กระดานสุขภาพ
สะดืออีกเสบ | |
---|---|
27 พฤศจิกายน 2561 06:58:08 #1 ผมเริ่มสะดืออักเสบตอนประมาณม.ปลาย แล้วกลับมาอักเสบครั้งที่2ประมาณ1เดือนที่แล้ว ครั้งที่3กลับมาอีกเสบถัดจากครั้งที่2ไม่ถึงเดือน แต่ละครั้งจะมีน้ำขุ่นๆออกมา มีกลิ่น แต่ครั้งที่3มีเลือดออกมานิดนึง คุณหมอเลยให้ทำซีทีสแกนแล้วก้พบว่าสายสะดือของผมไม่ปิดสนิทลึกลงไป แต่ไม่ได้เชื่อมกับกระเพาะปัสสาวะ ก็ส่งต่อให้คุณหมออีกท่านนึง คุณหมอก็บอกว่าไม่ได้รีบร้ินให้ผ่า แต่เก็บไว้นานๆขะพัฒนาเป็นมะเร็งได้ ผมก้เลยอยากจะผ่าช่วงปิดเทอมประมาณพฤษภาคม แต่หลังจากที่การอักเสบครั้งที่3คุณหมอให้ทานยา แล้วสะดือแห้งแล้ว แต่ตอนนี้กลับมีกลิ่น นั่งอยู่เฉยๆก้ได้กลิ่นสะดือ สอบถามความเห็นครับว่าควรทำอย่าฃไรต่อ |
|
อายุ: 19 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 83 กก. ส่วนสูง: 174ซม. ดัชนีมวลกาย : 27.41 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
27 พฤศจิกายน 2561 15:04:32 #2 สาเหตุของสะดือเหม็น มีกลิ่น หรือ มีของเหลวไหลออกมา โดยปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้มีอาการนี้ ได้แก่ 1.การติดเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากบริเวณสะดือของคนเราจะเป็นจุดที่มีความร้อนและอับชื้น อีกทั้งยังมีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่แล้วหลายชนิด จึงทำให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียมากจนเกิดการติดเชื้อ โดยปัจจัยเสี่ยงที่อาจเพิ่มการติดเชื้อ ได้แก่ การเจาะสะดือ การไม่รักษาความสะอาดบริเวณสะดือ การสะสมของเหงื่อ สบู่ หรือสิ่งตกค้างภายในสะดือ 2.การติดเชื้อรา ส่วนใหญ่การติดเชื้อราที่สะดือมักเกิดจากเชื้อรากลุ่มแคนดิดา (Candida) ซึ่งเป็นราแบบยีสต์ที่มีเซลล์เดียว เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีความร้อนและอับชื้น อย่างตามอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ ตามข้อพับ ขาหนีบ ปาก จมูก และสะดือ เมื่อราเจริญเติบโตมากจนเกินไป อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการบวมแดง มีกลิ่นเหม็น เกิดอาการคัน หรือมีสิ่งสกปรกออกมา 3.โรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการสะดือเหม็นจากการติดเชื้อรา เนื่องจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเชื้อราแบบยีสต์เจริญเติบโตได้จากน้ำตาลเช่นกัน 4.ภาวะปัสสาวะรั่วออกทางสะดือ (Patent Urachus) ตามปกติท่อสะดือที่ต่อระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับสะดือจะปิดลงสนิทหลังเราเกิด แต่ในบางกรณีที่ผู้ป่วยมีท่อสะดือที่เปิดออก จะทำให้เกิดการการรั่วไหลของน้ำปัสสาวะที่ส่งกลิ่นเหม็น และยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราด้วย 5.ซีสต์ในสายสะดือ (Urachal Cyst) เป็นการเกิดซีสต์หรือถุงน้ำขึ้นในท่อสะดือที่ไม่ได้ปิดสนิทตั้งแต่หลังเกิดมา ทำให้อาจมีของเหลวสะสมอยู่กลายเป็นถุงน้ำในท่อสะดือจนอาจเกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งอาจมีของเหลวสีขุ่นหรือมีเลือดปนไหลออกมาจากสะดือร่วมกับอาการสะดือเหม็น 6.ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง (Sebaceous Cyst) แม้จะเป็นสาเหตุของสะดือเหม็นที่พบได้ไม่บ่อยนัก ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนังเป็นปุ่มเนื้อนูนเล็ก ซีสต์ชนิดนี้อาจเกิดขึ้นบริเวณที่มีรูขุมขนและต่อมไขมันบริเวณสะดือ และอาจเกิดจากการติดเชื้อลุกลามได้ โดยเฉพาะเมื่อเกาบริเวณดังกล่าว แม้ปัญหาสะดือเหม็นอาจยังไม่ปรากฏอาการที่รุนแรง แต่หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการดูแลรักษา และอาการไม่บรรเทาลง อาจเสี่ยงต่อการเกิดความเจ็บป่วยที่รุนแรงขึ้นได้ต่อไป ดังนั้น หากมีอาการสะดือเหม็นอย่างเรื้อรัง หรือมีอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อเกิดขึ้นร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา มีไข้ ผิวสะดือและบริเวณโดยรอบมีสีแดง มีหนองไหลออกมาจากสะดือ โดยเฉพาะผู้ที่มีแผลผ่าตัดในบริเวณนั้น รู้สึกปวดท้องแบบกดแล้วเจ็บ รู้สึกเจ็บปวดขณะปัสสาวะ การรักษา สะดือเหม็นอาจสามารถรักษาให้หายได้หากทราบสาเหตุที่แน่ชัด และรับการรักษาดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการรักษาความสะอาดบริเวณสะดือ โดยตัวอย่างการรักษาอาการตามสาเหตุหลักที่มักทำให้เกิดสะดือเหม็น ได้แก่ ภาวะติดเชื้อ หากเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาหรือครีมต้านเชื้อรา และต้านเชื้อแบคทีเรียทาบริเวณสะดือ หลังจากที่ล้างทำความสะอาดสะดือด้วยสบู่หรือโฟมที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อเหล่านั้น และเช็ดสะดือจนแห้งแล้ว โรคเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจะช่วยควบคุมอาการและลดการติดเชื้อราบริเวณสะดือ โดยผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และไปพบแพทย์ตามนัดหมายเสมอ เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด และควบคุมไม่ให้ระดับน้ำตาลผิดปกติจนเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ รวมถึงปัญหาสะดือเหม็นด้วย ภาวะปัสสาวะรั่วออกทางสะดือ ผู้ป่วยที่เผชิญปัญหานี้ อาจต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาเพื่อแก้ไขปัญหาการรั่วไหลของปัสสาวะ ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และการเกิดมะเร็งในท่อสะดือ แต่มีโอกาสเกิดได้น้อยมาก ซีสต์ในสายสะดือ แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วยเพื่อรักษาการติดเชื้อให้หมดไปก่อน จากนั้นอาจทำการผ่าตัดส่องกล้อง ด้วยการเจาะรูเล็ก ๆ บริเวณช่องท้อง แล้วสอดเครื่องมือเพื่อผ่าตัดนำสิ่งสกปรกที่อยู่ภายในซีสต์ออกมา ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะ อาจทำหัตถการผ่าเปิดช่องเล็ก ๆ เพื่อนำของเหลวและสิ่งสกปรกภายในซีสต์ออกมา อาจทำการผ่าตัดนำซีสต์หรือถุงน้ำทั้งหมดออกไป หรืออาจเลือกใช้เลเซอร์กำจัดซีสต์ในบริเวณนั้นให้หมดไป การดูแลรักษา และป้องกันด้วยตนเอง เช็ดทำความสะอาดสะดือให้แห้งทุกครั้งหลังอาบน้ำ ล้างทำความสะอาดสะดือทุกวันด้วยสบู่ที่ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและน้ำเปล่า จากนั้นใช้ผ้าสะอาดหรือสำลีเช็ดทำความสะอาดภายในสะดือ หรืออาจใช้น้ำเกลือล้างทำความสะอาดสะดือแล้วเช็ดให้แห้ง ไม่ทาครีมหรือสารเพิ่มความชุ่มชื้นใด ๆ ในสะดือ เพราะอาจทำให้เกิดการอุดตันจนเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราในภายหลังได้ ไม่สวมเสื้อผ้ารัดรูปจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการเสียดสีระคายเคืองบริเวณสะดือ โดยควรหลีกเลี่ยงไปสวมเสื้อผ้าที่สบายตัว ซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติแทน เช่น ผ้าฝ้าย ไม่เจาะสะดือ หรือหากเป็นผู้ที่เจาะสะดือ ควรรักษาทำความสะอาดบริเวณสะดืออยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ |
Anonymous