กระดานสุขภาพ

อาการนี้มีโอกาสเป็นมะเร็งมั้ยครับ
Anonymous

18 ตุลาคม 2560 18:18:17 #1

ผมมีอาการเจ็บบริเวณท้องน้อยครับ เวลาเกร็ง หรือลุกขึ้นนั่งจากการนอน เวลาเตะบอล จะยิ่งเจ็บครับ ถ้าอยู่เฉยๆจะหน่วงๆบริเวณท้องน้อย อาการแบบนี้ผมมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมั้ยครับ
อายุ: 21 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 177ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.15 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

23 ตุลาคม 2560 15:07:36 #2

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมักเกิดจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากเยื่อเมือกบุภายในกระ เพาะปัสสาวะมีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติจนกลายเป็นก้อนเนื้อขึ้นมา และก้อนเนื้อนี้สามารถเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆจนอาจเต็มกระเพาะปัสสาวะ ลุกลามออกไปยังต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะข้างเคียง และแพร่กระจายเข้าสู่กระแสโลหิต(เลือด)ได้
โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ พบในผู้ชายมากกว่าในผู้หญิงได้ถึงประมาณ 3 เท่า สำหรับประเทศไทยนั้น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ พบได้สูงในผู้ชายช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และในผู้ หญิงช่วงอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป

อาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ได้แก่

  • ปัสสาวะเป็นเลือดโดยไม่มีอาการเจ็บปวด ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ 75% ของผู้ป่วยมะ เร็งกระเพาะปัสสาวะ หรือในบางรายอาจมีเพียงเลือดหยดออกมาเมื่อปัสสาวะสุด หรือเมื่อตรวจปัสสาวะแล้วพบว่ามีเม็ดเลือดแดงปนมากับปัสสาวะมากผิดปกติก็ได้
  • มีอาการคล้ายกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือ ถ่ายปัสสาวะบ่อย แสบ หรือขัด
  • มีอาการปวดหลัง หรือ เกิดโรคไตเรื้อรัง หรือภาวะไตวายได้ ซึ่งเกิดจากการลุกลามของโรคมะเร็งไปอุดตันท่อไต
  • นอกจากนั้นอาจมีอาการที่เกิดจากการที่โรคแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆได้ เช่น คลำต่อมน้ำเหลืองได้ที่ขาหนีบ หรือเหนือไหปลาร้า เมื่อมีโรคกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองนั้นๆ อาจมีอาการไอ หายใจลำบากหากมีโรคกระจายไปปอด หรือมีอาการปวดกระดูก หากโรคกระจายไปกระดูก

แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ได้จาก

    • ประวัติอาการ และการตรวจร่างกาย ซึ่งอาจพบอาการปัสสาวะเป็นเลือด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และอาจพบว่ามีภาวะซีด อ่อนเพลีย และเหนื่อยง่ายจากมีเลือดออกจากก้อน มะเร็งปนมาในปัสสาวะเรื้อรัง
    • การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) ซึ่งอาจพบว่า ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจาง หรือภาวะซีดได้
    • การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ
    • เพื่อดูการทำงานของไต อาจมีการทำงานของไตผิดปกติได้
    • เพื่อดูการทำงานของตับ อาจมีการทำงานของตับผิดปกติได้
    • เพื่อดูระดับเกลือแร่ต่างๆ อาจมีระดับของเกลือแร่ต่างๆผิดปกติซึ่งจะทำให้เกิดการเสียสมดุลของเกลือแร่ได้
    • การตรวจปัสสาวะ อาจพบเม็ดเลือดแดงออกมาผิดปกติในปัสสาวะหรือตรวจปัสสาวะด้วยการตรวจทางเซลล์วิทยา ซึ่งอาจพบเซลล์มะเร็งปนออกมากับปัสสาวะได้
    • เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องอกและในปอด รวมทั้งดูการแพร่กระจายของมะเร็งสู่ปอด
    • การตรวจส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะ โดยการส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปดูในกระ เพาะปัสสาวะ และตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อ หรือจากเนื้อเยื่อที่พบผิดปกติ เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งจะเป็นการตรวจที่มีความแม่นยำที่สุดในการวินิจฉัยโรคนี้
    • การตรวจเอกซเรย์ที่เรียกว่า ไอวีพี (IVP, Intravenous pyelography) เพื่อดูการทำ งานของไต และของกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งสามารถดูขนาดของก้อนมะเร็ง และดูว่ามีท่อไตอุดตันหรือไม่ ได้ด้วย
    • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan/ซีทีสะแกน) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI /เอ็มอาร์ไอ) บริเวณช่องท้องเพื่อดูภาพอวัยวะระบบทางเดินปัสสาวะ และดูว่ามีโรคกระ จายไปยังต่อมน้ำเหลือง และอวัยวะอื่นๆในช่องท้องด้วยหรือไม่
    • การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (รังสีที่ใช้ตรวจและรักษาโรค) ที่เรียกว่า โบนสะแกน (Bone scan) เพื่อดูว่ามีโรคกระจายไปกระดูกหรือไม่