กระดานสุขภาพ
มีอาการปวดหลังและเบื่ออาหาร | |
---|---|
13 ตุลาคม 2561 13:06:35 #1 ดิฉันมีอาการปวดหลังมานานคะ แต่อาการกำเริบมากช่วงก่อนเป็นประจำเดือน (ประมาณวันที่ 4 ต.ค.ก่อนประจำเดือนมา 2 วันคะ) และมีอาการเบื่ออาหาร ท้องอืด เรอบ่อย และเพลียๆ ร่วมด้วย พอประจำเดือนหมด อาการก็ยังไม่หายคะ แต่ก็ดีขึ้นกว่าก่อนเป็นประจำเดือน แต่อาการตอนนี้คือ ปวดหลังและทานอาการได้น้อยกว่าเดิมมากๆคะ น้ำหนักก็ลดลงคะ จาก 61 เหลือ 59 ในเวลา 2 สัปดาห์คะ แต่พยายามกดตามท้องก็ไม่มีก้อนอัไรนะคะ แต่จะเป็นอาการปวดหลังแล้วตึงๆตั้งแต่ช่วงหน้าอก และเอวคะ มีเจ็บกล้ามเนื้อท้องบ้างคะ ปล. ตรวจสุขภาพประจำปี ผลออกมาเดือนกรกฎาคม ทุกอย่สงก็ปกตินะคะ ปล. 2 เคยไปหาหมอเพราะเคยเป็นอาการท้องอืด เรอ หมอบอกว่าเป็นโรคกะเพาะคะ แต่ยังไม่เคยไปหาเรื่องอาการปวดหลังคะ ** อยากทราบว่ามันเป็นอาการบ่งชี้เรื่องอะไรบ้างคะ |
|
อายุ: 30 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 59 กก. ส่วนสูง: 164ซม. ดัชนีมวลกาย : 21.94 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
16 ตุลาคม 2561 15:44:29 #2 อาการปวดหลังช่วงล่าง เกิดได้จากหลายกลไก ทั้งจากการเสื่อม และโรคกล้ามเนื้อ โรคของเอ็น โรคกระดูก และโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งการเสื่อมเหล่านี้ยังส่งผลให้เกิดปุ่มกระดูกงอกเล็ก ๆ (Osteophyte) ซึ่งเป็นกลไกที่ร่างกายใช้ซ่อมแซมเนื้อเยื่อกระดูกสันหลังที่เสื่อมถอย ส่งผลให้เกิดการเบียดกดประสาทไขสันหลัง ส่งผลให้เกิดอาการ ปวด เจ็บ ชา กล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง รวมทั้งส่งผลถึงการทำงานของกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ และของทวารหนัก ส่งผลให้กล้ามเนื้อควบคุมการขับถ่ายเหล่านี้หย่อนยาน จึงเกิดการกลั้นปัสสาวะและอุจจาระได้น้อยลง ทั้งนี้เพราะส่วนหลังช่วงล่าง มีหน้าที่รองรับน้ำ หนักของร่างกาย เป็นส่วนที่ร่างกายใช้เคลื่อนไหวซ้ำๆตลอดเวลา เพื่อการทรงตัว การทำงาน การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา การหยิบจับ ก้ม เงย ยกของ ดังนั้น จึงเกิดการเสื่อมถอยของเซลล์ต่างๆได้ง่ายเมื่อมีอายุสูงขึ้น สาเหตุของการปวดหลังช่วงล่าง ได้แก่
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดหลังช่วงล่าง คือ
อาการที่พบได้จากปวดหลังช่วงล่าง คือ
แนวทางการรักษาอาการปวดหลังช่วงล่าง คือ การรักษาสาเหตุ และการรักษาประคับ ประคองตามอาการ การรักษาสาเหตุ เช่น การรักษา โรคกระดูกพรุน การฉายรังสีรักษากรณีเกิดจากการแพร่ กระจายของโรคมะเร็ง การรักษาทางจิตเวช และบางครั้งเป็นส่วนน้อยอาจใช้การผ่าตัดในกรณี อาการปวดเกิดจากโรคปวดหลังจากหมอนรองกระดูก หรือเกิดจากโรคกระดูกเคลื่อนกดทับประ สาท หรือกดทับไขสันหลัง เป็นต้น รวมทั้งในกรณีเป็นการปวดหลังซึ่งปวดร้าวมาจากโรคอื่นๆในช่องท้อง หรือในอุ้งเชิงกราน การรักษา คือ การรักษาสาเหตุของโรคนั้นๆเช่นกัน เช่น รักษาโรคนิ่วในไต เป็นต้น การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การพักผ่อนซึ่งไม่ควรเกิน 2 วัน เพราะยิ่งหยุดการเคลื่อนไหว อาการปวดจะยิ่งเพิ่มขึ้น แพทย์มักแนะนำให้เคลื่อนไหวเท่าที่พอทำได้ การกินยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ การประคบร้อน สลับประคบเย็น (บางคนอาการดีขึ้น บางคนไม่ได้ผล) และ/หรือการทำกายภาพบำบัด การดูแลตนเอง การพบแพทย์เมื่อมีอาการปวดหลังช่วงล่าง คือ
การป้องกันอาการปวดหลังช่วงล่าง คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และสาเหตุดังกล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุ ที่หลีกเลี่ยงได้ รวมทั้งให้การดูแล รักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง หรือเป็นสาเหตุ นอกจากนั้น ที่สำคัญอีกประการ คือ การเรียนรู้วิธี นั่ง ยืน นอน ลุกขึ้น ยก แบก ลาก ของหนักที่ถูกต้อง อาจจากปรึกษา แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด หนังสือ หรือทางอินเทอร์ เน็ต |
Anonymous