กระดานสุขภาพ

จูบแลกลิ้น ทำให้ติด h.pylori ไหมครับ
Anonymous

17 พฤศจิกายน 2560 10:44:09 #1

จูบแลกลิ้น ทำให้ติด h.pylori ไหมครับ

ถ้านํ้าลายลงไปในกระเพราะ

อายุ: 32 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 54 กก. ส่วนสูง: 173ซม. ดัชนีมวลกาย : 18.04 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

20 พฤศจิกายน 2560 17:35:45 #2

เชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือย่อว่า เอชไพโลไร (Helicobacter pylori หรือย่อว่า H.pylori) เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งการติดต่อเกิดขึ้นระหว่างคนสู่คน เชื้อที่เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะไปอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหาร และทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการ แต่ในบางราย เชื้ออาจทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น รวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย ซึ่งมียาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อนี้ สำหรับรัก ษาให้โรคติดเชื้อนี้หายได้

พยาธิกำเนิดหรือกลไกในการติดเชื้อเอชไพโลไร ได้แก่ เมื่อคนเรากินอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียนี้เข้าไปแล้ว เชื้อก็จะเข้าสู่กระเพาะอาหารของเรา และใช้หนวดที่ยื่นยาว (Flagellum ) รวมถึงรูปร่างที่เป็นเกลียว ช่วยในการเคลื่อนไหวตัวเข้าไปอยู่ในชั้นเยื่อเมือก (Mucous) ที่เคลือบอยู่บนเยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร และเข้าไปเกาะอยู่กับเซลล์เยื่อบุผิว ทั้งนี้การอยู่ในชั้นเยื่อเมือก จะช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียถูกขับออกไปจากกระเพาะอาหาร จากการบีบรัดตัวของกระเพาะอาหารเวลาย่อยอาหาร อีกทั้งค่าความเป็นกรดในชั้นเยื่อเมือกนี้ก็จะไม่เป็นกรดมากเท่าบริเวณที่อยู่นอกชั้นเยื่อเมือก นอกจากนี้แบคทีเรียนี้ยังมีเอนไซม์ชื่อ Urease ที่สามารถย่อยสลายสารยูเรียที่มีอยู่ในกระเพาะอาหาร ให้กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และแอมโมเนีย ซึ่งช่วยให้เกิดภาวะความเป็นด่าง ช่วยทำให้ความเป็นกรดรอบๆตัวของแบคทีเรียอ่อนลงได้ แบคทีเรียชนิดนี้จึงสามารถเอาตัวรอดอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของเราได้

เมื่อมีแบคทีเรียเข้ามาในร่างกาย ร่างกายก็พยายามจะกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ทั้งการส่งเม็ดเลือดขาว และสร้างแอนติบอดี/สารภูมิต้านทาน (Antibody) มาเพื่อทำลายแบคทีเรีย แต่ก็ไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียนี้ได้

เชื้อ เอช ไพโลไร มีอยู่หลายชนิดย่อย แต่ละชนิดย่อยมีความแตกต่างในการสร้างชนิดโปรตีน และสารเคมีที่มีปฏิกิริยาต่อเซลล์เยื่อบุผิวที่แตกต่างกันไป แต่โดยภาพรวมแล้ว โปรตีนและสารเคมีที่สร้างขึ้นมา จะไปกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆที่อยู่ในกระแสเลือด เดินทางมาที่บริเวณเซลล์เยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร และปล่อยสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบออก มา เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารก็จะเกิดการอักเสบ เชื้อชนิดย่อยๆบางชนิด สามารถกระตุ้นการอักเสบได้รุนแรง และทำให้มีโอกาสเป็นแผลในกระเพาะอาหารหรือในลำไส้เล็กส่วนต้นได้มาก กว่าชนิดย่อยๆอื่นๆ เช่น ชนิดย่อยที่มีสารพันธุกรรมที่เรียกว่า Cag pathology island (cag PAI )

ดังนั้นในผู้ที่ติดเชื้อ เอช ไพโลไร ทุกราย จะมีการอักเสบของเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารเกิดขึ้น เรียกว่า กระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) ซึ่งการอักเสบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อ และชนิดย่อยของเชื้อ ทั้งนี้ การอักเสบจะเกิดขึ้นตลอดเวลาที่ยังมีเชื้ออยู่ ใน ขณะที่มีผู้ติดเชื้อเพียง 15% ที่จะเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer) หรือแผลในลำ ไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal ulcer) ที่รวมเรียกว่า แผลเปบติค (Peptic ulcer) หรือกลายเป็นมะ เร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งการจะเกิดโรคเหล่านี้ ต้องมีปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ทั้งปัจจัยจากเชื้อแบคทีเรีย ที่มักเกิดจากชนิดย่อยที่มีความรุนแรงในการทำให้เกิดการอักเสบ, ปัจจัยจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคในผู้ติดเชื้อแต่ละคน, และปัจจัยภายนอกอื่นๆที่ร่วมกระตุ้นให้เกิดโรคนั้นๆได้มากขึ้น เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การดื่ม ชา กาแฟ การกินยาแก้ปวดลดอักเสบกลุ่ม เอ็นเสด (NSAIDs) การสูบบุหรี่ การกินอาหารที่มีสารไนโตรซามีน (Nitosa mine) ซึ่งมักพบในปลาเค็ม แหนม ไส้กรอก หมูยอ ปลาส้ม เป็นต้น

กลไกในการเกิดแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum) เริ่มจากเมื่อมีการอักเสบของเยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะบริเวณกระเพาะอาหารส่วนปลาย (Antrum) ทำให้เซลล์เยื่อบุผิวชนิดที่สร้างฮอร์โมน Somatostatin มีจำนวนลดลง ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะไปยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน Gastrin เมื่อการสร้างฮอร์โมน Somatostatin ลดลง ฮอร์โมนGastrin ก็จะเพิ่มขึ้น ฮอร์โมน Gastrin นี้จะไปกระตุ้นเซลล์เยื่อบุผิวชนิดที่หลั่งกรด ให้หลั่งกรดมากขึ้น อา หารจากกระเพาะอาหารที่มีความเป็นกรดสูง ก็จะเคลื่อนสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยปกติเยื่อบุผิวของลำไส้เล็กจะไม่ทนต่อความเป็นกรดสูงๆ เมื่อโดนความเป็นกรดสูงๆจากอาหารเข้าบ่อยๆ ลำ ไส้เล็กก็จะสร้างเซลล์เยื่อบุผิวขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีรูปร่างและคุณสมบัติเช่นเดียวกับเซลล์เยื่อบุกระ เพาะอาหาร เรียกว่าเกิด Gastric metaplasia เชื้อเอช ไพโลไร จากกระเพาะอาหารก็จะเข้ามาเกาะที่เซลล์เยื่อบุผิวชนิดใหม่ที่ลำไส้เล็กส่วนต้นสร้างขึ้นนี้ และทำให้เกิดการอักเสบจนกลาย เป็นแผลได้ในที่สุด

ในผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหาร เริ่มต้นจากมีการอักเสบของเยื่อบุผิวบริเวณกระเพาะอาหารส่วนกลาง (Corpus) หรือมีการอักเสบในทั้งสามส่วนของกระเพาะอาหาร (ทั้ง Fundus/ส่วนต้น, Corpus/ส่วนกลาง และ Antrum/ส่วนปลาย) เซลล์เยื่อบุผิวชนิดที่หลั่งกรด ซึ่งอยู่บริ เวณกระเพาะอาหารส่วนต้นและส่วนกลาง จะมีปริมาณลดลง และทำให้การหลั่งกรดลดลงไปด้วย ซึ่งแตกต่างจากผู้ป่วยที่มีแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นที่การหลั่งกรดจะเพิ่มขึ้น แผลมักจะเกิดบริเวณรอยต่อของกระเพาะอาหารส่วนกลางและส่วนปลาย ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการอักเสบมาก

เซลล์เยื่อบุผิวชนิดที่หลั่งกรด ยังมีหน้าที่หลั่งสารที่เรียกว่า Intrinsic factor ซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการดูดซึมวิตามินบี 12 ที่ลำไส้เล็กส่วนปลาย ซึ่งวิตามินชนิดนี้ มีความสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ซึ่งเมื่อมีการอักเสบของกระเพาะอาหาร จึงมีจำนวนเซลล์ชนิดนี้ลดลง จึงส่งผลให้การดูดซึมวิตามินบี 12 ลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางชนิด Pernicious anemia (โลหิตจางจากขาดวิตามินบี 12) ได้ นอกจากนี้ หากการหลั่งกรดลดลงมาก กระเพาะอาหารก็จะอยู่ในสภาพที่แทบไม่มีความเป็นกรด (Hypochlorhydria) ซึ่งมีผลให้การดูดซึมธาตุเหล็กที่ลำไส้เล็กลดลงเช่นกัน ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency anemia) ร่วมได้อีกด้วย

การอักเสบของเยื่อบุผิวของกระเพาะอาหารที่เกิดต่อเนื่องยาวนาน ทำให้สารพันธุกรรมบางตัวถูกทำให้เสียหาย หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงไป หากมีจำนวนเซลล์ที่มีสารพันธุกรรมที่เสียหาย หรือมีการเปลี่ยนแปลงนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็มีโอกาสพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ในที่ สุด โดยจะเกิดเป็นมะเร็งของเยื่อบุผิวชนิด Adenocarcinoma (มะเร็งกระเพาะอาหาร) หรือ มะ เร็งต่อมน้ำเหลืองของกระเพาะอาหาร ชนิด Mucosa-associated lymphoid tissue lympho ma (MALT lymphoma)

นอกจากนี้ มีรายงานว่า การติดเชื้อ H.pylori อาจมีความเกี่ยวข้องในการทำให้เกิดโรคอื่นๆด้วย เช่น โรค/ภาวะเกล็ดเลือดต่ำชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic thrombocytopenic purpura) โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง แต่หลักฐานและพยาธิสภาพในการเกิดโรคมะเร็งเหล่านี้ยังไม่ชัดเจน ต้องรอการศึกษาต่อไป

ผู้ที่ติดเชื้อเอชไพโลไรเข้าไปแล้ว จะเกิดพยาธิสภาพของกระเพาะอาหารอักเสบ แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ ในบางรายที่มีอาการ ก็จะมีอาการเหมือนอาการของโรคกระเพาะอาหารจากทุกสาเหตุ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียดลิ้นปี่ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย บางรายอาจมีอาการอิ่มเร็วหลังกินอาหาร หรือมีอาการหิวมากในตอนเช้าที่ตื่นนอน

ในผู้ป่วยบางราย เมื่อมีการอักเสบที่รุนแรงเกิดขึ้น จนเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (แผลเปบติก) อาการดังกล่าวข้างต้น ก็จะรุนแรงมากขึ้น นอกจาก นี้ อาจมีถ่ายอุจจาระเป็นสีดำมีลักษณะเหมือนยางมะตอยได้ (อุจจาระเป็นเลือด) จากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก อาจมีเลือดออก ซึ่งส่วนใหญ่เลือดจะค่อยๆซึมออกจากแผลเมื่อเลือดค่อยๆไหลผ่านลำไส้ใหญ่ ธาตุเหล็กซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเม็ดเลือดแดง จะทำปฏิ กิริยากับอากาศ ทำให้มองเห็นเป็นสีดำ เมื่อเราถ่ายอุจจาระออกมา จึงเห็นอุจจาระเป็นสีดำ

ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารจากเชื้อ เอชไพโลไร จะมีอาการของกระเพาะอาหารอักเสบที่เป็นเรื้อรัง และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การใช้ยาลดกรด และยาแก้ปวดท้อง มักไม่ช่วยให้อา การดีขึ้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร และน้ำหนักลดอย่างมีนัยสำคัญ

Anonymous

21 พฤศจิกายน 2560 09:50:11 #3

บทความผม อ่านแล้วละ

 

แต่ มันไม่ตรงกับคำถาม ผมอ่าครับ