการบวมอักเสบที่เท้าและอาจทวีความรุนแรงขึ้น ลิ่มเลือดอุดตันหากเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำที่บริเวณขาก็อาจทำให้เกิดอาการเท้าบวมได้ซึ่งภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำมีทั้งชนิดรุนแรงและไม่รุนแรงโดยความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันว่าลึกมากหรือไม่ทั้งนี้หากไม่รีบรักษาลิ่มเลือดอาจหลุดเขาไปที่ปอดซึ่งเป็นอันตรายได้ ภาวะบวมน้ำเหลือง(Lymphedema) เป็นอาการที่เกิดจากการคั่งของน้ำเหลืองบริเวณใต้ผิวหนังอันมีสาเหตุมาจากการไหลเวียนของน้ำเหลืองโดนขัดขวางจนทำให้เกิดอาการบวมที่บริเวณเท้าและข้อเท้าจนผิดปกติหากไม่รักษาจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ภาวะนี้หากเกิดจากโรคมะเร็งสามารถรักษาได้ด้วยการฉายรังสีหรือการผ่าตัดเพื่อนำต่อมน้ำเหลืองออกดังนั้นหากมีอาการเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ โรคต่างๆโดยเฉพาะโรคหัวใจโรคตับหรือโรคไตเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการบวมที่เท้าได้โดยอาการบวมจากสาเหตุนี้เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดน้ำและเกลือออกจากร่างกายได้หมดและเมื่อร่างกายมีของเหลวส่วนเกินสะสมอยู่มากเกินไปแรงโน้มถ่วงจะดึงให้น้ำส่วนเกินลงมาอยู่ที่เท้าจนทำให้ข้อเท้าและเท้าบวมได้ ผลข้างเคียงจากการใช้ยามียาจำนวนไม่น้อยที่มีผลข้างเคียงทำให้ข้อเท้าและเท้าบวมได้แก่ ฮอร์โมนต่างๆเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์(Calcium Channel Blocker) ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิต ยาสเตียรอยด์เช่นยาคอร์ติซอลสเตียรอยด์(Corticosteroids) ยาต้านเศร้า(Antidepressants) คือยาที่ใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้าเช่นยานอร์ทริปไทลีน(Nortriptyline) และยาอะมิทริปไทลีน(Amitriptyline) ยาต้านอาการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAIDs) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการปวดได้แก่ยาไอบูโพรเฟนเป็นต้น ยารักษาโรคเบาหวานบางชนิด |
Anonymous