กระดานสุขภาพ
ความเสี่ยงและผลตรวจ | |
---|---|
26 กุมภาพันธ์ 2561 07:34:52 #1 ได้เข้าตรวจ Anti hiv หลังเสี่ยง 50วันที่โรงพยาบาลเอกชน ในใบตรวจเขียน Anti HIV : N1 by ECi Method ปะทับตรา N1 =Negative Specific : 99.92 Sense : 100.00 อยากทราบว่าการตรวจ แบบ N1 by ECi Method คือแบบไหนครับ หลัง50วันผลมีเปลี่ยนไหมครับ |
|
อายุ: 37 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 63 กก. ส่วนสูง: 168ซม. ดัชนีมวลกาย : 22.32 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
4 มีนาคม 2561 10:04:02 #2 การตรวจเลือดว่ามีภูมิต้านทานต่อไวรัสเอชไอวี (Anti-HIVanti body) เกิด ขึ้นหรือไม่ โดยมากการตรวจเบื้องต้นทางห้องปฏิบัติการจะใช้วิธีที่เรียกว่าอีไลซา (ELISA ย่อมาจาก Enzyme-linked immunosorbent assay) ถ้าเลือดผู้ป่วยมีภูมิต้านทาน (Anti-HIV anti body) เกิดขึ้น เรียกว่าเลือดบวกต่อการตรวจภูมิต้านทานต่อไวรัสเอชไอวี (Anti-HIV - POSI TIVE) แสดงว่าผู้ป่วยเคยได้ติดเชื้อมาแล้ว ในการรายงานผล เราไม่ควรเรียกว่าเลือดบวกอย่างเดียวเพราะการตรวจเลือดว่า มีผลบวกหรือลบในทางการแพทย์นั้น สามารถตรวจได้หลายโรค เช่น โรคซิฟิลิส โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น ซึ่งถ้ากล่าวเพียงว่าเลือดบวกจะไม่ทราบว่าเลือดบวกต่อโรคอะไร อาจจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดได้ ถ้าตรวจแล้วไม่พบภูมิต้านทานต่อเชื้อเอชไอวีเราเรียกว่า ผลเลือดเป็นลบต่อการตรวจภูมิต้านทานต่อไวรัสเอชไอวี (Anti-HIV - NEGATIVE) แสดงว่าคนๆนั้นไม่เคยได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายมาก่อนเลย ร่างกายจึงไม่สร้างภูมิต้านทานให้ตรวจพบได้ ผู้ที่ตรวจเลือดครั้งแรกได้ผลบวก โดยมากแพทย์จะให้ตรวจซ้ำอีกครั้งหนึ่งโดยใช้วิธีที่เรียกว่าเวสเทิร์นบลอท (Western blot) หรืออิมมูโนฟลูออเรสเซนส์แอสเส (Immunofluo rescence assay) เพื่อให้มั่นใจว่าเลือดให้ผลบวกแน่นอน การตรวจวิธีเหล่านี้มีจุดอ่อนที่ทำให้ ผลเป็นลบทั้งๆที่ได้รับเชื้อเอชไอวีเข้ามาในร่างกายเรียบร้อยแล้ว เมื่อตรวจในช่วงที่ร่างกายยังไม่สร้างภูมิต้านทาน ทั้งนี้เป็นเพราะร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 3 - 12 สัปดาห์ในการสร้างภูมิต้านทาน (ระยะเวลาในแต่ละคนไม่เท่ากัน) ถ้าตรวจเลือดในช่วงนี้จะไม่พบ และจะทำให้เข้าใจผิดว่าไม่ได้ติดเชื้อ ระยะเวลาช่วงนี้เรียกว่า Window period |
Anonymous