กระดานสุขภาพ

ไม่สบายใจเลยค่ะ
Anin*****t

7 มีนาคม 2561 16:43:44 #1

สวัสดีค่ะคุณบอก หนูอยากทราบหนูเป็นอะไร เมื่อวานก่อนหนูรู้สึกง่วงนอน ตาปรือช่วงเลิกงาน ประมาณสองทุ่มกว่าๆ หนูก็คิดว่าคงทำงานเหนื่อย แต่เมื่อวาน หนูมีอาการตาปรือ ง่วงนอนทั้งวันค่ะ ทำงาน ลุกเดินไปไหนก็รู้สึกเพลียอยากจะนอนตลอด กลางคืนก็ยังรู้สึกง่วงๆแต่นอนไม่หลับค่ะ พอมาวันนี้ เพลียๆง่วงๆช่วงสายๆ กลับหลังเลิกงานค่ะ อยากทราบเกี่ยวกับอะไรค่ะ นอนพักผ่อนไม่พอรึป่าวค่ะ เวลากนอนปกติของหนู คือประมาณเวลา 5ทุ่ม-ตี1 ค่ะ และตั้งนาฬิกาปลุกไว้ 9โมงเช้า แต่หนูจะรู้สึกตัวตื่นก่อนเวลาปลุกตลอด คือตื่นมาเหนแสงสว่างแล้วก็หลับต่อ ตื่นๆหลับช่วงเข้าบ่อยมากค่ะ หลับๆตื่นๆช่วงเช้าแบบนี้ทำให้หนูเพลียรึป่าวค่ะ แล้วเวลานอนของหนู คือนอนเยอะหรือว่าน้อยค่ะ และที่สำคัญ ประจำเดือนหนูเลยมา 13 วันแล้วค่ะ ยังไม่ได้การตั้งครรภ์ และหนูชอบตีแบดค่ะ จะตีแบดวันเว้นวัน แต่ข่วงนี้ไม่ได้ตีแบดออกกำลังกายมา 2 อาทิตย์แล้วค่ะ อยากคุณหมอช่วยแนะนำการพักผ่อน และวิธีแก้อาการเพลียให้หน่อยนะค่ะ และอาการที่เพลียๆง่วงๆนี่เหิดจากอะไรค่ะ ขอบคุณค่ะ
อายุ: 26 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 155ซม. ดัชนีมวลกาย : 24.97 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Anin*****t

8 มีนาคม 2561 12:55:13 #2

ประจำเดือนหนูมาแล้วค่ะ เพิ่งมาเมื่อเย็น แต่ยังมีเพลียๆง่วงๆอยู่ค่ะคุณหมอ แล้ววันนี้เหมือนไม่สบายด้วยค่ะ คัดจมูก เหมือนตัวรุมๆ เป็นประจำเดือนแบบนี้แล้วไม่สบาย กินยาพาราได้ไหมค่ะ แล้วอาการเพลียเกิดจากหนูนอนหลับๆตื่นๆช่วงเช้า หรือเพราะฮอร์โมนเปลี่ยนค่ะ
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

11 มีนาคม 2561 08:47:26 #3

การปรับการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอและไม่ถูกต้อง มีวิธีดังนี้ค่ะ

1.รักษาตามสาเหตุ โดยขจัดเหตุปัจจัยที่ทำให้การนอนไม่เพียงพอ


2.ปฏิบัติตามสุขอนามัยการนอนหลับ และฝึกให้มีพฤติกรรมที่ส่งเสริมการนอนหลับ ซึ่งทุกคนสามารถปฏิบัติได้เองโดย

มีขั้นตอนดังนี้

  • 1)เข้านอนและตื่นนอนตรงเวลาทุกวัน เพื่อให้เกิดความเคยชิน โดยอยากนอนและตื่นเมื่อถึงเวลากำหนด ควรลงบันทึกตารางเวลานอนทุกวันอย่างสม่ำเสมอ
  • 2)ลุกจากเตียงทันทีเมื่อตื่น การสัมผัสแสงแดดอ่อนตอนเช้า และออกกำลังกายเบา ๆ หลังตื่นนอน 10-15 นาทีก่อนทำกิจกรรมอื่น จะช่วยให้สมองและร่างกายตื่นตัว สามารถปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดี
  • 3)จัดกิจกรรมผ่อนคลายเป็นประจำช่วง 1-2 ชั่วโมงก่อนนอน เช่น อาบน้ำอุ่น ดื่มนมหรือน้ำผลไม้ อ่านหนังสือเบา ๆ 10 นาที หรือฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาพผ่อนคลายและมีสมาธิดีขึ้น หลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมที่ตึงเครียดก่อนเข้านอน หากมีเรื่องที่ต้องคิดหรือมีความเครียดกังวลง่าย แนะนำให้ใช้เวลาช่วงสั้น ๆ หลังอาหารมื้อเย็น จดลำดับเรื่องหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เช้าและวางแผนจัดการแต่ละเรื่องอย่างคร่าว ๆ สั้น ๆ ให้ปฏิบัติทุกวันจนเกิดความเคยชิน
  • 4)ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที ช่วงเช้าตรู่หรือตอนเย็น จะช่วยลดความตึงเครียดทางร่างกายและอารมณ์ ช่วยให้หลับเร็วตื่นเร็ว แต่ไม่ควรปฏิบัติช่วงใกล้เข้านอน เพราะจะรบกวนการนอนหลับได้
  • 5)ควรใช้เตียงนอนสำหรับนอนตอนกลางคืนและกิจกรรมทางเพศเท่านั้น ไม่ควรนอนเล่นบนเตียงหรือทำกิจกรรมอย่างอื่น เช่น ทำงาน ดูโทรทัศน์หรืออ่านหนังสือ ใช้เวลาบนเตียงนอนให้น้อยที่สุดในแต่ละคืน
  • 6)จัดห้องนอนให้มืด เงียบ สบาย ปลอดภัย มีอากาศถ่ายเทสะดวก ปรับอุณหภูมิที่พอดี จะช่วยให้นอนหลับได้ดี ไม่ควรมีนาฬิการบอกเวลาในห้องนอนหรือเฝ้าดูนาฬิกาเวลานอน
  • 7)เมื่อเข้านอนนาน 15-30 นาที แล้วยังไม่หลับให้ลุกขึ้นจากที่นอน แล้วทำกิจกรรมซึ่งให้ความเพลิดเพลิน เช่น ฟังเพลงหรืออ่านหนังสือ และกลับมานอนใหม่ เมื่อรู้สึกง่วงนอนเท่านั้น หลีกเลี่ยงการดูทีวี ฟังข่าว เล่นคอมพิวเตอร์ เพราะจะเร้าความรู้สึกตื่นตัวในขณะที่อยากหลับ อย่านอนอยู่บนเตียงโดยไม่หลับจนถึงเช้า เพราะจะกระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวล
  • 8)ไม่ควรงีบหลับในตอนกลางวัน เพราะส่งผลให้นอนหลับยาก หรือตื่นบ่อยในเวลากลางคืน ถ้าจำเป็นต้องนอน ไม่ควรนอนนานกว่า 30 นาที
  • 9)หลีกเลี่ยงการใช้สารหรือยากระตุ้นประสารท ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยให้หลับ ไม่ควรดื่มคาเฟอีนเกินวันละ 2 ครั้ง หลีกเลี่ยงการดื่มชาหรือกาแฟหลังเที่ยงวัน อย่าสูบบุหรี่ก่อนนอนหรือกลางดึก
  • 10)ไม่รับประทานอาหารมื้อเย็นมาก หรือดื่มน้ำมากก่อนเข้านอน แต่ไม่ควรปล่อยให้หิวก่อนเวลานอน อาหารมื้อเย็นควรเป็นอาหารมื้อเบา ๆ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทเนื้อหรือโปรตีนมาก ๆ และหากรับประทานอาหารมื้อก่อนนอนด้วย ควรเป็นอาหารเบา ๆ เช่น นม อาหารประเภทมอลต์สกัด หรือน้ำผลไม้

3.ทำพฤติกรรมบำบัดเพื่อขจัดพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ผิดและเรียนรู้ใหม่ แพทย์จะช่วยค้นหาความคิด ความเข้าใจที่ผิดเรื่องการนอนและจัดการแก้ไข ปรับเปลี่ยนให้ถูกต้อง เช่น การยึดติดว่าต้องนอนครบ 8 ชั่วโมงจึงจะดี สร้างความเคยชินว่าห้องนอนกับการนอนหลับแทนความรู้สึกเดิม ๆ ที่เคยชินว่าห้องนอนคือนอนไม่หลับ

4.ฝึกการผ่อนคลายเพื่อลดการตื่นตัว และลดความคิด เช่น การฝึกหายใจ การฝึกคลายกล้ามเนื้อ