กระดานสุขภาพ

แพ้ยุง
Ibo_*****d

12 ตุลาคม 2560 15:50:01 #1

มีอาการแพ้ยุง โดนยุงกัดแต่ละครั้งจะมีอาการปวม-คันหลายอาทิตย์กว่าจะหาย บางครั้งหลายเดือน ปีกว่า ล่าสุดโดนยุงกัดมาประมาณ 6 เดือนกว่ายังไม่หาย แต่มีอาการหนักขึ้นเรื่อยๆ

จุดที่ 1 โดนกัดที่นิ้วก้อยมือขวา กัดที่เดียวกันซ้ำๆหลายครั้ง ปัจจุบันมีอาการปวมเปล่ง ถ้าทำงานมากๆจะยิ่งบวมมากขึ้น ตอนโดนกัดใช้แซมบัคทา-ทาหลายครั้ง ผมแพ้ยาหม่อง ถ้าทายาหม่องจะมีเม็ดขึ้น-ผิวใหม้ เป็มมาประมาณ 6 เดือนกว่า มีอาการมากขึ้น

จุดที่ 2 โดนกัดที่ข้อเท้าขวาจำนวน 2 จุด เป็นหลายเดือนไม่หายแต่มีอาการคันมากๆๆ จึงใช้ยาหม่องทาซ้ำๆหลายครั้ง(ทั้งที่รู้ว่าแพ้ยาหม่อง) ปัจจุบันเป็นแผลใหญ่ขึ้นเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว คันมาก-มีน้ำเหลือง-มีเม็ดแดงๆแบบเม็ดผด อาการไม่ดีขึ้น เป็นมา 6 เดือนกว่าเหมือนกัน

 

อายุ: 50 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 51 กก. ส่วนสูง: 155ซม. ดัชนีมวลกาย : 21.23 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

16 ตุลาคม 2560 08:30:12 #2

ผื่นผิวหนังอักเสบนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น เป็นผลจากโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคเซบเดิร์ม โรคผื่นแพ้สัมผัส โดยอาจเกี่ยวข้องกับทั้งพันธุกรรม

อาการของผื่นผิวหนังอักเสบขึ้นกับระยะของการเกิดโรค

โดยระยะแรกที่มีผื่นขึ้นใหม่ๆ ผิวหนังจะมีลักษณะของการอักเสบคือ จะมีผื่นแดง ผิวบริเวณผื่นจะบวม มีตุ่มน้ำเล็กๆใสๆเกิดขึ้น มีน้ำเหลืองเยิ้ม
ในระยะต่อมา น้ำเหลืองเยิ้มจากผื่นจะลดลง ผื่นแห้งขึ้นตกสะเก็ด มีอาการคัน
และถ้าผื่นผิวหนังอักเสบเกิดเป็นเวลานานหรือเรื้อรัง รวมกับมีการเกาซ้ำไปซ้ำมาจากอาการคัน ผื่นจะกลายเป็นผื่นหนา แห้ง แข็ง เห็นลายเส้นของผิวหนังชัดและมีสีคล้ำ

อนึ่ง ผื่นผิวหนังอักเสบสามารถเกิดได้กับผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย อาจเกิดตำแหน่งเดียว หรือหลายตำแหน่งพร้อมกัน ที่พบเกิดบ่อยคือตามข้อพับต่างๆ

การรักษา
ระยะเริ่มมีอาการ รักษาด้วยการประคบผื่นด้วยความเย็น ลดอาการบวม ช่วยทำให้ผื่นแห้ง ลดการเกิดน้ำเหลือง และลดอาการคัน และร่วมกับรับประทานยาแก้แพ้กลุ่ม Antihistamine เพื่อลดอาการคัน
ส่วนในระยะหลังที่น้ำเหลืองลดลง แพทย์มักให้ใช้เป็นยาทาในกลุ่มยาสเตียรอยด์เพื่อลดการอัก เสบเรื้อรังของผิว

การรักษาผื่นผิวหนังอักเสบจะต้องร่วมกับการรักษาสาเหตุด้วยเสมอ ซึ่งการรักษาสาเหตุจะแตกต่างกันในแต่ละสาเหตุเช่น การรักษาควบคุมโรคเซบเดิร์ม หรือการรักษาควบคุมโรคผื่นแพ้สัม ผัส เป็นต้น

นอกจากนั้น ผู้ป่วยต้องคอยสังเกตว่า อะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบ เพื่อการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นนั้นๆเช่น ประเภทอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง รวมไปถึงอุณหภูมิ เหงื่อ และสิ่งแวดล้อม

การดูแลตนเองเมื่อมีผื่นผิวหนังอักเสบคือ

    • พยายามเลี่ยงการเกาผื่นและตัดเล็บให้สั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนจากการเกา
    • หลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ของผิวหนัง
    • รักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุให้ได้ดี
    • อาบน้ำเพื่อรักษาความสะอาดร่างกายวันละ 1 - 2 ครั้งโดยอาบน้ำด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง เลือก ใช้ผลิตภัณฑ์รักษาความสะอาดที่อ่อนโยนต่อผิว ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง หรือทำให้ผิวแห้งเช่น ใช้สบู่เด็กอ่อน
    • สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี และไม่ก่อให้เกิดการเสียดสีระคายต่อผิวหนัง
    • ใช้ผลิตภัณฑ์ซักผ้าที่ไม่ก่อให้เกิดการแพ้การระคายเคืองผิวหนัง
    • ใช้ครีมให้ความชุ่มชื้นกับผิว (Moisturizer) ชนิดที่ไม่ก่ออาการแพ้แก่ผิวหนังเช่น ไม่มีส่วน ผสมของน้ำหอมหรือไม่ใส่สารกันบูด
    • สังเกตการใช้ชีวิตประจำวันว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ ให้หลีกเลี่ยงสิ่งนั้นๆ
    • ทายา กินยา ตามแพทย์สั่งให้ถูกต้อง ไม่ขาดยา
    • การฉีดวัคซีนต่างๆควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะอาจเกิดการแพ้ขึ้นผื่นที่รุนแรงจากแพ้วัคซีนรุนแรงได้
    • พบแพทย์ตามนัดเสมอ

 

ป้องกันการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบได้โดย

    • เลี่ยงการสัมผัสสารเคมีต่างๆ
    • ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเท่าที่จำเป็น เพื่อลดโอกาสเกิดผื่นผิวหนังอักเสบที่มีสาเหตุจากแพ้สาร เคมี
    • บำรุงผิวให้ชุ่มชื้นด้วยครีมที่ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น (Moisturizer) เป็นประจำเพื่อลดโอกาสเกิดการระคายเคืองของผิว
    • สังเกตการใช้ชีวิตประจำวันทั้งที่บ้านและที่ทำงานว่า มีอะไรเป็นตัวกระตุ้นหรือก่อการระคายเคืองต่อผิว (รวมถึงอาหารและเครื่องดื่ม) ให้หลีกเลี่ยงสิ่งนั้น
    • รักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุผื่นผิวหนังอักเสบให้ได้ดี