กระดานสุขภาพ

โดนหนูกัด
Mani*****a

18 เมษายน 2562 17:09:05 #1

โดนหนูที่อยู่ตามท่อหรือแหล่งที่สกปรกกัด เป็นรอยแดงเล็กน้อยไม่มีเลือดออก เบื้องต้นล้างด้วยสบู่และเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ อยากทราบว่าต้องไปฉีดยาเพิ่มเติมไหมค่ะ
อายุ: 24 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 42 กก. ส่วนสูง: 156ซม. ดัชนีมวลกาย : 17.26 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

20 เมษายน 2562 16:48:24 #2

โรคพิษสุนัขบ้าหรือRabies เป็นโรคติดเชื้อไวรัสจากสัตว์สู่คน(เรียกว่าzoonosis) โดยคนถูกกัดจากสุนัขที่ติดเชื้อไวรัสนี้โรคนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า‘โรคกลัวน้ำ’ เพราะผู้ป่วยจะมีอาการกลัวน้ำนั่นเอง

โรคพิษสุนัขบ้าพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดเช่น

• สัตว์ในตระกูลสุนัขทั้งสุนัขบ้านและสุนัขป่า(หมาป่าหมาจิ้งจอกหมาใน)

• สัตว์ตระกูลแมวทั้งแมวบ้านและแมวป่า

• สัตว์ในตระกูลหนูทั้งหนูบ้านหนูนาหนูป่าหลายชนิด

• นอกจากนี้ยังมีค้างคาววัวควายแพะแกะม้าลิงกระรอกพังพอนสกั๊งก็เป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้เช่นกัน

คนจะติดเชื้อจากสัตว์เหล่านี้ได้โดย

• จากการถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัดข่วนหรือเลียผิวหนังที่มีบาดแผลโดยเชื้อไวรัสจากน้ำลายของสัตว์ที่มีเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าอยู่จะเข้าสู่ผิวหนังที่มีบาดแผลนอกจากนี้เชื้อโรคอาจเข้าสู่ร่างกายผ่านเยื่อบุต่างๆคือปากเยื่อบุตาได้เช่นกัน

• จากการหายใจเอาละอองไอน้ำที่มีเชื้อโรคอยู่ซึ่งพบได้น้อยมากมากเช่นการเข้าไปในถ้ำที่มีค้างคาวอยู่กันเป็นล้านๆตัวหรือเจ้าหน้าที่ในห้องแลปที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสชนิดนี้

• มีรายงานว่ามีผู้ป่วยที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจากการเปลี่ยนถ่ายกระจกตาประมาณ8 รายจากทั่วโลกและจากการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะอื่นๆประมาณ3 รายซึ่งอาจเกิดจากผู้ป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าแต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยในตอนแรก

หลักของการรักษาโรคพิษสุนัขบ้าคือการล้างแผลการให้สารภูมิต้านทานเพื่อไปทำลายเชื้อและการให้วัคซีนพิษสุนัขบ้า

1 การล้างแผลเมื่อผู้ป่วยถูกสัตว์กัดมาจะต้องรีบล้างแผลโดยเร็วการล้างแผลด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวก็สามารถลดจำนวนเชื้อไวรัสที่บริเวณบาดแผลได้บ้างการใช้สบู่และยาฆ่าเชื้อเช่นน้ำยาเบตาดีนหรือน้ำยาแอลกอฮอล์70% จะสามารถทำลายเชื้อได้มากขึ้น

2 การล้างแผลควรล้างให้ลึกถึงก้นแผลทั้งนี้เชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าเป็นเชื้อที่ไม่ทนถูกทำลายง่ายด้วยยาฆ่าเชื้อต่างๆรวมทั้งแสงยูวี(UV, ultraviolet light) หรือแสงแดดและอากาศที่แห้ง
ขนาดของบาดแผลจำนวนของบาดแผลและตำแหน่งของบาดแผลสัมพันธ์กับการเกิดโรคถ้าแผลยิ่งอยู่ใกล้สมองเท่าไหร่ระยะฟักตัวก็จะยิ่งสั้นแผลจำนวนยิ่งมากหรือขนาดแผลยิ่งใหญ่ก็ยิ่งมีโอกาสได้รับเชื้อมากเท่านั้น

3 การให้สารภูมิคุ้มกันต้านทานเชื้อไวรัสเมื่อเข้าสู่บาดแผลจะเดินทางเข้าสู่กล้ามเนื้อแบ่งตัวเพิ่มจำนวนและพร้อมจะเข้าสู่เส้นประสาทในช่วงนี้เองที่การรักษาด้วยการให้สารภูมิคุ้มกันต้านทานจะไปทำลายเชื้อไม่ให้เข้าสู่เส้นประสาทได้ผู้ป่วยจึงไม่เกิดเป็นโรคพิษสุนัขบ้าแต่ถ้าให้สารภูมิคุ้มกันต้านทานช้าเกินไปรวมทั้งไม่ได้รับวัคซีนพิษสุนัขบ้าด้วยเชื้อจะเข้าสู่เส้นประสาทได้ในที่สุดซึ่งเมื่อเชื้อเข้าสู่เส้นประสาทได้แล้วจะไม่มียาตัวใดรักษาให้หายได้เลยซึ่งการให้สารภูมิคุ้มกันต้านทานสามารถให้พร้อมกับวัคซีนได้เลยโดยจะฉีดเข้าสู่รอบๆแผลที่ถูกกัดแต่ถ้าไม่มีบาดแผลเช่นโดนสัตว์เลียปากมาก็ให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

4 การให้วัคซีนพิษสุนัขบ้าเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านทาน(Antibody) ขึ้นมาทำลายเชื้อโรคเองเนื่องจากสารภูมิคุ้มกันต้านทานที่ผู้ป่วยได้รับจะมีฤทธิ์อยู่เพียงชั่วคราวซึ่งหลังจากฉีดวัคซีนร่างกายจะใช้เวลาประมาณ10 - 14 วันจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาพอที่จะทำลายเชื้อโรคได้

ในการพิจารณาว่าผู้ป่วยรายใดที่ถูกสัตว์สัมผัส/กัด/ข่วนจำเป็นต้องให้สารภูมิคุ้มกันต้านทานและ/หรือวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าหรือไม่นั้นในแต่ละประเทศจะมีแนวทางการรักษาที่ไม่เหมือนกันทั้งนี้เพราะการควบคุมการฉีดวัคซีนในสัตว์มีความเข้มงวดต่างกันและมีความชุกชุมของสัตว์ที่เป็นโรคไม่เท่ากันสำหรับในประเทศไทยมีแนวทางดังนี้

1 ถ้าสัมผัสกับสัตว์(สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดทั้งสัตว์บ้านและสัตว์ป่า) หรือถูกเลียโดยที่ผิวหนังไม่มีบาดแผลใดๆก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไร

2 ถ้าถูกงับเป็นรอยช้ำเล็กๆบนผิวหนังหรือถูกข่วนเป็นรอยถลอกมีเลือดออกเพียงซิบๆหรือถูกเลียบนผิวหนังที่มีบาดแผลให้รีบฉีดวัคซีนทันที

3 ถ้าถูกกัดหรือข่วนที่มีเลือดออกชัดเจนหรือถูกเลียโดนเยื่อบุต่างๆเช่นเลียตาเลียปากให้รีบให้สารภูมิคุ้มกันต้านทานและวัคซีนทันที

แต่ในกรณีที่สัตว์ถูกเลี้ยงอย่างดีในบ้านฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต่อเนื่องอย่างน้อย2 ปีและมีเหตุจูงใจให้สัตว์กัดเช่นเหยียบสัตว์แกล้งสัตว์อาจยังไม่ต้องให้การรักษาโดยกักขังดูแลสัตว์จนครบ10 วันแต่ถ้าผิดเงื่อนไขทั้งหมดนี้เพียงอย่างเดียวต้องทำตามแนวทางการรักษาข้างต้นถ้าครบเงื่อนไขและสังเกตสัตว์ครบ10 วันแล้วสัตว์ไม่มีอาการผิดปกติอะไรหรือไม่ตายก็ไม่ต้องให้การรักษาถ้าสัตว์มีอาการผิดปกติหรือตายต้องรีบฉีดสารภูมิตุ้มกันต้านทานพร้อมวัคซีนและนำซากสัตว์ส่งแพทย์ตรวจด้วย

การดูแลตนเองและการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่สำคัญคือ

1 ผู้ที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่ว่าจะเป็นหมาแมวกระรอกกระต่ายหนูชนิดที่เป็นสัตว์เลี้ยงลิงควรพาสัตว์ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าตามที่สัตวแพทย์กำหนด

2 สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์เช่นหมูวัวควายแพะแกะม้าแม้ว่าจะพบโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เหล่านี้ได้บ้างแต่ไม่พบมีความสำคัญในการนำโรคมาสู่คนจึงไม่จำเป็นต้องพาสัตว์ไปฉีดวัคซีนแต่ถ้าคนถูกสัตว์เหล่านี้กัดคนก็ต้องไปรับการฉีดวัคซีน

3 คนที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคสูงได้แก่สัตวแพทย์และผู้ช่วยคนเพาะสัตว์เลี้ยงขายร้านขายสัตว์เลี้ยงเจ้าหน้าที่กำจัดสุนัขและแมวจรจัดเจ้าหน้าที่บ้านสงเคราะห์สัตว์พิการเร่ร่อนต่างๆบุรุษไปรษณีย์คนที่ทำงานในห้องแลปที่ต้องเกี่ยวข้องกับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าควรได้รับวัคซีนแบบป้องกันล่วงหน้า(Preexposure prophylaxis) คือให้ฉีดวัคซีนในวันที0, 3 และ21 หรือ28 และให้ฉีดกระตุ้นซ้ำ1 เข็มทุกๆ5 ปี

4 ผู้ที่ในอดีตเคยได้รับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าครบ5 เข็มหรืออย่างน้อย3 เข็มแรกที่ตรงตามนัดเมื่อถูกสัตว์กัดอีกไม่จำเป็นต้องได้รับสารภูมิคุ้มกันต้านทานแม้จะมีแผลชนิดเลือดออกและให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นเพียง2 เข็มภายในวันที่0 และ3 โดยจะฉีดแบบเข้ากล้ามหรือเข้าผิวหนังก็ได้แต่ถ้าฉีดเข็มสุดท้ายมายังไม่เกิน6 เดือนอาจกระตุ้นแค่เพียง1 เข็มบางคำแนะนำบอกว่าถ้าเข็มสุดท้ายเลย5 ปีมาแล้วให้เริ่มต้นใหม่เหมือนคนยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนแต่สถานเสาวภาแนะนำว่าไม่ว่าจะเคยได้รับมากี่ปีแล้วก็ตามไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ให้ฉีดกระตุ้นก็เพียงพอ

5 หญิงตั้งครรภ์สามารถรับวัคซีนและสารภูมิคุ้มกันต้านทานได้ไม่มีผลข้างเคียงกับทารกในครรภ์