กระดานสุขภาพ

ยืนนานๆแล้วปวดที่เท้ากับหัวแม่เท้า ปวดหลังมาก ที่นิ้วโป้งเท้ามีจุดดำ
Opal*****8

11 ธันวาคม 2561 16:41:15 #1

ตามหัวข้อเลยคะ คืออายุ 20 ยืนทำงาน 7-8 ชั่วโมง แล้วปวดเท้า ปวดนิ้วโป้งเท้าแล้วก็ปวดหลังมากๆคะ ที่นิ้วเท้ามีจุดดำที่เล็บคะ ทำงานมาได้ 6 วันคะปวดหลังกับเท้าตั้งแต่วันแรก พอถึงวันนี้ถึงมีจุดสีดำที่เล็บคะ อยากทราบว่ามันเป็นอะไร ควรเลิกทำงานก่อนมั้ย รักษายังไงตะ
อายุ: 20 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 48 กก. ส่วนสูง: 151ซม. ดัชนีมวลกาย : 21.05 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

18 ธันวาคม 2561 07:30:58 #2

กล้ามเนื้อลายเป็นอวัยวะที่หนักถึง 40 % ของน้ำหนักตัว และมีถึง 696 มัด ซึ่งต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงพบว่า ประชากรโดยทั่วไป

ประมาณ 30 % ขึ้นไปมีอาการปวดที่มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อ เป็นอาการปวดที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ในการทำงานทำกิจกรรมต่าง ๆ

อาการปวดจากกล้ามเนื้อ จะมีลักษณะได้หลายแบบ เช่น ปวดมากจนขยับร่างกายส่วนนั้นๆ ไม่ได้เลย ปวดหนักๆ ปวดเสียว ปวดเมื่อยล้าง่าย

ปวดตึง ปวดหรือเสียวแปล๊บเมื่อเอื้อมแขนหรือยกแขนในบางอิริยาบถ ปวดเมื่อเอี้ยวตัว เช่น เอื้อมหยิบของที่อยู่สูง เอี้ยวหยิบของไกลตัว เป็นต้น

อาการปวดดังกล่าวอาจไม่ได้เกิดตลอดเวลา อาจเกิดบางครั้งบางคราว เป็นๆ หายๆ ปวดเวลาใดก็ได้ เช่น เช้าตื่นขึ้นรู้สึกตึงขยับลำบาก หรือ

เมื่อยล้ามากในช่วงเย็น ในบางคนอาจมีอาการชายิบ ๆ บริเวณที่ปวดร่วมด้วย จนทำให้กลัวว่าจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

สาเหตุ

สาเหตุหรือสิ่งกระตุ้นที่ทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อไหล่มีการหดรั้ง หรือยึดตึง

  • ลักษณะท่าทางที่ผิดปกติ เช่น ไหล่ห่อ ไหล่งุ้ม
  • การเกร็งใช้กล้ามเนื้อมัดนั้นนิ่งอยู่นาน เกินขีดความสามารถ (ความแข็งแรง ทนทาน)ของกล้ามเนื้อนั้นที่จะทนได้ เช่น การนั่งเขียนหนังสือนาน
  • เป็นหลายชั่วโมง นั่งทำงานคอมพิวเตอร์ตลอดวัน เป็นต้น
  • การใช้โต๊ะ เก้าอี้ ที่ไม่เหมาะสม ผิดสัดส่วน โต๊ะสูงหรือเตี้ยเกินไป แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ หรือที่วางเมาส์ วางสูงเกินไป ทำให้ต้องยกไหล่
  • อยู่ตลอดเวลา เอื้อมเกร็งจับเมาส์ที่อยู่ไกล
  • ภาวะ หรือ โรคบางอย่างก็ก่อให้เกิดกล้ามเนื้อยึดตึงกดเจ็บได้ เช่น ต่อมธัยรอยด์ทำงานผิดปกติ ภาวะขาดสารอาหารหรือได้รับไม่เพียงพอ
  • โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดวิตามิน โรคกระดูกก้านคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทของไหล่ข้างนั้นๆ ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • ภาวะหลังผ่าตัดทรวงอก เช่น ผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดปอด
  • ภาวะการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อที่รุนแรงจากอุบัติเหตุ
  • ภาวะความเครียดไม่ว่าจะทางกาย หรือ ใจ
  • จะตรวจพบว่า กล้ามเนื้อที่เป็นสาเหตุของอาการ จะมีจุดกดเจ็บ ซึ่งบางครั้งอาจคลำได้คล้ายก้อน หรือ คล้ายมีเชือกที่ขึงตึงอยู่ในกล้ามเนื้อนั้น

เมื่อกดนิ้วลงที่จุดกดเจ็บอาจเห็นการกระตุกสั้น ๆ ได้ สิ่งที่มักจะตรวจพบร่วมด้วย คือ มีการติดยึด หดรั้ง ขยับเคลื่อนไปในทิศทางต่าง ๆ ได้ไม่สุด

(ในกรณีที่เป็นไม่มาก) เช่น ข้อไหล่ติด หลังแข็งก้มลำบาก เป็นต้น

การรักษา จะต้องทำร่วมกันดังนี้

ในระยะแรกที่ปวดมากมักให้ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย
การคลายจุดกดเจ็บ ซึ่งทำได้หลายวิธี คือ
2.1 การใช้เข็มฉีดยาคลาย อาจจะใช้ยาชาช่วยทำให้ไม่เจ็บขณะทำก็ได้

2.2 การใช้เข็มเล็กบางคลายจุด

2.3 การสเปรย์ด้วยความเย็นพร้อมกับยืดกล้ามเนื้อ

2.4 การนวด เช่น นวดกดจุด นวดคลึง อาจใช้ยานวดร่วมด้วยได้ ผู้ที่มีอาการปวดๆเมื่อยๆแถวหัวไหล่ ให้ลองคลำหาจุดกดเจ็บเอง

ตามรูปที่แสดงไว้ ถ้าเป็นไม่มากให้ลองคลายจุดด้วยการใช้นิ้วหัวแม่มือนวดคลึงตามจุดที่แสดงไว้ในกล้ามเนื้อเหล่านี้

นวดเสร็จแล้วก็บริหารยืดกล้ามเนื้อนั้นๆ จะใช้ประคบผ้าเย็นสัก 20 นาทีก็ได้ จะทานยาพาราเซตามอล(Paracetamol)

สักหน่อยก็ดี น่าจะทำให้ทุเลาได้ไม่น้อย ถ้าไม่แน่ใจจึงจะไปพบแพทย์

2.5 การใช้เครื่องมือและเทคนิคทางกายภาพบำบัด ซึ่งจะได้เห็นตัวอย่างในนิทรรศการ “หลากหลายวิธีคลายปวด” เช่น

ultrasound, laser therapy, TENS เป็นต้น

3. การฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อมัดนั้นๆ มีความยืดหยุ่นที่ดี และเพิ่มความแข็งแรงทนทานต่องานในชีวิตประจำวันต่างๆ ด้วยการบริหารยืด

คลายกล้ามเนื้อ แล้วตามด้วยการบริหารต้านน้ำหนักเมื่ออาการปวดลดลงในเวลาต่อมา (รายละเอียดในบท “การบริหารหัวไหล่”)

4. สิ่งสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ คือ การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขท่าทางอิริยาบถต่างๆ ในชีวิตประจำวันให้ถูกต้องเหมาะสม เช่น

ไม่ควรมีท่าทางไหล่งุ้มหรือห่อไหล่ไปข้างหน้า รวมทั้งเปลี่ยนแปลง หรือ จัดวางเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ รอบตัว

ให้รับกับท่าทางที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเครียดตึงต่อกล้ามเนื้อ ไม่ให้เกิดการบิดใช้กล้ามเนื้อที่ผิดแนว การเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ

เช่น ทุก ๆ 15-20 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อที่หดตัวอยู่ได้ผ่อนคลายออกบ้าง