กระดานสุขภาพ
ต่อมลูกหมากอักเสบ | |
---|---|
22 มีนาคม 2562 13:35:37 #1 สวัสดีครับ |
|
อายุ: 37 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 67 กก. ส่วนสูง: 170ซม. ดัชนีมวลกาย : 23.18 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
26 มีนาคม 2562 16:46:11 #2 การอักเสบของต่อมลูกหมาก (Prostatitis) ต่อมลูกหมากอักเสบ เป็นการอักเสบหรือการติดเชื้อของต่อมลูกหมาก จะพบการเพิ่มขึ้นของจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่เป็นภูมิของร่างกายในเนื้อเยื่อต่อมลูกหมาก การอักเสบของต่อมลูกหมากอาจพบได้ในผู้ป่วยต่อมลูกหมากอักเสบ ต่อมลูกหมากโตหรือมะเร็งต่อมลูกหมากได้ สาเหตุจากการติดเชื้อ การติดเชื้อส่วนใหญ่จะเป็น Escherichia coli, Enterobacter, Serratia, Pseudomonas, Enterococcus, and Proteus species ในกลุ่มที่อาการเรื้อรังเป็นๆหายๆ อาจจะพบเชื้อ C trachomatis, Ureaplasma species, Trichomonas vaginalis ได้ ในกลุ่มผู้ป่วยอายุไม่มากเช่น อายุน้อยกว่า 35 ปี อาจจะมีสาเหตุจาก Neisseria gonorrhoeae and Chlamydia trachomatis ได้ ส่วนเชื้อที่พบได้แต่ไม่บ่อยนัก เช่น M tuberculosis and Coccidioides, Histoplasma, and Candida species เชื้อที่พบอื่นๆ เช่น Human immunodeficiency virus Cytomegalovirus Sarcoidosis การติดเชื้อของต่อมลูกหมาก มีสาเหตุมาจาก 1. เชื้อที่มาจากท่อปัสสาวะ 2. ปัสสาวะที่มีเชื้อแล้วค้างในท่อนำต่อมลูกหมาก 3. เชื้อที่มาจากทวารหนัก 4. เชื้อที่มาทางกระแสเลือด ชนิดของต่อมลูกหมากอักเสบ Category I: Acute Bacterial Prostatitis กลุ่มนี้มีสาเหตุจากการติดเชื้อ พบได้น้อยแต่มีความสำคัญ มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ อาการแสดงแบบปวดทันที และมีอาการระคายกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยมักมีอาการปัสสาวะบ่อย เร่งรีบและแสบขัด อาการปัสสาวะลำบาก เบ่งหรือมีปัญหาปัสสาวะไม่ออก อาการปวดเหนือหัวหน่าวหรือฝีเย็บ อาการอื่นที่บ่งบอกว่ามีการติดเชื้อในร่างกายด้วยเช่นไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเอว หรือความดันต่ำ อาการสำคัญ ไข้ หนาวสั่น เพลีย ปวดข้อ ปวดตามตัว ปวดฝีเย็บ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ลำบาก เบ่งนาน เร่งรีบ ไม่พุ่ง ไม่สุด ปวดหลัง เอว ปวดท้องน้อย มีของเหลวออกมาจากท่อปัสสาวะ Category II: Chronic Bacterial Prostatitis ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะและมีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะเป็นๆหายๆ เรื้อรัง และจะมีอาการกลุ่มแรกมาแทรกเป็นบางครั้ง หรืออาจจะมีอาการเหมือนในกลุ่มที่ 3 Category III: Chronic Pelvic Pain Syndrome อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะบริเวณฝีเย็บ หัวหน่าวและองคชาติ บางครั้งอาจปวดอัณทะ ขาหนีบหรือเอวได้ อาการปวดขณะมีการหลั่งน้ำอสุจิมักเป็นอาการสำคัญที่พบในผู้ป่วยกลุ่มนี้ อาการสำคัญ อาการปวดบริเวณฝีเย็บ หัวหน่าวและองคชาติเรื้อรัง ปัสสาวะแสบขัด ลำบากเป็นๆ หายๆ มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นๆหายๆ Category IV: Asymptomatic Inflammatory Prostatitis กลุ่มนี้จะไม่มีอาการข้างต้น ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจจะมาด้วยอาการของต่อมลูกหมากโต ตรวจพบค่า PSA สูง ตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากหรือมาด้วยปัญหาการมีบุตรยาก การตรวจวินิจฉัย แพทย์จะอาศัยการตรวจร่างกายทั่วๆไป ตรวจหน้าท้อง การตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก สามารถช่วยในการวินิจฉัยต่อมลูกหมากอักเสบได้ นอกจากนี้มีการตรวจปัสสาวะ การนวดต่อมลูกหมากเพื่อนำสิ่งคัดหลั่งมาตรวจแยกสาเหตุการติดเชื้อที่ต่อมลูกหมาก การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะในกรณีที่ตรวจพบปัสสาวะเป็นเลือดหรือบ่งบอกว่าน่าจะมีภาวะเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ การทำอัลตราซาวน์ต่อมลูกหมากทางทวารหนักและการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก ยังไม่มีความจำเป็นในการตรวจรักษาผู้ป่วยต่อมลูกหมากอัสเสบ แต่จะพิจารณาทำในบางกรณี เช่นตรวจหาสาเหตุและรักษาตามมาตรฐานแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีความสงสัยอื่นๆ การรักษา การใช้ยารักษา Antimicrobial therapy การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสิ่งสำคัญในการรักษากลุ่มต่อมลูกหมากอักเสบจากการติดเชื้อทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยเฉาพะยาในกลุ่ม fluoroquinolones ช่วยในการรักษาจากการติดเชื้อ E.coli และ Enterobacteriaceae ระยะเวลาการรักษาประมาณ 2 ถึง 4 สัปดาห์ α-Adrenergic Blocker Therapy ยากลุ่มนี้ช่วยลดอาการเกี่ยวกับปัสสาวะผิดปกติของผู้ป่วยได้ เช่น ปัสสาวะลำบาก ต้องเบ่ง ไม่พุ่ง ไม่สุด ยาจะช่วยคลายการทำงานที่ต่อมลูกหมากและคอกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะได้คล่องขึ้น Anti-inflammatory Agents and Immune Modulators การใช้ Nonsteroidal anti-inflammatory drugs ช่วยลดกระบวนการอักเสบของต่อมลูกหมาก ช่วยให้อาการปัสสาวะผิดปกติ และอาการปวดฝีเย็บ ปวดท้องน้อยดีขึ้น Muscle Relaxants การใช้ยาในกลุ่มคลายกล้ามเนื้อ พบว่าการใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับยากลุ่มอื่นๆ หรือการบำบัดทางกายภาพช่วยลดอาการต่อมลูกหมากอักเสบได้ดีขึ้น Hormone Therapy การใช้ยา Anti-androgen และ 5α-reductase inhibitors เพื่อยับยั้งการแบ่งเพิ่มของต่อมลูกหมาก พบว่าสามารถช่วยลดอาการได้ แต่แนะนำเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะต่อมลูกหมากโต ที่ต้องกินยากลุ่มนี้อยู่แล้ว การใช้ยาอื่นๆ เช่นPhytotherapeutic Agents หรือ Allopurinol พบว่าสามารถช่วยลดอาการได้ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย การรักษาโดยไม่ใช้ยา การนวดต่อมลูกหมาก การรักษาด้วยวิธีนี้เชื่อว่าทำให้มีการระบายของเหลวในต่อมลูกหมาก มีการพิจารณานำมาใช้บางกรณีเช่น รักษาด้วยยาหรือหลายวิธีแล้วไม่ดีขึ้น หรือเพื่อช่วยให้ยาสามารถเข้าถึงต่อมลูกหมากได้ดีขึ้น การคลายกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวด การคลายกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดโดยวิธีการต่างๆสามารถช่วยให้อาการปวดบริเวณเหนือหัวหน่าว ปวดฝีเย็บดีขึ้น การคลายกล้ามเนื้อดังกล่าวมีหลายวิธีทั้งการนวด กดดึงหรือยืด การใช้ยาฉีด การใช้เข็มเจาะ การใช้เครื่องไฟฟ้าต่างๆ นอกจากนี้การบริหารเช่น โยฆะ ก็สามารถช่วยลดอาการได้ การรักษาด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดต่อมลูกหมาก สามารถช่วยรักษาอาการต่อมลูกหมากอักเสบ บางกรณีได้ เช่น ต่อมลูกหมากโต การติดเชื้อเป็นๆหายๆ จากต่อมลูกหมาก หรืออาการที่มีสาเหตุมาจากพยาธิสภาพที่ต่อมลูกหมากโดยตรง การพิจารณาผ่าตัดแพทย์จะทำเฉพาะกรณีที่มีสาเหตุและข้อบ่งชี้ชัดเจน และคิดว่าจะมีประโยชน์จากการผ่าตัด |
Oon3*****5