กระดานสุขภาพ

ผิดปกติไหมค่ะ
Anonymous

2 เมษายน 2562 14:26:04 #1

ลูกอายุ 1 ขวบ 1 เดือน ยังกินนมแม่อย่างเดียวไม่ได้กินนมผง น้ำหนักแม่ลดเยอะจากก่อนท้อง 52 กิโล ก่อน คลอด 68.4 กิโล หลังคลอด 7 เดือน น้ำหนัก 58-59 กิโล ตอนนี้น้อง 1 ขวบ1 เดือน น้ำหนักแม่เหลือ 46 กิโล แม่ ทานข้าวไม่เป็นเวลาบางวันแทบไม่ได้ทานเลยค่ะและไม่ได้ทำงานข้างนอกค่ะ แต่งานบ้านทุกอย่างทำเองหมดค่ะ น้องกินนมจากเต้าไม่ได้ปั้มค่ะ
อายุ: 31 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 46 กก. ส่วนสูง: 158ซม. ดัชนีมวลกาย : 18.43 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

6 เมษายน 2562 09:32:54 #2

ผอมลง หรือน้ำหนักลด/น้ำหนักตัวลด (Weight loss) ในทางการแพทย์หมายถึง การลดลงของเนื้อเยื่อในร่างกายส่วนใหญ่คือ เนื้อเยื่อเกี่ยวพันเช่น ไขมัน กล้ามเนื้อ และความหนาแน่นกระดูก ทั้งนี้อาจเกิดโดยไม่ได้ตั้งใจ (Unintentional weight loss) กล่าวคือ เกิดจากโรค หรือเกิดจากการตั้งใจ (Intentional weight loss) ซึ่งคือ การลดน้ำหนัก การอดอาหาร หรือกินยาเพื่อการลดน้ำหนัก

โรคที่เป็นสาเหตุให้ผอมลงหรือน้ำหนักลด มีได้หลากหลายโรค ทั้งโรคที่เกิดจากการติดเชื้อและโรคหรือภาวะที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โดยสาเหตุที่ทำให้ผอมลงมักเกิดจากอาการของโรคนั้นๆ โดยอาการสำคัญที่ทำให้ผอมลงคือ การเบื่ออาหาร อาการคลื่นไส้ อาการท้อง เสียเรื้อรัง และบางครั้งแพทย์หาอาการที่เป็นต้นเหตุไม่ได้

โรคติดเชื้อที่มักพบเป็นสาเหตุให้ผอมลง/น้ำหนักลดได้แก่ โรคติดเชื้อเฉียบพลันชนิดที่รุนแรงต่างๆเช่น โรคไทฟอยด์ และไข้หวัดใหญ่ชนิดที่รุนแรง และโรคติดเชื้อเรื้อรังต่างๆเช่น วัณโรค โรคเอดส์

โรคหรือภาวะที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อเช่น โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจวาย โรคขาดอาหาร โรคท้องเสียเรื้อรัง โรคแผลร้อนใน โรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง โรคมะเร็ง ปัญหาด้านอารมณ์/จิตใจเช่น ความเครียดและอาการซึมเศร้า และผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารและ/หรือคลื่นไส้เช่น ยาต้านไวรัสในโรคเอดส์ หรือยาไทรอยด์ฮอร์โมนที่ใช้รักษาโรคของต่อมไทรอยด์

การผอมลงอาจเกิดเพียงอาการเดียวหรือเกิดร่วมกับอาการอื่นๆก็ได้เช่น มีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ หรือท้องเสียเรื้อรัง

ถ้าผอมลงโดยที่ไม่รู้สาเหตุคือ น้ำหนักลดลงมากกว่าปกติ 5% ในระยะเวลา 6 เดือน โดยไม่ได้เกิดจากมีโรคและไม่ได้ตั้งใจอดอาหาร ทางการแพทย์จัดว่าเป็นอาการผิดปกติที่ควรพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล เพื่อหาสาเหตุ