กระดานสุขภาพ
ประจำเดือนไม่มา ตรวจแล้วไม่ท้อง แต่อาการไม่ค่อยสบาย | |
---|---|
15 กันยายน 2561 13:01:18 #1 ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายวันที่31/7/61 ถึงวันที่ 2/8/61 แล้ววันที่11/9/61 เริ่มมีอาการปวดท้องด้านขวาตอนเดินและยกของหนัก เหมือนจุก สักพักก็เปลี่ยนเป็นด้านซ้าย และมีอาการอยากทานอาหารรสเผ็ดเปรี้ยว ซึ่งปกติเป็นคนไม่ทานอาหารรสเผ็ดเลย พอได้ทานแล้วรู้สึกดีขึ้นจากที่ตัวดิฉันรู้สึกเพลียๆอยู่ แล้วเมื่อวันที่13/9/61 มีไข้น้อยๆและเริ่มรู้สึกว่าปวดท้องตลอดเวลา ลองตรวจปัสสาวะขึ้น1ขีด และวันที่14/9/61 ตื่นมาเวียนหัวมาก คล้ายจะอาเจียน ปวดท้องหนักขึ้นจนลุกเดินไม่ไหว พอนอนต่อไปสักพักอาการปวดท้องก็ดีขึ้น แต่มีอาการหนาวจนขนลุก และทานอาหารไม่ได้ เหมือนจะอาเจียนตลอด เลยไปหาคุณหมอ ตอนแรกคุณหมอก็คิดว่าตั้งท้อง พอตรวจการตั้งครรภ์ก็ไม่พบ คุณหมอเลยบอกเป็นลำไส้อักเสบ ให้ยามาทานที่บ้าน และวันที่15/9/61 ได้นอนเต็มอิ่ม เช้ามาอาการไข้หาย และอาการปวดท้องก็ดีขึ้นเยอะ แต่ยังมีอาการเวียนหัว อยากอาเจียน และอยากทานอาหารที่ปกติไม่ชอบทานอยู่ เลยสงสัยว่าเป็นลำไส้อักเสบจริงหรือไม่ แล้วอาการอื่นๆที่เกิดขึ้น เป็นเพราะอะไร |
|
อายุ: 25 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 55 กก. ส่วนสูง: 167ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.72 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
Ceet*****b |
19 กันยายน 2561 11:50:25 #2 คิดว่าอาจจะฮอร์โมนแปรปรวนก็ได้ค่ะ ประจำเดือนมาน้อย แล้วสุขภาพเลยไม่ค่อยดีด้วย กินยาคุม Dafne 35 เพื่อปรับฮอร์โมนก็ได้ค่ะ |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
22 กันยายน 2561 06:22:16 #3 จากอาการที่ปรึกษามา ไม่ได้มีความจำเพาะเจาะจงกับโรคใดเฉพาะ แต่อาการน่าจะมีความผิดปกติของทางเดินอาหารและลำไส้ หรือ อวัยวะในช่องท้อง เนื่องจาก มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน แนะนำว่าให้รับประทานยาตามที่แพทย์ให้ก่อนหากอาการไม่ดีขี้นแนะนำให้ไปพบแพทย์ซ้ำนะคะ ในส่วนของการขาดประจำเดือน ทางการแพทย์ แบ่งการขาดประจำเดือนเป็น 2 แบบ/ประเภท คือ 2. ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary amenorrhea) คือ การที่สตรีเคยมีประจำเดือนมาก่อนแต่ต่อมาประจำเดือนขาดหายไปอย่างน้อย 6 เดือน หรือ 3 รอบเดือน ซึ่งภาวะนี้ ยังแบ่งได้อีก 2 กลุ่มคือ 2.1 Physiologic secondary amenorrhea เป็นการขาดประจำเดือนตามธรรมชาติ เช่น วัยเด็กก่อนเข้าสู่วัยรุ่น ระยะตั้งครรภ์ หลังคลอดช่วงการให้น้ำนมแก่ลูก หรือ ช่วงวัยทอง(วัยหมดประจำเดือน) 2.2. Pathologic secondary amenorrhea เป็นการขาดประจำเดือนเนื่องจากมีพยาธิสภาพ หรือ มีโรค ในร่างกาย สาเหตุของการขาดประจำเดือน ได้แก่ ก. การขาดประจำเดือนปฐมภูมิ: อุบัติการณ์ของภาวะนี้ค่อนข้างน้อย สาเหตุเกิดจากความผิดปกติทางกายวิภาคของระบบสืบพันธุ์ (กายวิภาคและสรีรวิทยาอวัยวะสืบพันธุ์ภายในของสตรี) มาแต่กำเนิด หรือมีความผิดปกติของโครโมรโซม ทำให้มีผลต่อการทำงานของรังไข่ สาเหตุ ได้แก่ 1. Imperforated hymen หรือภาวะเยื่อพรหมจารีไม่ขาด (เยื่อพรหมจารี หรือ Hymen คือ เยื่อบางๆขนาดความหนาประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตรที่อยู่รอบๆปากช่องคลอด) เป็นความผิดปกติมาแต่กำเนิดที่เยื่อพรหมจารีไม่ขาดเป็นรูหรือเป็นช่องเปิดสู่ภายนอกเพื่อเตรียมให้เลือดประจำเดือนไหลออกมาเมื่อถึงเวลาที่ควรมีประจำเดือน ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติจนกระทั่งเข้าสู่วัยที่ควรมีประจำเดือน หรือเพื่อการมีเพศสัมพันธ์ จะทำให้มีอาการปวดท้องน้อยทุกเดือน เดือนละ 3-5 วัน และอาการจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่มีประจำเดือนออกมาให้เห็น อาจมีอาการคัดตึงเต้านมร่วมด้วยในช่วงเวลาใกล้เคียงกับมีอาการปวดท้องน้อย 2. Mullerian agenesis หมายถึง ภาวะที่เนื้อเยื่อในตัวอ่อนชนิด ที่เรียกว่า Mullerian duct ซึ่งในภาวะปกติเนื้อเยื่อนี้จะเจริญไปเป็นมดลูก ไม่มีการพัฒนาหรือเจริญไปเป็นมดลูกตามปกติ ทั้งนี้อาจไม่มีการพัฒนาทั้งหมด หรือมีการพัฒนาเพียงบางส่วน แต่รังไข่ในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะยังปกติ เพราะมีการพัฒนามาจากเนื้อเยื่อคนละส่วนกัน ผู้ป่วยจึงมีลักษณะทางเพศของสตรีเป็นปกติ แต่ไม่มีมดลูก และไม่มีช่องคลอด 3. รังไข่ไม่พัฒนา (Gonadal dysgenesis) หรือ รังไข่หยุดทำงานก่อนเวลาอันควร (Premature ovarian failure) หากเกิดก่อนวัยรุ่น ก่อนที่จะมีประจำเดือน ผู้ป่วยก็ไม่มีประจำเดือนเลย ไม่มีการพัฒนาของร่างกายไปเป็นหญิงสมวัย เต้านมไม่พัฒนา การที่รังไข่ไม่ทำงานก่อนเวลาอาจเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม เช่น กลุ่มอาการ Turner syndrome ที่โครโมโซมจะเป็น 45X0 (0 คือ ศูนย์) ซึ่ง โครโมโซมสตรีปกติ จะเป็น 44XX ) 4. Testicular feminization (Androgen insensitivity) ผู้ป่วยมี โครโมโซมเป็น XY คือ เป็นชาย จึงไม่มีการสร้างมดลูก และมีต่อมเพศซึ่งเป็นของเพศชายคอยสร้างฮอร์โมน แต่เนื้อเยื่อทั่วไปของผู้ป่วยจะไม่มีการตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศชาย จึงทำให้ลักษณะภายนอกของผู้ป่วยเป็นหญิง 5. มีเนื้องอกของสมอง (เนื้องอกและมะเร็งสมอง) โต กดเบียดทับสมอง และ/หรือต่อมใต้สมองที่สร้างฮอร์โมนเพื่อการมีประจำเดือน หรือมีเนื้องอกของต่อมใต้สมอง จึงทำให้ระบบการทำงานของฮอร์โมนเสียไป (ดังกล่าวแล้วในหัวข้อ ภาวะขาดประจำเดือนหมายถึงอะไร?) จึงส่งผลให้ไม่มี/ขาดประจำเดือน ข. การขาดประจำเดือนทุติยภูมิ: สาเหตุส่วนใหญ่ของการขาดประจำเดือน จะเป็นผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ 1. การตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการขาดประจำเดือนแบบนี้ เมื่อประจำเดือนที่เคยมาปกติทุกเดือนเกิดไม่มา ต้องสันนิษฐานเป็นเบื้องต้นไว้ก่อนว่าอาจมีการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะหากเกิดในสตรีวัยเจริญพันธุ์ แล้วหาทางพิสูจน์ก่อนที่จะคิดถึงสาเหตุอื่น 2. ภาวะ Polycystic ovarian syndrome (PCOS, รังไข่ทั้งสองข้างเกิดมีถุงน้ำมากมายโดยยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่เชื่อว่า จากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม) พบได้บ่อยโดยเฉพาะในวัยรุ่น ประจำเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอ 2-3 เดือนเป็นประจำเดือน 1 ครั้ง มักมีรูปร่างอ้วนร่วมด้วย อาจพบภาวะขนดก หรือมีหนวดเพิ่มขึ้นร่วมด้วย 3. ภาวะทำงานผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (โรคของต่อมไทรอยด์) ทั้งต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ หรือทำงานน้อยกว่าปกติ (Hyperthyroidism หรือ Hypothyroidism ) จะมีผลไปกระทบต่อการหลั่งฮอร์โมน GnRH ทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ 4. ภาวะเครียด (Stress) สามารถทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ อาจขาดประจำเดือนไปได้คราวละหลายๆเดือน เนื่องจากความเครียดจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการหลั่งฮอร์โมน GnRH 5. ภาวะอ้วน/โรคอ้วน (Obesity) ในสตรีที่อ้วน ประจำเดือนมักมาไม่ปกติ สามารถทำให้ขาดประจำเดือนไปได้คราวละหลายๆเดือน ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากในคนอ้วน ผิวหนังสามารถเปลี่ยนเซลล์ไขมันไปเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งจะไปมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมน FSH และฮอร์โมน LH ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ 6. การฉายรังสี/รังสีรักษา เช่น การฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกรานเพื่อรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก จะไปทำลายรังไข่ ทำให้รังไข่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ จึงไม่มีประจำเดือน 7. การให้ยาเคมีบำบัด ในการรักษาโรคมะเร็งทุกชนิด จะมีผลไปทำลายรังไข่ ทำให้รังไข่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้จึงไม่มีประจำเดือน 8. Galactorrhea คือ ภาวะที่มีน้ำนมไหลโดยที่ไม่ได้อยู่ในระยะให้นมบุตร สาเหตุเกิดได้จากหลายอย่าง เช่น • อาจจากมีเนื้องอกต่อมใต้สมอง ทำให้ขัดขวางฮอร์โมนที่ห้ามการสร้างน้ำนม จึงมีผลทำให้มีการสร้างน้ำนม ซึ่งจะไปกระทบต่อระบบประจำเดือนอีกต่อหนึ่ง • หรืออาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางอย่างที่ทำให้น้ำนมไหลได้ เช่น ยาทางจิตเวชบางชนิด ยาลดความดันโลหิตบางชนิด เป็นต้น 9. การใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิด (วิธีคุมกำเนิด) เป็นระยะเวลานานๆ เช่น ยาฉีดคุมกำเนิด หรือ ยาเม็ดคุมกำเนิด 10. ภาวะ Anorexia nervosa คือ มีความรู้สึกเบื่ออาหาร และน้ำ ไม่ยอมรับประทานอาหารจากการที่กลัวน้ำหนักเพิ่มมากเกินไป ทำให้น้ำหนักลดลงมาก จึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการหลั่งฮอร์โมน GnRH 11. นักกีฬามาราธอน หรือบุคคลที่ออกกำลังกายอย่างมาก มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการหลั่งฮอร์โมน GnRH 12. การตีบตันของช่องคลอด ปากมดลูก และ/หรือโพรงมดลูก เนื่องจากพังผืดหลังการอักเสบในโพรงมดลูก หรือหลังการขูดมดลูก |
Anonymous