กระดานสุขภาพ
ท้องป่อง ท้องบวม อึดอัด มีแรงต้านคล้ายลูกโป่งจะแตก | |
---|---|
7 พฤศจิกายน 2560 03:18:31 #1 ผมมีอาการ ท้องป่อง ท้องบวม เวลากดท้องจะคล้ายลูกโป่ง คือ ไม่นุ่มนิ่มแบบพุง แต่จะเด้งกลับ มีแรงต้าน อึดอัดคล้ายลูกโป่งจะแตก ใส่กางเกงแล้วนั่งไม่ได้จะมีแรงต้าน จะรู้สึกสบายเมื่อนอน บางวันก็มีอาการท้องป่อง บางวันก็ท้องราบ สลับกันไป วันที่ท้องป่องวัดรอบสะดือได้ 39 นิ้ว ส่วนวันที่ท้องราบวัดรอบสะดือได้ 34 นิ้ว ต่างกันถึง 5 นิ้ว เวลามีอาการท้องป่องจะอึดอัดมากใช้ชีวิตประจำวันแทบไม่ได้ ต้องนอนพักถึงจะรู้สึกสบาย ผมไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้าเลย ออกกำลังกายโดยการวิ่งเกือบทุกวัน วันละ 30-60 นาที รบกวนคุณหมอช่วยแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับhttp://haamor.com/media/images/webboardpics/95a1b-39635-1.jpg http://haamor.com/media/images/webboardpics/95a1b-39635-2.jpg |
|
อายุ: 32 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 85 กก. ส่วนสูง: 188ซม. ดัชนีมวลกาย : 24.05 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
7 พฤศจิกายน 2560 15:46:12 #2 จากประวัติอาการที่ปรึกษามาในเรื่องของการรู้สึกมีลมดันบริเวณช่องท้องของร่างกาย ไม่สามารถบอกสาเหตุได้ค่ะ แต่ อาจจะเป็นอาการของ อาหารไม่ย่อย หรือธาตุพิการ (Indigestion หรือ Dyspepsia) คือ อาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น อาจมีเพียงอาการเดียว หรือหลายๆอาการพร้อมกัน อาจเกิดในขณะกินอาหาร และ/หรือภายหลังกินอาหาร เช่น แน่นท้องอึดอัด เรอ แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ บางครั้งอาเจียน อาการอาหารไม่ย่อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบได้บ่อยที่สุดประมาณ 60%ของผู้มีอาการนี้ทั้งหมด คือ แพทย์หาสาเหตุไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยการตรวจด้วยวิธีใดๆก็ตาม ซึ่งรวมทั้งการตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่ง เรียกผู้ป่วยในกลุ่มนี้ว่า Functional dyspep sia นอกจากนั้นที่พบเป็นสาเหตุของอาการนี้ คือ
ปัจจัยเสี่ยงต่ออาการอาหารไม่ย่อยกลุ่มที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน (Functional dyspepsia) ที่พบบ่อย คือ
อาการจากอาหารไม่ย่อยที่พบได้บ่อย คือ
แนวทางการรักษาอาการอาหารไม่ย่อย คือ การรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาโรคแผลเปบติค หรือการปรับเปลี่ยนยา เมื่อเกิดจากผลข้างเคียงของยา เป็นต้น แต่เมื่อแพทย์วินิจฉัยเป็นอาการอาหารไม่ย่อยจากการไม่ทราบสาเหตุ แนวทางการรักษา คือ การปรับพฤติกรรมการกินอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อปัจจัยเสี่ยง การให้ยาต่างๆ เช่น ยาลดกรด ยาเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ยาช่วยย่อยอาหาร และยาขับลม/ดูดซึมแก๊สในลำไส้ ทั้งนี้ขึ้นกับอาการของผู้ป่วยและดุลพินิจของแพทย์ ถ้าอาการผู้ป่วยไม่ดีขึ้นภายใน 3-4 สัปดาห์ หรือมีอาการเลวลง หรือ มีอาการผิดปกติอื่นๆ นอกเหนือไปจากอาการเดิม เช่น อุจจาระเป็นสีดำเหมือนยางมะตอย อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลด แพทย์มักแนะนำการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้ เพื่อการวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่นอน รวมทั้งการวินิจฉัยแยกโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และโรคแผลเปบติค |
Anonymous