กระดานสุขภาพ

ปวดสะโพกไปถึงต้นขาและขา
Fiat*****t

16 สิงหาคม 2561 01:12:06 #1

เริ่มต้นอาการมีอาการเสี่ยวแปล๊บๆที่ผิวหนังตั้งแต่สะโพกไปถึงต้นขาและขา ข้อเท้า
วันต่อๆมา ปวดเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ ปวดก้นขวาและขาขวา มีไข้อ่อนๆ 
จะปวดมากเฉพาะกลางคืน เป็นแบบนี้มา2อาทิตย์แล้วคะ ปัสสวะสีขุ่น 

อายุ: 57 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 38 กก. ส่วนสูง: 157ซม. ดัชนีมวลกาย : 15.42 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

20 สิงหาคม 2561 18:43:21 #2

หลังช่วงล่าง (Low back) คือ ตำแหน่งด้านหลังช่วงจากปลายกระดูกซี่โครงซี่สุดท้ายลงมาจนถึงตำแหน่งกระดูกใต้กระเบนเหน็บ (Sacrum) ซึ่งเป็นตำแหน่งของกระดูกสันหลัง (Spine) ส่วนเอว ข้อที่ 1 (Lumbar spine เรียกย่อว่า L spine ซึ่งมีทั้งหมด 5ข้อ) ไปจนถึงกระ ดูกใต้กระเบนเหน็บข้อที่ 1 (Sacrum เรียกย่อว่า S spine ซึ่งมีทั้งหมด 5 ข้อ) ทั้งนี้ ส่วนหลังช่วงล่าง ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่สำคัญ และเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการเจ็บปวด คือ กล้าม เนื้อ เอ็น กระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง ไขสันหลัง และเส้นประสาท

สาเหตุของการปวดหลังช่วงล่าง ได้แก่

• การทำงานมากเกินไปของกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อจึงเกิดการบาดเจ็บอักเสบ (โดยไม่มีการติดเชื้อ) ซึ่งพบเป็นสาเหตุได้เท่ากับหรือมากกว่า 70% ของการปวดหลังช่วงล่างทั้งหมด

• โรค/ภาวะ ปวดหลังจากหมอนรองกระดูกเสื่อม พบเป็นสาเหตุประมาณ 14%

• โรค/ภาวะกระดูกสันหลังยุบตัวจากภาวะ/โรคกระดูกพรุน พบประมาณ 4%

• กระดูกสันหลังเคลื่อนจากสาเหตุต่างๆ เช่น ยกของหนัก เล่นกีฬา พบประมาณ 2%

• โรค/ภาวะโพรงกระดูกสันหลังเอวตีบแคบ(Lumbar spinal stenosis) จึงเบียดรัดประ สาทสันหลัง พบประมาณ 3%

• กระดูก หรือเนื้อเยื่อหลังช่วงล่างติดเชื้อ พบประมาณ 0.01%

• กระดูกหลังช่วงล่างอักเสบจากโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง พบประมาณ 0.3%

• โรคมะเร็งแพร่กระจายสู่กระดูกสันหลังช่วงล่าง พบประมาณ 0.7%

• เป็นอาการปวดสืบเนื่องมาจากเนื้อเยื่อ/อวัยวะในช่องท้อง หรือในอุ้งเชิงกราน พบประมาณ 2% เช่น จากการอักเสบของต่อมลูกหมาก มดลูก โรค/ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคนิ่วในไต โรคนิ่วในท่อไต โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือโรคกรวยไตอักเสบ

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดหลังช่วงล่าง คือ

• สูงอายุ มักอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป

• ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เพราะขาดฮอร์โมนเพศที่เป็นตัวเพิ่มการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก

• มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ขาดการออกกำลังกาย นั่งๆ นอนๆ

• น้ำหนักตัวเกิน หรือ โรคอ้วน

• โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกบาง

• โรคข้อเสื่อม

• โรคมะเร็ง ระยะแพร่กระจาย (ระยะที่ 4)

• มีอาชีพใช้หลังมาก เช่น ยกของหนัก กีฬาที่ต้องใช้หลัง (เช่น มวยปล้ำ)

• สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน และโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆรวมทั้งกระดูกจึงขาดเลือดหล่อเลี้ยง

• ปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ จะส่งผลถึงการทำงานของกล้ามเนื้อ รวมทั้งกล้ามเนื้อหลัง ก่ออาการปวดหลังช่วงล่างเรื้อรัง เช่น ความเครียด อาการซึมเศร้า

• อาจจากพันธุกรรม เพราะพบโรคได้สูงขึ้นในคนที่ครอบครัวมีอาการนี้

• การตั้งครรภ์ เพราะน้ำหนักจากครรภ์ จะกดทับกระดูกสันหลัง ก่อให้เกิดการบาด เจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อส่วนหลังได้ นอกจากนั้นอาจจากผลของฮอร์โมนที่เพิ่มผิดปกติจากการตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของเนื้อเยื่อต่างๆ โดย เฉพาะกล้ามเนื้อและกระดูก

อาการที่พบได้จากปวดหลังช่วงล่าง คือ

• ปวดหลังบนกระดูกสันหลังช่วงล่าง และ/หรือ ปวดทั้งแผ่นหลัง

• อาจปวดร้าวลงขาด้านใดด้านหนึ่ง มักเกิดเพียงด้านเดียว

• เคลื่อนไหวหลังไม่ได้เพราะเจ็บ/ปวด ก้มตัวไม่ได้ เพราะเจ็บ

• ยืนตรงไม่ได้เพราะเจ็บ/ปวดหลัง

อาการปวดหลังช่วงล่างที่ต้องรีบพบแพทย์ ภายใน 1-2 วัน หรือ ฉุกเฉินขึ้นกับความรุนแรงของอาการ คือ มีอาการปวดหลังร่วมกับ

• ปวดหลังมาก โดยเฉพาะเมื่ออายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

• มีไข้ หนาวสั่น หรือมีอาการทางปัสสาวะ เช่น ปวด เบ่ง แสบ เมื่อปัสสาวะ

• ส่วนหลังได้รับอุบัติเหตุ

• ปวดหลังมากช่วงกลางคืน หรือถึงแม้นอนพัก

• ปวดบริเวณก้นกบ (กระดูกสันหลังชิ้นที่อยู่ล่างสุดของลำตัว)

• ชาบริเวณขา เท้า

• กลั้นอุจจาระ และ/หรือปัสสาวะไม่อยู่

• เป็นโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกบาง

• เป็นโรคมะเร็ง

• กินยาสเตียรอยด์ต่อเนื่อง เพราะผลข้างเคียงของยาตัวนี้ คือ ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน

• ใช้ยาเสพติด เพราะส่งผลให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆได้ทั่วร่างกายรวมทั้งของกระดูกและข้อ

• หลังการดูแลตนเองแล้วอาการปวดหลังไม่ดีขึ้นภายใน 6 สัปดาห์

แนวทางการรักษาอาการปวดหลังช่วงล่าง คือ การรักษาสาเหตุ และการรักษาประคับ ประคองตามอาการ

การรักษาสาเหตุ เช่น การรักษา โรคกระดูกพรุน การฉายรังสีรักษากรณีเกิดจากการแพร่ กระจายของโรคมะเร็ง การรักษาทางจิตเวช และบางครั้งเป็นส่วนน้อยอาจใช้การผ่าตัดในกรณี อาการปวดเกิดจากโรคปวดหลังจากหมอนรองกระดูก หรือเกิดจากโรคกระดูกเคลื่อนกดทับประ สาท หรือกดทับไขสันหลัง เป็นต้น รวมทั้งในกรณีเป็นการปวดหลังซึ่งปวดร้าวมาจากโรคอื่นๆในช่องท้อง หรือในอุ้งเชิงกราน การรักษา คือ การรักษาสาเหตุของโรคนั้นๆเช่นกัน เช่น รักษาโรคนิ่วในไต เป็นต้น

การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การพักผ่อนซึ่งไม่ควรเกิน 2 วัน เพราะยิ่งหยุดการเคลื่อนไหว อาการปวดจะยิ่งเพิ่มขึ้น แพทย์มักแนะนำให้เคลื่อนไหวเท่าที่พอทำได้ การกินยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ การประคบร้อน สลับประคบเย็น (บางคนอาการดีขึ้น บางคนไม่ได้ผล) และ/หรือการทำกายภาพบำบัด

การดูแลตนเอง การพบแพทย์เมื่อมีอาการปวดหลังช่วงล่าง คือ

• พักการใช้หลัง ระวังการนั่ง ยืน เดิน นอน การยกของ ก้ม เงย

• กินยาแก้ปวด

• พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่พอจะทำได้ เพราะยิ่งไม่เคลื่อนไหว อาการปวดจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น

• อาจประคบร้อน ประคบเย็น หรือ ทั้งร้อนและเย็นสลับกัน ซึ่งจะได้ผลต่างกันในแต่ละคน

• การนวดด้วยยาทาภายนอก ซึ่งอาจได้ผลในบางคน

• การใส่เครื่องพยุงหลัง ซึ่งได้ผลในบางคน

• ลดน้ำหนักเมื่ออ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกิน

• เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่

• พบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเมื่ออาการปวดหลังเลวลง หรืออาการไม่ดีขึ้นภายใน 6 สัปดาห์

• รีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลภายใน 1-2 วัน หรือ ฉุกเฉิน

Fiat*****t

22 สิงหาคม 2561 16:26:01 #3

ขอบคุณครับ