กระดานสุขภาพ
จะเป็นน้ำท่วมปอดไหมเป็นห่วงแม่ | |
---|---|
16 เมษายน 2562 07:42:52 #1 สวัสดีค่ะคือว่าเมื่อ2-3เดือนที่แล้วค่ะหมอบอว่าเป็นchfเนื่องจากน้ำท่วมปวดแล้ว หมอก้อนัดติดตามอาการค่ะหมอบอกว่าน้ำแห้งแล้วหมอให้ยาขับปัสสาวะมาค่ะคือเรื่องที่กังวลค่ะคือแม่น้ำหนักขึ้น2โลครึ่งแล้วปัสสาวะบ่อยกดแล้วบุ๋มค่ะสามารถนอนราบได้สักักพอหลังจากนั้นก้อเปลี่ยนเป็นนอนตะแคง อาการน้ำท่วมปอดจะกลับมาไหมค่ะเป็นห่วงแม่จัง |
|
อายุ: 59 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 75 กก. ส่วนสูง: 150ซม. ดัชนีมวลกาย : 33.33 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
16 เมษายน 2562 15:23:42 #2 ปอดบวมน้ำ(Pulmonary edema) คือภาวะผิดปกติที่เกิดจากมีสารน้ำ/ของเหลวจากในหลอดเลือดของปอดไหลซึมออกจากหลอดเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อปอดก่อให้เกิดมีน้ำคั่งในเนื้อเยื่อปอดโดยเฉพาะในถุงลมจึงส่งผลให้ถุงลมไม่สามารถบรรจุอากาศที่หายใจเข้าไปได้(เพราะมีน้ำมาแทนที่) ปอด/ถุงลมจึงไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนในอากาศกับคาร์บอนไดออกไซด์ในหลอดเลือดปอดได้เซลล์ต่างๆทั่วร่างกายรวมทั้งเซลล์ของปอดหัวใจและหลอดเลือดต่างๆจึงขาดอากาศ/ขาดออกซิเจนส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อยหอบและตัวเขียวคล้ำซึ่งถ้าให้การรักษาไม่ทันจะส่งผลให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตในที่สุดได้ ปอดบวมน้ำเป็นภาวะที่พบบ่อยมักเกิดตามหลังภาวะหัวใจล้มเหลวหรือภาวะปอดติดเชื้อรุนแรง(โรคปอดบวม) โดยพบได้ในทั้ง2 เพศและในทุกอายุตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุแต่จะพบได้สูงขึ้นในผู้สูงอายุสาเหตุจากโรคหัวใจ กลไกการเกิดปอดบวมน้ำเกิดได้2 วิธีหลักคือ 1.จากมีภาวะหัวใจล้มเหลวเรียกว่าCardiogenic pulmonary edema ปอดบวมน้ำจากภาวะหัวใจล้มเหลวภาวะหัวใจล้มเหลวจะส่งผลให้หัวใจโดยเฉพาะห้องล่างซ้ายไม่สามารถบีบตัวส่งเลือดออกจากหัวใจเข้าท่อเลือดแดงใหญ่เพื่อไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกายได้(อ่านเพิ่มเติมในบทความหัวใจ:กายวิภาคหัวใจ) ส่งผลให้เกิดเลือดคั่งในหัวใจเลือดจากปอดจึงไม่สามารถกลับคืนเข้าสู่หัวใจได้จึงเกิดเลือดคั่งในปอดและมีความดันในหลอดเลือดปอดสูงขึ้นการที่มีความดันในหลอดเลือดปอดสูงขึ้นจะเพิ่มแรงดันให้สารน้ำหรือของเหลวในหลอดเลือดปอดไหลซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อปอดโดยเฉพาะในถุงลมจึงส่งผลให้ถุงลมแลกเปลี่ยนอากาศไม่ได้ร่างกายจึงเกิดภาวะขาดออกซิเจน(Hypoxia) ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายสร้างสารที่กระตุ้นให้หลอดเลือดต่างๆรวมทั้งหลอดเลือดปอดหดตัวความดันในหลอดเลือดต่างๆจึงสูงยิ่งขึ้นรวมทั้งในหลอดเลือดปอดน้ำในหลอดเลือดปอดจึงไหลซึมออกมามากขึ้นเกิดภาวะน้ำท่วมปอดวนเวียนเป็นวงจรไม่รู้จบ 2.จากภาวะผนังหลอดเลือดฝอยของถุงลมเกิดความผิดปกติยอมให้สารน้ำหรือของเหลวในหลอดเลือดซึมผ่านออกจากหลอดเลือด(Increased permeability) เข้าสู่เนื้อเยื่อข้างเคียงซึ่งคือเนื้อเยื่อปอดโดยเฉพาะเข้าไปในถุงลมเรียกว่าNoncardiogenic pulmonary edema) ปอดบวมน้ำจากความผิดปกติของผนังหลอดเลือดฝอยของถุงลมโดยผนังหลอดเลือดฝอยที่ในภาวะปกติจะไม่ยอมให้มีของเหลวผ่านออกจากผนังหลอดเลือดเกิดมีความผิดปกติขึ้นจนส่งผลให้ของเหลวในหลอดเลือดฝอย(ส่วนใหญ่จะเป็นโปรตีน) ไหลซึมเข้าไปอยู่ในถุงลมส่งผลให้อากาศไม่สามารถเข้าไปในถุงลมได้ถุงลมจึงไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศได้จึงเกิดภาวะขาดออกซิเจนของเซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย อาการจากปอดบวมน้ำจากทั้ง2 กลไกและทุกสาเหตุจะมีอาการเหมือนกันโดยอาการที่พบได้บ่อยคือ อาการหายใจลำบาก/เหนื่อยหอบโดยเฉพาะเมื่อต้องออกแรง/ใช้แรง นอนราบจะหายใจลำบากมากขึ้นต้องนั่งหรือนอนเอนตัว บวมเท้ามือและ/หรือท้อง(ท้องมาน) คลื่นไส้อาเจียน สับสนกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ความดันโลหิตต่ำ ตับโตอาจมีม้ามโตคลำได้(ภาวะปกติจะคลำไม่ได้) หลอดเลือดดำที่คอโป่งพองมองเห็นได้ชัดเจน ตรวจฟังเสียงปอดหายใจจะผิดปกติ(Rales) มีการทำงานของไตผิดปกติร่วมด้วย อาจมีไข้สูงเมื่อมีการติดเชื้อร่วมด้วย การรักษาปอดบวมน้ำคือการรักษาสาเหตุและการรักษาประคับประคองตามอาการ การรักษาสาเหตุเช่นการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวหรือการให้ยาปฏิชีวนะเมื่อเกิดจากภาวะปอดติดเชื้อเป็นต้นทั้งนี้รวมถึงการให้ยาขยายหลอดลมการสูดดมออกซิเจนด้วยการควบคุมแรงดันของออกซิเจนและการให้ยากระตุ้นการเต้นของหัวใจเป็นต้น การรักษาประคับประคองตามอาการเช่นการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเมื่อผู้ป่วยกินไม่ได้หรือการให้ยาขับน้ำเมื่อมีอาการบวมเป็นต้น การดูแลตนเองที่สำคัญที่สุดคือเมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบไปโรงพยาบาลทั้งนี้ภาวะปอดบวมน้ำมักเป็นการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่อเมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นแพทย์รักษาปอดบวมน้ำได้แล้วแพทย์จึงจะอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับไปดูแลตนเองที่บ้าน การดูแลตนเองเมื่อกลับบ้านแล้วคือ ปฏิบัติตามแพทย์พยาบาลแนะนำอย่างถูกต้องเคร่งครัด กินยาต่างๆให้ครบถ้วนถูกต้องไม่ขาดยา พักผ่อนให้เต็มที่ งดบุหรี่ไม่สูบบุหรี่ งดอาหารเค็ม รักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ พบแพทย์ตามนัดเสมอ พบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิมหรือเมื่ออาการต่างๆเลวลงหรือเมื่อกังวลในอาการ |
Yama*****a