กระดานสุขภาพ
ปรึกษาการฉีดวัคซีนซ้ำ | |
---|---|
31 ธันวาคม 2560 08:43:47 #1 สวัสดีครับ รบกวนสอบถามอีกหน่อยครับ ถ้าสมมติว่าหากน้ำลายแมวกระเด็นใส่ตาเรา 1 หนด แต่เราฉีดวัคซีนกระตุ้นไป 1 เข็มไม่มีเข็มต่อไป และไปฉีดเมื่อวันจันทร์ที่ 25-12-60 โดนกระเด็นใส่วันพฤหัสบดีที่ 28 -12-60 (หลังจากฉีดไป 3 วัน) แบบนี้เราต้องไปฉีดซ้ำไหมครับ วันที่ไปฉีดหมอให้ยาฆ่าเชื้อให้มากินด้วยครับ ยังกินไม่หมดเลยครับ ถ้ากินต่อไปก็ได้ใช่ไหมครับ |
|
อายุ: 24 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 95 กก. ส่วนสูง: 187ซม. ดัชนีมวลกาย : 27.17 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
31 ธันวาคม 2560 14:56:04 #2 ไม่ต้องฉีดซ้ำค่ะ และรับประทานยาที่ได้มาต่อได้ค่ะ |
Salu*****g |
4 มกราคม 2561 07:27:38 #3 ขออนุญาตถามเป็นความรู้ครับ ที่ไม่ต้องไปฉีดซ้ำเป็นพราะช่วงเวลาที่เกิดเหตุนั้น หลังจากการไปฉีดยากระตุ้นเข็มเดียว เพียง ๓ วันใช่ไหมครับ และยามันจะต้านเชื้อโรค (ในกรณีที่มี) ได้ใช่ไหมครับ |
Salu*****g |
4 มกราคม 2561 10:01:54 #4
สวัสดีครับ ขอแจ้งคุณหมอนิดนึงครีบ เคยได้รับวัคซีนครบไปแล้วเมื่อประมาณปลายปี 59 แต่ปลายปี 60 ช่วงเดือนต้นธันวามีเหตุครับ แพทย์เลยพิจารณาฉีกกระตุ้นไป 2 เข็มก่อน (ช่วงวันที่ 7 และ 9 ธ ค 60) ต่อมามีเหตุอีก 25 ธ ค 60 แพทย์เลยฉีดกระตุ้น 1 เข็ม (รวมแล้วเดือน ธ ค โดนฉีดกระตุ้นไป 3 เข็มครับ) แบบนี้ก็จะเข้าข่ายไม่ต้องฉีดซ้ำในกรณีนี้ใช่ไหมครับ
ขอบคุณครับ
|
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
5 มกราคม 2561 18:24:41 #5 โรคพิษสุนัขบ้าพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น
ในประเทศที่พัฒนาแล้วแทบไม่พบว่าสุนัขและสัตว์เลี้ยงในบ้านชนิดอื่นๆเป็นสาเหตุของโรค เนื่องจากมีการควบคุมการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยงอย่างเข้มงวด ไม่มีสัตว์จรจัด สัตว์ที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ (มากกว่า 90%) จึงเป็นสัตว์ป่า เช่น แรคคูน สกั๊ง สุนัขจิ้งจอก และที่สำคัญคือค้างคาว ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย สุนัขยังคงเป็นสาเหตุที่สำคัญ โดย 96% ของผู้ป่วยไทยติดเชื้อมาจากสุนัขอีก 3 - 4 % มาจากแมว
คนจะติดเชื้อจากสัตว์เหล่านี้ได้โดย
ข้อบ่งใช้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าคือ ใช้สำหรับป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในเด็กและในผู้ใหญ่ ทั้งแบบป้องกันล่วงหน้าก่อนถูกสัตว์กัด (Pre-exposure vaccination) หรือใช้หลังสัมผัสโรค/เมื่อถูกสัตว์กัด/สัตว์เลียแผล (Post-exposure vaccination) ดังนี้
1. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบป้องกันล่วงหน้า (Pre-exposure vaccination) มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าดังนี้
ประโยชน์ของการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสนี้ มีประโยชน์หลายประการเช่น ในผู้ที่จำเป็นต้องสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำ การฉีดวัคซีนฯเพื่อป้องกันจะทำให้ระดับภูมิคุ้มกันโรคฯสูงพอที่ป้องกันการติดเชื้อฯในกรณีที่ไปสัมผัสโรคฯที่อาจไม่รู้ตัว อีกทั้งยังทำให้การรักษาภายหลังสัมผัสโรคฯมีค่าใช้จ่ายลดลงและมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น เพราะผู้ป่วยที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน กรณีได้รับบาดเจ็บจากสัตว์สามารถรับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ากระตุ้นเพิ่มเติมอีก 1 - 2 ครั้งเท่านั้นและไม่จำเป็นต้องให้ยาอิมมูโนโกลบุลิน แม้การสัมผัสโรคจะรุนแรงคือเกิดบาดแผลที่มีเลือดไหล
2. การฉีดวัคซีนนี้ป้องกันหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า (Post-exposure vaccination) มีจุด ประสงค์เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรคฯ ขนาดและตารางเวลาในการฉีดวัคซีนสำหรับป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในเด็กและในผู้ใหญ่จะเหมือนกัน ดังนั้นจึงสามารถปฏิบัติตามตารางเวลาในการฉีดวัคซีนได้ทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยผู้ใหญ่ โดยวิธีการฉีดวัคซีนจะแตกต่างกันตามจุดประสงค์ในการฉีดดังนี้ 1. การฉีดแบบป้องกันล่วงหน้า (Pre-exposure immunization) ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่: แนะ นำให้ฉีดวัคซีนทั้งสิ้น 3 เข็มโดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ณ วันที่ 0 (เข็มที่ 1), ณ วันที่ 7 (เข็มที่ 2) และ ณ วันที่ 21 หรือ 28 (เข็มที่ 3) เมื่อฉีดครบทั้งสิ้น 3 เข็มถือว่าครบวัคซีนชุดแรก (Primary vaccination) โดยวันที่ฉีดอาจคลาดเคลื่อนได้บ้างเล็กน้อย 1 - 2 วัน 2. การฉีดวัคซีนกระตุ้นหลังได้รับวัคซีนแบบป้องกันล่วงหน้าทั้งในเด็กและผู้ใหญ่: ภายหลังได้รับวัคซีนชุดแรก (Primary vaccination) ครบ 1 ปีแล้ว ให้ทำการฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำอีก 1 เข็ม จากนั้นกระตุ้นซ้ำทุกๆ 5 ปี ทั้งนี้อาจพิจารณาการฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าสูง ซึ่งจะทำการฉีดเข็มกระตุ้นซ้ำเมื่อทำการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันแล้วต่ำกว่า 0.5 ยูนิต/มิลลิลิตร 3. การฉีดแบบป้องกันหลังสัมผัสโรค (Post-exposure immunization) ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่: วิธีการฉีดวัคซีนสำหรับการป้องกันหลังสัมผัสโรคคือ ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular) หรือฉีดเข้าในผิวหนัง (Intradermal) โดยให้ฉีดวัคซีนในช่วง 14 วันแรกภายหลังสัมผัสโรคเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค ดังนั้นผู้ป่วยควรมารับวัคซีนให้ตรงตามตารางเวลาที่กำหนดเสมอ กรณีมาผิดนัดโดยทั่วไปจะทำการฉีดวัคซีนเข็มต่อไปเลยโดยไม่ต้องเริ่มการฉีดวัคซีนใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ร่วมด้วย 3.1 วิธีฉีดสำหรับป้องกันหลังสัมผัสโรคทั้งในเด็กและผู้ใหญ่: ก.กรณีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular):
ข. กรณีฉีดเข้าในผิวหนัง (Intradermal): การฉีดด้วยวิธีนี้มีข้อจำกัดโปรดศึกษาหัวข้อ “วิธีบริหารวัคซีนฯ” เพิ่มเติม
3.2 กรณีผู้ป่วยมีการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าซ้ำในช่วงที่กำลังได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอยู่: ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันอีก เพราะพบว่าขณะนั้นผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันเพียงพอในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอยู่แล้วและไม่จำเป็นต้องฉีดยาอิมมูโนโกลบุลินป้องกันเชื้อพิษสุนัขบ้า |
Salu*****g |
6 มกราคม 2561 05:15:58 #6 อย่างนี้ ผมสรุปได้ว่า เดือนธันวาคม ๒๕๖๐ ผมฉีดกระตุ้นไป 3 เข็มเลย แบบนี้ไม่ต้องฉีดซ้ำใช่ไหมครับ เพราะมีภูมิคุ้มกันแล้ว ขอบคุณครับ |
Salu*****g |
6 มกราคม 2561 05:26:57 #7 อย่างนี้ ผมสรุปได้ว่า เดือนธันวาคม ๒๕๖๐ ผมฉีดกระตุ้นไป 3 เข็มเลย แบบนี้ไม่ต้องฉีดซ้ำใช่ไหมครับ เพราะมีภูมิคุ้มกันแล้ว ขอบคุณครับ (เป็นการกระตุ้นจากที่เคยฉีดหลัง 6 เดือน ครั้งแรก 2 เข็ม วันที่ 4 และ 7 ธันวา กระตุ้นครั้งที่ 2 วันที่ 25 ธ ค 60 เกิดเหตุ 28 ธ ค.60 - ห่างจากวันฉีดกระตุ้นล่าสุด 3 วัน แสดงว่ามีภูมิคุ้มกันแล้ว ไม่น่าจะมีอะไรใช่ไหมครับ ไม่ต้องฉีดแล้วใช่ไหมครับ |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
7 มกราคม 2561 04:47:54 #8 ค่ะ ไม่ต้องฉีดซ้ำค่ะ |
Salu*****g