กระดานสุขภาพ

ขอคำแนะนำเรื่องการทานอาหารของคนแก่ที่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบค่ะ
FaiS*****s

21 มกราคม 2562 04:38:02 #1

สวัสดีค่ะคุณหมอ อยากจะปรึกษาเรื่องของคุณปู่ค่ะ (แกอายุ 82 ปี)

- ตอนนี้คุณปู่ เส้นเลือดหัวใจตีบ 3 เส้นค่ะ
แล้วก็มีก้อนเนื้อที่ปอดค่ะ (ซึ่งตอนนี้เริ่มโตขึ้น จากแพทย์ที่ไปพบมา แพทย์บอกว่า ดูไม่ค่อยดีค่ะ)
- ทางที่บ้านตัดสินใจว่าจะรักษาต่อไปด้วยยาค่ะ

ขอเรียนปรึกษาค่ะ

- ถ้าเลือกรักษาแบบนี้ คุณปู่ ต้องกินอาหารแบบไหน ต้องงดอาหารอะไรไหมคะ และจะขอคำแนะนำจากคุณหมอว่า จะต้องวางแผนเรื่องการดูแลแกต่อไปยังไงคะ (เช่น ต้องเตรียมพวกอ๊อกซิเจนไว้ไหมคะ)

 

ปล.ที่ไม่เลือกรับผ่าตัดเพราะติดตรงที่ปอดค่ะ และประเมินแล้วร่างกายคุณปู่ดูไม่ค่อยไหวค่ะ อีกอย่างตอนนี้แกจำอะไรไม่ได้ แล้วก็ลืมๆ หมดแล้วค่ะ

หนูขอคำแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ

อายุ: 82 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 50 กก. ส่วนสูง: 160ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.53 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

22 มกราคม 2562 18:22:50 #2

หลักในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพหัวใจ

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันชนิดอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง รวมถึงอาหารที่มีไขมันทรานส์ด้วย

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

  • อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ทุกชนิด อาหารทะเล (ยกเว้นเนื้อปลา) นมสด ไอศกรีม ชีส เนย น้ำมัน จากสัตว์ เป็นต้น
  • อาหารที่มีไขมันชนิดอิ่มตัว (รับประทานได้ไม่เกิน 10% หรือน้อยกว่าจากพลังงานที่ควรได้รับตลอดวัน) เช่น ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ อาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันสัตว์ (เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ)น้ำมันจากสัตว์ (เช่น น้ำมันหมู น้ำมันไก่)น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม
  • อาหารที่มีไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน ทำให้คุณสมบัติของไขมันเปลี่ยนแปลงไป มักพบในครีมเทียมเนยเทียม เนยขาว ขนมกรุบกรอบ คุกกี้ เค้กและอาหารทอดที่ใช้น้ำมันทอดซำ้

อาหารที่สามารถรับประทานได้

  • เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันและหนัง

ปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาทูน่า ปลาแซลมอน

ปลาซาร์ดีน เป็นต้น (แนะนำให้รับประทานอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพราะน้ำมันจากปลาทะเลช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดและช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้

น้ำมันจากพืช (ใช้ในปริมาณน้อยๆ) เช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวันน้ำมันงา น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอยน้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันถั่วลิสง เป็นต้น

  • จำกัดปริมาณโซเดียมด้วยการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด เพราะอาหารที่มีปริมาณโซเดียมมากจะทำให้ความดันโลหิตสูง

ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่นำไปสู่โรคหัวใจ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจควรจำกัดการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมวันละ 3,000 มิลลิกรัมหรือน้อยกว่า (เกลือ 1 ช้อนชา=โซเดียม 2,000 มิลลิกรัม) และไม่ควรเติมหรือปรุงรสอาหารขณะรับประทาน หากต้องการเพิ่มรสชาติอาจใช้เครื่องเทศ เช่น ตะไคร้ พริกไทย ใบมะกรูด หรือเพิ่มรสเปรี้ยวจากมะนาว

  • เพิ่มปริมาณใยอาหาร ด้วยการรับประทานผัก ผลไม้ ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าว ขนมปังที่ไม่ผ่านการขัดสี และธัญพืชต่างๆ โดยในแต่ละวันร่างกายต้องการใยอาหารอย่างน้อย 25 กรัม ทั้งนี้ใยอาหารแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
    • ใยอาหารชนิดละลายน้ำ พบในธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ต รำข้าว ถั่วเมล็ดแห้ง ผัก ผลไม้ ใยอาหารชนิดนี้จะช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
    • ใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ พบในธัญพืชและขนมปังที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ถั่วเปลือกแข็ง ผักและผลไม้บางชนิด ใยอาหารชนิดนี้จะดูดซึมน้ำไว้ช่วยให้การทำงานของระบบลำไส้และการย่อยอาหารมีประสิทธิภาพ

ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีใยอาหารทั้ง 2 ชนิด ด้วยการรับประทานอาหารให้หลากหลายประเภทในปริมาณที่เหมาะสม

  • หลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลหรือน้ำตาลฟรุกโตส เพราะจะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มขึ้นและได้รับพลังงานเกิน ถ้าต้องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ควรเกินวันละ 2 แก้วมาตรฐาน (1 แก้วมาตรฐาน=เบียร์ 285 มล., ไวน์ 120 มล.)
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสม เช่น ชา กาแฟ ไม่เกินวันละ 2 - 3 แก้ว
  • รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) อาจสามารถป้องกันและต่อต้านการเกิดโรคหัวใจได้ ซึ่งแหล่งสำคัญของอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งได้จาก ผักผลไม้ต่างๆ
FaiS*****s

23 มกราคม 2562 04:50:56 #3

ขอบคุณค่ะ