กระดานสุขภาพ
ปรึกษาค่ะ | |
---|---|
27 กุมภาพันธ์ 2562 02:09:08 #1 สวัสดีค่ะหนูเป็นปัสสาวะบ่อย หาหมอเฉพาะหาสาเหตุยังไม่ได้แต่บอกว่าน่าจะเป็นกระเพาะปัสสาวะบีบตัวเร็วเกิน ตอนนี้ก็ยังรักษาอยู่ค่ะ ล่าสุดไปตามนัดคุณหมอบอกว่าดีขึ้นแต่ยังไม่หาย คุณหมอเลยให้ยาอะมิทริปไทลิน 25gm คุณหมอบอกแค่ว่าเป็นยานอนหลับ กินแล้วจะไม่ติด หนูเลยหาข้อมูลดูมันเป็นกลุ่มโรคซึมเศร้า อยากทราบว่าทานแล้วจะติดไหมคะ ปกติเป็นคนนอนหลับอยู่แล้ว ช่วงกลางคืนก็นอนหลับปกติ ถ้ารู้สึกตัวจะลุกขึ้นมาปัสสาวะ1ครั้ง ถ้าไม่รู้สึกก็นอนยาวจนเช้าเลย |
|
อายุ: 20 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 44 กก. ส่วนสูง: 158ซม. ดัชนีมวลกาย : 17.63 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
28 กุมภาพันธ์ 2562 17:17:29 #2 การรักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ที่ได้ผลดีที่สุดอาจจำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น งดหรือลดเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนซึ่งมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ดื่มมากเกินไป งดหรือลดปริมาณน้ำดื่มในช่วงเวลา 3-4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน ฝึกกลั้นปัสสาวะให้นานขึ้นทีละน้อย เพื่อยืดเวลาระหว่างการเข้าห้องน้ำแต่ละครั้งให้กลับมาอยู่ในช่วงที่เหมาะสม ปัสสาวะซ้ำ 2 ครั้งเพื่อให้ปัสสาวะเหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะน้อยที่สุด ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินค่ามาตรฐาน เนื่องจากพบอุบัติการณ์ณ์ที่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (ขมิบ) โดยพบว่าการหดรัดกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานสามารถต่อต้านสัญญาณที่ส่งจากกล้ามเนื้อปัสสาวะที่เกิดโดยฉับพลันให้เบาลงได้ การรักษาด้วยยารับประทาน แพทย์อาจสั่งจ่ายยาเพื่อลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งได้แก่ยาในกลุ่ม antimuscarinics และ beta3-adrenoceptor agonist ซึ่งสามารถให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตาม ยาทั้งสองกลุ่มมีผลข้างเคียงที่ต่างกัน เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก จากยากลุ่ม antimuscarinics และมีข้อห้ามในผู้ป่วยโรคต้อหินชนิดมุมปิดเนื่องจากจะทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น หรือ ยาในกลุ่ม beta3-adrenoceptor agonist ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ยังคุมได้ไม่ดี เป็นต้น การฉีดยา botulinum toxin หรือโบท็อกซ์เข้ากล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะโดยการส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะ เพื่อให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะคลายตัวและอาการปวดปัสสาวะฉับพลันลดลง โดยยาจะให้ผลการรักษาประมาณ 5-9 เดือน จากนั้นอาจต้องฉีดซ้ำหากจำเป็น วิธีนี้สามารถพิจารณาในผู้ป่วยที่ทานยาไม่ได้ผล หรือต้องการลดผลข้างเคียงจากการใช้ยารับประทาน แต่การฉีดโบทอกซ์อาจมีผลข้างเคียงที่พบได้ไม่บ่อย คือทำให้เกิดอาการปัสสาวะไม่ออกได้เช่นกัน การปรับสมดุลระบบประสาทควบคุมกระเพาะปัสสาวะ (Neuromodulation) โดยการฝังเข็มหรือแผ่นแปะเพื่อส่งกระแสไฟฟ้า หรือการผ่าตัดฝังอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ในร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้เส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะกลับมาทำงานเป็นปกติ การผ่าตัดขยายกระเพาะปัสสาวะ เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะสามารถกักเก็บปัสสาวะได้ดีขึ้นและลดความดันในกระเพาะปัสสาวะลง โดยแพทย์จะใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้เล็กมาเย็บต่อเข้ากับกระเพาะปัสสาวะเพื่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งการรักษาวิธีนี้มีผลข้างเคียงคือ ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องสวนปัสสาวะเป็นระยะ เนื่องจากปัสสาวะออกเองได้ไม่หมด เนื่องจากกลไกการบีบตัวของทางเดินอาหารมีความแตกต่างจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีโอกาสติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้นได้ |
Anonymous