กระดานสุขภาพ
ความดันโลหิตต่ำ | |
---|---|
21 สิงหาคม 2561 11:37:19 #1 มีอาการวิงเวียนศรีษะแล้วก็ปวดเมื่อย แบบนี้ใช่อาการความดันโลหิตต่ำไหม้ครับ แล้วอยากรู้ว่าอาหารหรือผลไม้ที่ต้องทานมีอะไรบ้าง ขอบคุณครับ |
|
อายุ: 22 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 52 กก. ส่วนสูง: 163ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.57 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
27 สิงหาคม 2561 15:43:10 #2 อาการวิงเวียนศีรษะ เป็นอาการ ไม่ใช่โรค กล่าวคือ เป็นอาการผิดปกติทางระบบประ สาทอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าวิงเวียน มึนงง หนักศีรษะ เวลาลุกขึ้นอาจเซเล็กน้อย หรือเซรุน แรง จนรู้สึกว่าตนเองหมุน บ้านหมุน สิ่งแวดล้อมหมุน ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นเพียงความรู้สึก ไม่ ได้เกิดขึ้นจริง ผู้ป่วยบางคนจะมีอาการ หูอื้อ มีเสียงดังในหู หรือบางคนบอกว่ามีลมออกหู บางคนที่มีอาการรุนแรงจะอาเจียน เดินเซมาก ลุกไม่ขึ้น อาการวิงเวียนศีรษะ มีสาเหตุที่พบบ่อยและควรทราบดังนี้ 1 โรคทางสมอง เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะที่สำคัญในระบบการทรงตัว ร่วมกับระบบประสาทการได้ยิน และการทรงตัวในหูชั้นใน (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง กายวิภาคของหู) โดยสมองส่วนที่ทำหน้าที่การทรงตัว คือ สมองน้อย (Cerebellum) และก้านสมอง (Brainstem ) นอกจากนี้ยังมีสมองส่วนอื่นๆอีก เช่น สมองส่วนหน้า (Frontal lobe, อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง กายวิภาคและสรีรวิทยาระบบประสาท) 2 โรคทางระบบประสาทการได้ยินและการทรงตัว เนื่องจากเส้นประสาทการได้ยินและการทรงตัว (เส้นประสาทสมองคู่ที่ 8) ที่อยู่ในช่องหูชั้นใน (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง กายวิภาคของหู) คือ Vestibular system และหลอดครึ่งวงกลม (Semicircular canals) 3 หลอดที่ภายในบรรจุของเหลวที่เรียกว่า Endolymph นี้ เป็นระบบที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวนอกจากนี้ ระบบประสาทการได้ยินและการทรงตัวของหูนี้ ยังทำงานร่วมกับระบบการมอง เห็น (เส้นประสาทสมองคู่ที่ 2) โดยร่วมกันทำหน้าที่เพื่อการทรงตัว จึงเป็นเหตุให้การหลับตา- ลืมตามีผลต่อการทรงตัวด้วย 3 โรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคลมชัก โรควิตกกังวล ยาขยายหลอดเลือด และ ภาวะซีด สาเหตุเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะหรืออาการหมุนได้ • โรคหัวใจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกวิงเวียนเนื่องจากมีอาการใจสั่น เหนื่อยอ่อนเพลีย หรือได้ยาลด ความดันโลหิต ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ ภาวะต่างๆเหล่านี้ ทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะได้ จากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลง • ส่วนโรคลมชัก เกิดจากกระแสไฟฟ้าในสมองผิดปกติ ทำให้มีอาการชักแบบวิงเวียนศีรษะได้ • ส่วนภาวะซีดนั้น เกิดจากเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลง จึงทำให้มีอาการ วิงเวียน มึน งง • กรณีที่ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลมาก อาจส่งผลทำให้เกิดอาการคล้ายวิงเวียนศีรษะที่รักษาไม่หาย ถ้าไม่ได้แก้ไขรักษาด้านจิตใจร่วมด้วย เพราะเป็นอาการที่เกิดจากปัญหาด้านอารมณ์/จิตใจ คำถามนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะเป็นการตัดสินใจว่า ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เร็วเท่าใด อาการวิงเวียนศีรษะไม่ว่าจะเป็นเพียงแค่อาการวิงเวียน (Dizziness) และ/หรืออาการหมุน (Vertigo) มีสาเหตุที่พบบ่อย คือ • จากโรคทางระบบประสาทการทรงตัวและการได้ยิน หรือพูดสั้นๆว่าโรคทางช่องหู ซึ่งทางการแพทย์จัดว่าเป็นกลุ่มสาเหตุส่วนนอกสมอง (Peripheral cause) ซึ่งเป็นอาการไม่ค่อยรุนแรง รอพบแพทย์ได้หลังดูแลตนเอง 2-3 วันแล้วอาการยังคงอยู่ แต่ถ้าอาการรุนแรงขึ้นก็ต้องรีบพบแพทย์ • และจากสาเหตุในสมอง (Central cause) ซึ่งพบได้ไม่บ่อย แต่เป็นสาเหตุที่อันตรายต้องให้การรักษาที่ถูกต้อง เพราะอาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงเป็นอาการที่ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที 1 ลักษณะอาการวิงเวียน/รู้สึกหมุน สาเหตุจากโรคนอกสมอง คือ 1 มีอาการวิงเวียนที่มักร่วมกับอาการรู้สึกหมุน 2 อาการวิงเวียนค่อนข้างรุนแรง 3 มีอาการได้ยินผิดปกติ เช่น ได้ยินลดลง หูอื้อ เสียงดังในหู (Tinnitus) ร่วมด้วย 4 วิงเวียนเฉพาะบางท่าทางเท่านั้น เช่น ตะแคงซ้ายจะวิงเวียน เป็นต้น 5 ไม่มีอาการผิดปกติทางสมอง เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรือ สำลักอาหาร 6 อาจมีโรคทางช่องหูร่วมด้วย เช่น เจ็บในหู หูติดเชื้อ 2 ลักษณะอาการวิงเวียน/รู้สึกหมุนสาเหตุจากโรคสมอง คือ 1 อาการวิงเวียนศีรษะหรืออาการหมุนเป็นทุกท่าทางของร่างกาย 2 อาการอาเจียนไม่รุนแรงเท่ากับสาเหตุจากโรคนอกสมอง 3 มีความผิดปกติทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่น พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มองเห็นภาพซ้อน สำลักอาการ และ/หรือ แขน-ขา อ่อนแรง 4 อาการเป็นต่อเนื่องโดยไม่ดีขึ้น ถึงแม้จะพักหรือได้รับยาแก้วิงเวียน 5 มีโรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และผู้สูงอายุ การรักษาอาการวิงเวียนศีรษะและ/หรือ อาการรู้สึกหมุน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1 การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาแก้วิงเวียน แก้อาเจียน แก้อาการรู้สึกหมุน หรือมึนศีรษะ 2 การรักษาตามสาเหตุ เช่น โรคในสมอง (เช่น โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น) หรือ โรคนอกสมอง (เช่น โรคของหู เป็นต้น) 3 การทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูความสามารถในการทรงตัว เช่น ในการเปลี่ยนท่าทาง การเดิน เป็นต้น ทั้งนี้ ระยะเวลาในการรักษาผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกัน ขึ้นกับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ กรณีที่ยังมีอาการผิดปกติ วิงเวียน/รู้สึกหมุนตลอดเวลา ก็ต้องได้รับยาแก้ไขบรรเทาอาการดังกล่าวจนกว่าอาการจะดีขึ้น ส่วนในเรื่องของสาเหตุ ถ้าเป็นโรคที่แก้ไขรักษาหายได้ การรักษาก็แล้วเสร็จเมื่อหายดี (เช่น ประมาณ 2-4 สัปดาห์ ขึ้นกับสาเหตุ เป็นต้น) แต่บางโรคที่ต้องป้องกันการเป็นซ้ำ ก็ต้องมีการรักษาต่อเนื่อง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น การดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการวิงเวียนศีรษะและ/หรือ อาการรู้สึกหมุน ที่สำคัญ คือ • สิ่งแรก คือ ต้องระวังไม่ให้ล้ม ดังนั้น ถ้ามีอาการวิงเวียนฯหรือรู้สึกหมุน ต้องรีบหาที่พักจะนอนหรือนั่งก็แล้วแต่สถานที่ และขึ้นกับว่าอาการรุนแรงแค่ไหน และการหลับตาก็ช่วยลดอาการหมุนลงได้ ต่อจากนั้น • ควรสังเกตตนเองว่ามีความผิดปกติอื่นๆ ร่วมกับอาการวิงเวียน อาการรู้สึกหมุนหรือไม่ เช่น ความผิดปกติทางระบบประสาท ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด สำลักอาหาร น้ำ แขน-ขาอ่อนแรง ถ้ามีให้รีบไปโรงพยาบาลทันที • ถ้าไม่สามารถไปโรงพยาบาลได้เองให้โทรศัพท์ 1669 เพื่อให้รถโรงพยาบาลฉุกเฉินมารับตัวไปโรงพยาบาล (โทรศัพท์เรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน เบอร์เดียวทั่วประเทศไทย คือ “โทรฯ 1669” สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง) • ถ้าสังเกตแล้วว่าไม่มีความผิดปกติทางระบบประสาทอื่นๆ สาเหตุก็น่าจะเป็นความผิดปกตินอกสมอง ดังนั้นก็ต้องสังเกตต่อว่ามีอาการวิงเวียนเฉพาะท่าทางใดท่าทางหนึ่งหรือไม่ มีหูอื้อ ได้ยินผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีก็มั่นใจได้ว่าเป็นความผิดปกติของระบบประสาทหู ซึ่งอาจรอพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลได้ภายใน 2-3วัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นจากการดูแลตนเอง แต่ถ้าอาการเลวลงก็ต้องรีบไปโรงพยาบาล • กรณีผู้ป่วยไม่มีอาการอ่อนแรง ลุกขึ้นยืนได้ ก็สามารถตรวจการทำงานของสมองน้อยได้ (โดยมีคนดูแลใกล้ชิดคอยพยุงไม่ให้ล้ม) โดยการลุกขึ้นยืน ขาชิดแล้วหลับตา ถ้าไม่เซก็ไม่น่าจะมีรอยโรคในสมองน้อย แต่ถ้าเซไปข้างใดข้างหนึ่งหรือจะล้ม แปลผลว่า สมองน้อยทำงานผิดปกติ ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที อนึ่ง ผู้ป่วยที่มีอาการวิงเวียนศีรษะหรืออาการรู้สึกหมุนนั้น ขณะที่ทำการเปลี่ยนท่าทาง ควรเปลี่ยนท่าทางอย่างช้าๆ ไม่ควรเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว และกรณีมีอาการเฉพาะการเปลี่ยนท่า ทางใดท่าทางหนึ่งนั้น ห้ามเลี่ยงการเปลี่ยนท่าทางนั้น เพราะมีผู้ป่วยบางรายมีอาการหมุนเฉพาะหันหน้าไปทางซ้ายเท่านั้น ก็เลยไม่ยอมหันหน้าไปทางซ้าย การรักษาที่ถูกต้องนั้นคือ ต้องพยายามฝึกการหันหน้าไปทั้งสองข้างอย่างช้าๆ อาการฯจึงจะดีขึ้น นอกจากนี้ ห้ามการออกแรงเบ่งอย่างแรงบ่อยๆ เช่น เบ่ง อุจจาระ ปัสสาวะ เพราะอาจส่ง ผลให้เกิดโรคในช่องหูชั้นกลางและชั้นใน (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง กายวิภาคของหู) จากมีการเพิ่มความดันในช่องหูจากการเบ่งนั้นๆได้ และ ห้ามอดนอน ผู้ป่วยที่มีอาการหมุนหรือวิงเวียนนั้น ไม่มีอาหารต้องห้าม ยกเว้นมีโรคประจำตัวอื่นๆที่ต้องควบคุมอาหารโดยเฉพาะ เช่น โรคระบบประสาทการทรงตัวในช่องหู แพทย์อาจแนะนำให้ทานอาหารรสเค็ม (ถ้าไม่มีข้อห้ามเรื่องโรคความดันโลหิตสูง) เป็นต้น ดังนั้นการดูแลตนเองที่สำคัญเพิ่มเติมเมื่อได้พบแพทย์แล้ว คือ • ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ • กินยาต่างๆที่แพทย์แนะนำให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา • พบแพทย์ตามนัดเสมอ • รีบพบแพทย์ก่อนนัด เมื่ออาการเลวลง หรือมีอาการผิดไปจากเดิม หรือ เมื่อมีอาการแพ้ยา เช่น ขึ้นผื่น หรือ เมื่อกังวลในอาการ การป้องกันอาการวิงเวียนศีรษะ และ/หรือ อาการรู้สึกหมุนนั้น กรณีเป็นโรคในสมอง ที่ป้องกันหรือลดโอกาสเกิดอาการฯได้ คือ จากโรคหลอดเลือดสมอง โดยการ • ป้องกัน รักษา ควบคุม โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไข มันในเลือดสูง ให้ได้ดี • ออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพทุกวัน • ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนั้น วิธีป้องกันอื่นๆ คือ • ระมัดระวังอย่าให้เกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ และช่องหู เพราะอาจก่อให้เกิดอาการวิงเวียนจากโรคประสาทหูได้ • รวมทั้งการฝึกความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเฉพาะ ศีรษะ สายตา เช่น ฝึกการเคลื่อนไหวศีรษะในทิศทางต่างๆ อย่างช้าๆ สม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นประจำ (ปรึกษาวิธีการได้จากนักกายภาพบำบัด) • การพักผ่อนอย่างเพียงพอ • นอนหลับให้สนิทก็ช่วยได้ • การเปลี่ยนท่าทางในผู้สูงอายุ ควรค่อยๆเปลี่ยนท่าทาง ก็ช่วยลดการเกิดอาการฯได้ • รวมทั้งการดูแลสุขภาพจิตให้ดี ก็สามารถลดอาการวิเวียนสาเหตุจากอารมณ์/จิตใจได้เช่นกัน |
Basz*****1