กระดานสุขภาพ

ผิวหน้าแบบนี้รักษาอย่างไรดีคะ?
Anonymous

15 มกราคม 2561 14:00:51 #1

http://haamor.com/media/images/webboardpics/52870-41154.jpg

ช่วยแนะนำด้วยนะคะ หาหมอมาหลายที่แล้วค่ะ
อายุ: 15 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 41 กก. ส่วนสูง: 163ซม. ดัชนีมวลกาย : 15.43 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

18 มกราคม 2561 19:48:45 #2

จากรูปที่ส่งมาคือผิวมีลักษณะรูขุมขนกว้าง มีสิวอุดตัน ซึ่งจากอายุของคุณ การเป็นสิวพบได้บ่อยในวัยรุ่น

สิวเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่ไม่มีสูตรตายตัวในการรักษา วิธีรักษาสิวในปัจจุบันอาจแบ่งออก เป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆคือ กลุ่มยาอนุพันธุ์ของวิตามินเอ กลุ่มยาปฏิชีวนะ กลุ่มยาฮอร์โมน การใช้เล เซอร์/แสง การผลัดเซลล์ผิวด้วยกรดผลไม้ และการกดสิวการเลือกวิธีรักษาต้องคำนึงถึงประเภท ของสิว ความรุนแรง และความเหมาะสมต่อผิวของแต่ละคน รวมถึงปัจจัยอื่นๆของผู้เป็นสิวร่วมด้วย

กลุ่มยาอนุพันธุ์ของวิตามินเอ แบ่งได้เป็น

  • ยาทากลุ่มอนุพันธุ์วิตามินเอ อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาทากลุ่มเรตินอยด์ (Retinoid) เป็นยาหลักที่สำคัญที่สุดสำหรับการรักษาสิวในปัจจุบัน โดยช่วยลดการขับซีบัมส่วนเกิน ลดการอุดตัน และยังมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบของสิวด้วย ข้อเสียของยาในกลุ่มนี้คือ ทำให้เกิดการระ คายเคือง ผิวแดง หรือลอกเป็นขุยได้บ่อย ซึ่งอาจป้องกันโดยทายาในปริมาณน้อยๆเริ่มจากทายาเพียงคืนเว้นคืนก่อน
  • ยารับประทาน Isotretinoin เป็นยารับประทานในกลุ่มอนุพันธุ์ของวิตามินเอ ออก ฤทธิ์ในลักษณะเดียวกับยาทา แต่ยับยั้งการขับของซีบัมและยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย P.Acnes ได้ดีกว่า แต่เนื่องจากมีผลข้างเคียงหลายประการ จึงเหมาะกับผู้ที่มีสิวขั้นรุนแรงเท่า นั้น ผลข้างเคียงรุนแรงที่ควรทราบคือ ทำให้เด็กในครรภ์พิการแต่กำเนิดได้หากรับประทานใน ขณะตั้งครรภ์ เอนไซม์ตับสูงขึ้น ซึมเศร้า ไขมันในเลือดสูงขึ้น และผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยเช่น ปากแห้ง ตาแห้ง เลือดกำเดาไหล เป็นต้น

กลุ่มยาปฏิชีวนะ แบ่งเป็น

  • ยาปฏิชีวนะแบบทา ช่วยลดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย P.Acnes ที่ผิวหนัง ส่งผลให้เกิดสิวอักเสบลดลง โดยยาที่ใช้กันมากคือยา Erythromycin, Clindamycin และ Isotretinoin ในปัจจุบันมีการใช้ยาผสมระหว่าง Benzoyl peroxide และ Erythromycin หรือ Clindamycin พบว่าช่วยลดอัตราเชื้อดื้อยาและได้ผลการรักษาที่ดีขึ้น ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในยากลุ่มนี้คือ การระคายเคืองที่ผิวหนัง
  • ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน ได้ผลเช่นเดียวกับแบบทา แต่มักเห็นผลได้เร็วกว่า แต่มีข้อเสียคือ ทำให้เกิดการดื้อยาหรือเชื้อดื้อยาได้มากกว่า และมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้มากกว่าซึ่งขึ้นกับแต่ละชนิดของยาปฏิชีวนะนั้นๆ ยาปฏิชีวนะที่ถูกนำมาใช้รักษาสิวอักเสบกันมากคือ Doxycycline, Erythromycin, Minocycline และ Tetracycline

กลุ่มยาฮอร์โมน ได้แก่

  • ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดที่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย (Anti-androgen) ถูกนำมาใช้ในการรักษาสิวที่เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนได้ผลดีในบางราย แต่อาจมีผล ข้างเคียงจากฤทธิ์ของฮอร์โมนเช่น น้ำหนักขึ้น ปวดศีรษะ บวมน้ำ และห้ามรับประทานในผู้ที่มีประวัติโรคเลือดแข็งตัวง่าย โรคหลอดเลือดหัว ใจ โรคมะเร็งเต้านม และโรคตับ
  • ยากลุ่ม Spironolactone เป็นยาขับปัสสาวะที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง แต่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชายหรือ Anti-androgen ด้วย จึงถูกนำมาใช้รักษาสิวที่เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน โดยใช้ในปริมาณยาที่ต่ำกว่าการรักษาความดันโลหิตสูง ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตต่ำ ผู้สูงอายุ ผลข้างเคียงจากยาคือ ปัสสาวะบ่อยและอาจมีการเสียสมดุล ของเกลือแร่ในร่างกายได้

การใช้เลเซอร์/แสง

การใช้เทคโนโลยีเลเซอร์หรือแสงต่างๆเพื่อรักษาสิว เริ่มขึ้นเมื่อมีการค้นพบว่า เชื้อแบคทีเรีย P.Acnes มีการสังเคราะห์เม็ดสีที่เรียกว่า พอร์ไฟรินส์ (Porphyrins) ซึ่งแสงในบางช่วงคลื่นจะถูกดูดซึมโดยพอร์ไฟรินส์ได้มากส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียตาย เมื่อปริมาณเชื้อแบคทีเรียลดลงจำนวนสิวอักเสบก็ลดลงตามไปด้วย และยังพบด้วยว่าเลเซอร์/แสงในบางช่วงความยาวคลื่นช่วยลดการขับของซีบัมส่วนเกินลงจึงทำให้เกิดสิวอุดตันลดลงอีกด้วย

การผลัดเซลล์ผิวด้วยกรดผลไม้

กรดผลไม้หรือเอเอชเอ (Fruit acid หรือ AHA, Alpha hydroxyl acid) เข้มข้น มีคุณสมบัติช่วยผลัดเซลล์ผิวหนังกำพร้าชั้นบน ช่วยลดความหนืดเกาะตัวกันของหนังกำพร้า จึงส่งผลลดการอุดตันของซีบัมได้ดี ในบางการศึกษาพบว่าช่วยลดสิวอักเสบได้ดีเช่นกัน กรดผลไม้ ที่ถูกนำมาใช้บ่อยคือ Glycolic acid และ Salicylic acid การรักษาด้วยวิธีนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หากนำมาใช้เองโดยเทคนิคที่ไม่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตา ผิว หรือแผลเป็นถาวร ได้

การกดสิว

เป็นวิธีการรักษาที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณจวบจนปัจจุบัน มีทั้งการใช้เครื่อง มือกดสิวกดโดยตรงบนหัวสิวที่เปิดแล้ว การเปิดหัวสิวด้วยเข็มแล้วกด รวมถึงการประยุกต์ใช้เล เซอร์เพื่อเปิดสิวที่หัวใหญ่แล้วจึงกดด้วยเครื่องมือกดสิวซึ่งการกดสิวมีความเสี่ยงต่อการเกิดรอยช้ำหรือแผลเป็นได้ หากเทคนิคหรือเครื่องมือที่ใช้ไม่เหมาะสม

ในการรักษาควรพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมค่ะ

การดูแลตนเองและการพบแพทย์เมื่อเป็นสิวได้แก่

  1. ห้ามแกะหรือกดสิวด้วยตนเอง เพราะการกดที่ไม่ถูกวิธีและการแกะสิวมักก่อให้เกิดแผล เป็นโดยเฉพาะหลุมสิว
  2. หลายการศึกษาพบว่า การเลี่ยงอาหารที่มีค่าไกลซีมิกอินเดกซ์สูง (Glycemic index คือ ตัวบ่งชี้ว่า อาหารชนิดใดเมื่อกินแล้วส่งผลให้มีน้ำตาลกลูโคลสในเลือดสูงทันที) เช่น เค้ก คุกกี้ ขนมหวาน รวมถึงนมวัว อาหารทะเล และอาหารไขมันทรานส์สูง (Trans fat หรือ Trans fatty acid คือไขมันที่มีส่วนผสมของไฮโดรเจน) เช่น เนยเทียม ครีมเทียมบางชนิด ฟาสต์ฟูต อาหารทอด และอาหารสำเร็จรูปบางชนิด ให้ผลไม่ดีกับผู้ที่มีปัญหาสิว
  3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอจะส่งผลให้ระบบฮอร์โมนทำงานไม่สมดุลและมีปริมาณสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น
  4. ฝึกผ่อนคลายความเครียดเช่น ด้วยการนั่งสมาธิหรือการฝึกการหายใจ (Breathing exer cise)
  5. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าที่ระบุว่าไม่เป็นตัวก่อสิว “Non-comedogenic” คือไม่ก่อให้เกิดสิวอุดตัน และเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมัน (Oil-based) เป็นส่วนประกอบหลัก
  6. ล้างหน้าวันละ 2 ครั้งตามปกติไม่จำเป็นต้องล้างบ่อยจนเกินไป เพราะสิวไม่ได้เกิดจากความสกปรกอย่างที่เข้าใจกันแต่อย่างใด แต่สำหรับในคนที่หน้ามันมากอาจล้างเพิ่มระ หว่างวันด้วยน้ำเปล่าซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการเสียสมดุลของค่ากรดด่างของผิวหน้า (พีเอช หรือ pH) และเซลล์ชั้นปกป้องผิวแต่อย่างใด