กระดานสุขภาพ
ปวดท้องด้านซ้ายล่าง | |
---|---|
31 ธันวาคม 2560 01:12:45 #1 อาการ : ปวดท้องด้านซ้ายล่าง (ต่ำกว่าสะดือ) ปวดแบบเมื่อเกร็งหรือทำอะไรที่เกี่ยวกับด้านซ้าย เช่น การยกขาซ้าย , นั่งแบบยืดตัว , กดที่จุดซ้ายล่าง ก็จะปวดค่ะ ก่อนเกิดอาการ : ทานสุกี้หมูที่ทำเองค่ะ วัตถุดิบคิดว่าน่าจะสะอาดเพราะซื้อจากซุปเปอร์มาร์เก้ตในห้าง วัตถุดิบที่ใส่ลงไปมี วุ้นเส้น , หมูเบคอนเป็นแพค , หมูชิ้นดิบ , ไข่ , ผักบุ้ง (แช่น้ำก่อนต้ม) , น้ำจิ้มซีฟู้ด , ชานม ช่วงหลังรับประทานสักหนึ่งถึงสองชั่วโมงก็ยังไม่มีอาการปวดค่ะ ก็ปิดหม้อทิ้งไว้แล้วมาต้มกินต่อ ช่วงเย็นดิฉันได้มีเพศสัมพันธ์กับแฟนแบบป้องกัน แต่ยังไม่มีอาการปวดทั้งหลังและก่อนทำ จนเมื่อตกดึกมีอาการดังกล่าวข้างต้นค่ะ ทำให้นอนไม่ค่อยหลับ แล้วอาการก็เป็นไปเรื่อยๆจนเริ่มได้ผายลมก็บรรเทาอาการปวดลงแล้วก็นอนจนหาย แต่เป็นอาการใจเต้นแรง เหงื่อออกตามมือ มือเท้าเย็น สั่นเล็กน้อย รู้สึกหนาวเล็กน้อย ทำให้นอนหลับๆตื่นๆค่ะ ตอนออกมาดื่มน้ำกลางดึกก็ยังเป็นอยู่ จนเกือบเช้าก็หายปวดและหายหนาวสั่น ใจเต้นปกติ ไม่มีเหงื่อออกค่ะ เคยปวดท้องด้านซ้ายนะคะแต่เป็นที่ข้างสะดือแบบกดแล้วเจ็บ ช่วงก่อนหน้านั้นดื่มน้ำอัดลมไปด้วยค่ะ จนได้ผายลมก็บรรเทาอาการปวดลงเช่นกันค่ะ กลัวจะเป็นลำไส้แปรปรวน เพราะเวลาทานอาหารแต่ละวันไม่ค่อยตรงกัน เช่น บางวันไม่ใช่ช่วงเวลาที่เคยรับประทานแต่ก็ทาน บางวันก็ไม่ได้รับประทานอาหารเช้า มีเครียดบ้าง //อาจจะพิมพ์ยาว พิมพ์ตกหล่น ไปหน่อยนะคะ ขอโทษด้วยค่ะ // รบกวนคุณหมอช่วยวินิจฉัยด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ |
|
อายุ: 21 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 36 กก. ส่วนสูง: 153ซม. ดัชนีมวลกาย : 15.38 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
2 มกราคม 2561 11:09:54 #2 แพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุอาการปวดท้องได้จาก ประวัติลักษณะอาการปวด ตำแหน่งที่เกิดอาการ อาการร่วมอื่นๆ ร่วมกับ การตรวจร่างกายและอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับอาการของผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) เพื่อดูการอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย การตรวจภาพช่องท้องด้วยเอกซเรย์ธรรมดา หรือ อัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การส่องกล้องตรวจอวัยวะในช่องท้องและอาจมีการตัดชิ้นเนื้อจากเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา วินิจฉัยจากลักษณะอาการปวดท้อง เช่น เมื่อปวดแบบปวดบิด เป็นพักๆ มักเกิดจากโรคของอวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อ เช่น ลำไส้ หรือ ท่อไต ตำแหน่งที่ปวดท้อง คือ โดยทั่วไปมักแบ่งตำแหน่งของช่องท้องได้เป็น 7 ส่วน คือ เมื่อใช้สะดือเป็นจุดศูนย์กลาง จะแบ่งช่องท้องเป็น ช่องท้องส่วนบน(ส่วนอยู่เหนือสะดือ) และช่องท้องส่วนล่าง (ส่วนอยู่ต่ำกว่าสะดือ) ซึ่งเมื่อร่วมกับการแบ่งช่องท้องตามยาว จากเส้นสมมุติกลางลำตัว ที่จะแบ่งช่องท้องเป็นซีกซ้าย และซีกขวา ดังนั้นเมื่อร่วมการแบ่งด้วยสะดือ และเส้นแบ่งกลางลำตัวเข้าด้วยกัน ช่องท้องจะแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนด้านซ้ายตอนบน ส่วนด้านซ้ายตอนล่าง ส่วนด้านขวาตอนบน และส่วนด้านขวาตอนล่าง และเพิ่มอีก 3 ส่วน คือ ส่วน หรือ บริเวณ ใต้ลิ้นปี่ หรือ ยอดอก(Epigastrium) บริเวณรอบสะดือ และบริเวณเหนือกระดูกหัวหน่าว(กระดูกตรงกลางด้านหน้า และอยู่ล่างสุดชองช่องท้อง) ซึ่งเมื่อมีอาการปวดท้องในตำแหน่งเหล่านี้ มักเป็นตัวชี้นำว่า น่ามีโรคของอวัยวะต่างๆที่อยู่ในตำแหน่งเหล่านี้
อาการร่วมอื่นๆ อาการปวดท้องอาจเกิดร่วมกับอาการอื่นๆได้ ที่พบบ่อย คือ
|
Anonymous