กระดานสุขภาพ
สอบถามเกี่ยวกับระดับคลอเลสเตอรอล | |
---|---|
8 กุมภาพันธ์ 2562 12:30:42 #1 ผมอยากจะสอบถามคุณหมอเกี่ยวกับระดับไขมันจากที่ผมได้เข้ารับการตรวจเลือดจากแลปเอกชนมา ดังนี้ - ระดับน้ำตาล 102 - Total Chol* 244 - Trig* 70 - HDL 68 - LDL 132 จากผลที่ออกมานี้ผมควรจะต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อรับการรักษาระดับไขมันด้วยยามั้ย ซึ่งปกติผมจะตรวจวัดระดับไขมันและน้ำตาลทุกปีและผลระดับไขมันก็จะอยู่ประมาณนี้มาหลายปีแล้วทั้งๆที่ผมออกกำลังกายโดย วิ่งหรือปั่นจักรยานวันละประมาณ 30 นาทีแทบทุกวัน ตัวผมไม่มีโรคประจำตัวอย่างอื่นความดันปกติไม่เคยเกิน 130 ครับ |
|
อายุ: 47 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 62 กก. ส่วนสูง: 172ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.96 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
13 กุมภาพันธ์ 2562 19:14:22 #2 ไขมันในเลือดสูงมีหลายชนิด แต่ที่คนเรามักรู้จักและคุ้นหูคือ โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ และ แอล ดี แอล โคเลสเตอรรอล เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล ไขมันชนิดที่ไม่ดี ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ และ แอลดี แอล โคเลสเตอรอล ส่วนเอช ดี แอล โคเลสเตอรอล เป็น ไขมันชนิดที่ดี ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยทั่วไปการตรวจระดับไขมันในเลือดจะมีค่าที่รายงานเป็น 3 ชนิด คือ โคเลสเตอรอล (Cholesterol)ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) และ เอช ดี แอล หากตรวจพบ โคเลสเตอรอลในเลือดสูง อาจเกิดจาก Lipoprotein ที่สูงได้ 2 ชนิด 1.ชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) หรือไขมันชนิดที่ไม่ดี เป็นชนิดอันตรายเพราะเป็นโคเลสเตอรอลที่ไปสะสมในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง 2.ชนิดความหนาแน่นสูง (HDL)หรือไขมันชนิดที่ดี ทำหน้าที่ขจัดไขมันอันตรายไปจากกระแสเลือดต่อต้านการสะสมผิดที่ของไขมันและโคเลสเตอรอล ดังนั้น ถ้าพบว่าโคเลสเตอรอลสูงจะต้องแยกว่าตัวที่สูงเป็นผู้ร้าย (LDL) หรือผู้พิทักษ์ (HDL) ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) ถ้าไตรกลีเซอร์ไรด์มีปริมาณสูง ก็จะต้องควบคุมอาหารโดยควบคุมน้ำหนักตัว ลดของหวาน และแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มการใช้พลังงานและช่วยในการทำงานของหัวใจ เมื่อออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ถูกวิธี และสม่ำเสมอแล้ว ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ มักจะลดลง และสามารถเพิ่มปริมาณไขมันผู้พิทักษ์ได้ ทั้งนี้ ระดับไขมันในร่างกายที่ปกติมีค่าดังนี้ โคเลสเตอรรอล ต่ำกว่า 200 มก./ดล. ไตรกลีเซอร์ไรด์ ต่ำกว่า 200 มก./ดล. และเอช ดี แอช โคเลสเตอรอลสูงกว่า 35 มก./ดล. ไขมันได้จากไหน ทั้งโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ เป็นไขมันที่ร่างกายได้มาจาก 2 ทาง คือ จากอาหารที่รับประทาน และจากการสร้างขึ้นเองในร่างกาย อาหาร อาหารจากพืชจะไม่มีโคเลสเตอรรอล แต่อาหารที่มาจากเนื้อสัตว์จะมีโคเลสเตอรรอลมากน้อยแตกต่างกัน ที่มีมาก ได้แก่ เครื่องในต่าง ๆ ไข่แดง นม เนย เนื้อติดมัน หนังสัตว์ และสัตว์ที่มีกระดอง เช่น กุ้ง หอย ปลาหมึก ปู ส่วนไตรกลีเซอร์ไรด์จะได้จากน้ำมันและไขมันของอาหารทุกชนิด การสร้างขึ้นเองในร่างกาย โคเลสเตอรอลที่ร่างกายสร้างขึ้นเองโดยการเผาผลาญอาหารพวกแป้ง น้ำตาล ไขมัน และเนื้อสัตว์ อวัยวะที่ทำหน้าที่สร้างโคเลสเตอรอล คือ ตับ สารอาหารที่จะกระตุ้นการสร้างโคเลสเตอรอล ได้แก่ ไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว กะทิ ส่วนไตรกลีเซอร์ไรด์มีทั้งที่ได้จากอาหาร และถูกสร้างขึ้นโดยตับเช่นเดียวกัน โดยจะถูกกระตุ้นให้สร้างมากขึ้นโดย แอลกอฮอล์ น้ำตาล และพลังงานที่ได้รับมากเกินไป สาเหตุไขมันในเลือดสูง 1. ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ 2. โรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ขาดฮอร์โมนจากต่อมธัยรอยด์ 3. จากยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ สเตียรอยด์ 4. การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ 5. การดื่มสุราเป็นประจำ อันตรายที่เกิดขึ้น 1. โรคหัวใจขาดเลือด ทำให้มีอาการแน่นหน้าอก โดยเฉพาะขณะออกกำลังกาย 2. อัมพาต แขนขาไม่มีแรงข้างใดข้างหนึ่ง 3. เส้นเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่พอ โดยเฉพาะบริเวณขาทำให้เดินแล้วปวดน่อง ไขมันผู้พิทักษ์ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล เป็นไขมันตัวสำคัญในการป้องกันหลอดเลือดแข็ง ผู้ที่มีระดับ เอช ดี แอลต่ำ มีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด การทำให้เอช ดี แอลเพิ่มมากขึ้นโดยออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน งดสูบบุหรี่ งดขนมหวาน ข้อควรปฏิบัติ 1. จำกัดอาหาร และเลือกรับประทานให้เหมาะสม โดยลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และ/หรือโคเลสเตอรอล ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ สัตว์ที่มีกระดองแข็ง เช่น หอยนางรม ปู ปลาหมึก น้ำมันมะพร้าว กะทิ เป็นต้น รับประทานกรดไลโนเลอิก เช่น น้ำมันพืช ที่ทำจากข้าวโพดหรือถั่วเหลือง ซึ่งกรดนี้จะช่วยลดการสร้างโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ในร่างกาย 2. งดสุรา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และงดบุหรี่ 3. ออกกำลังกายให้เป็นประจำ 4. ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน 5. กินผัก ธัญพืชให้มากขึ้น |
Korn*****3