กระดานสุขภาพ

ร่างกายเสื่อม
Anonymous

5 ตุลาคม 2560 15:13:56 #1

เนื่องจากผมเรียนหนัก+กับภาวะเครียด ผมรู้สึกว่าร่างกายผมอ่อนแรง และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ผมมีอาการอ่อนล้าอ่อนเพลีย บางทีอยู่ๆหัวใจก็เต้นแรงผิดปกติขึ้นมา และหายใจไม่ทั่วท้องแบบมันเหมือนติดอะไร ผมเคยไปหาหมอ หมอเอ็กซ์-เรย์ ก็ไม่เจออะไร หมอวัดออกซิเจนก้ปกติ และตามข้อโดยเฉพาะหัวไหล่ผมหมุนมัจะดังกลอกๆ และบางทีมันจะเจ็บเหมือนติดอะไร ผมลองวิดพื้นมันรับน้ำหนักไม่ได้มันปวดหัวไหล่มาก เสียงกอกๆในบ่าก้มีมาบ่อย ร่างกายผมเสือมหรือมีปัญหาอะไรแนะนำด้วยครับ ผมไปหาหมอก็ได้อะไรไม่มากได้ยาคลายเครียดมาเนื่องจากหายใจไม่ทั้วทั่วท้อง แต่ผมยอมรับว่าเครียดจิง แนะนำด้วยครับ
อายุ: 17 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 55 กก. ส่วนสูง: 17ซม. ดัชนีมวลกาย : 1903.11 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

7 ตุลาคม 2560 12:18:17 #2

ความเครียด (Stress) เป็นสภาวะของความรู้สึก ความคิด หรืออารมณ์ที่เกิดจากการบีบ คั้นกดดันที่เป็นสภาวะปกติของมนุษย์ ซึ่งเมื่อเกิดความเครียดขึ้นแล้วนั้น มนุษย์จะปรับตัวหลัง จากเจอความเครียด โดยบางรายหาวิธีผ่อนคลายความเครียดทำให้สภาวะนี้หายไปได้เอง หรือ บางรายก็ทุกข์ทรมานมากขึ้นจนบางคนเปลี่ยนจากสภาวะเครียดธรรมดาเป็นภาวะซึมเศร้า (Depression) หรือโรคซึมเศร้า (Depressive disorder) ตามมาได้ ซึ่งจะเริ่มมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ผลกระทบจากความเครียดต่อบุคคลเรียกว่า ความเหนื่อยล้า (Burnout) โดยจะกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และการใช้ชีวิตในสังคม ความเครียดในระดับนี้ สามารถดีขึ้นได้จากการผ่อนคลาย ให้กำลังใจ และการช่วยเหลือจากคนรอบข้าง

“ภาวะซึมเศร้า” เป็นพยาธิสภาพทางจิตที่มีระดับความรู้สึกเศร้ารุนแรงหรือเรื้อรัง รู้สึกหมด หนทาง มีภาวะสิ้นยินดี และมีอารมณ์หรือมีพฤติกรรมอื่นๆร่วมด้วย ซึ่งหากถูกวินิจฉัยโดยแพทย์ จะถูกเรียกว่า “โรคซึมเศร้า” ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM) ที่เป็นหลักเกณฑ์การวินิจ ฉัยความผิดปกติทางจิต ซึ่งจัดทำโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychia tric Association: APA) กล่าวว่าอารมณ์เศร้า มักมีรายงานของความรู้สึกซึมเศร้า ความเศร้าโศก หมดหนทาง และหมดหวัง

โดยทั่วๆไปคำว่าภาวะซึมเศร้า (Depression) และคำว่าความเศร้า (Sad) มีความหมายเหมือนกัน แต่ในทางคลินิกภาวะซึมเศร้าจะประกอบด้วยความรู้สึกมากกว่า 1 อย่างอาทิ ความโกรธ, ความกลัว, ความกังวล, ความสิ้นหวัง, ความรู้สึกผิด, ความไร้อารมณ์ และ/หรือความเศร้า ซึ่งเหล่านี้จัดเป็นภาวะที่อันตรายต่อร่างกาย และมีผลกระทบต่อการทำงานของสมอง

โรคซึมเศร้า (Depressive disorder) คือ ความผิดปกติของอารมณ์ที่ถูกวินิจฉัยโดยแพทย์และเป็นพยาธิสภาพทางจิตที่มีลักษณะอารมณ์เศร้ามากเกินไป รุนแรง ยาวนาน และเรื้อรัง มีผล กระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้ที่อยู่ในสภาวะโรคนี้ ซึ่งจะมีลักษณะอาการได้แก่ เศร้ามาก เศร้าบ่อยๆ ขาดความสนใจจากสิ่งที่เคยสนใจ น้ำหนักลดหรือเพิ่มมาก นอนไม่หลับหรือหลับมากไป ขี้ลืม คิดอะไรไม่ค่อยออก เป็นต้น ซึ่งมักไม่ดีขึ้นเมื่อให้กำลังใจ บางรายอาจถึงขนาดคิดอยากตายหรือฆ่าตัวตายได้

 

โรคซึมเศร้ามีรูปแบบต่างๆดังนี้

 

1.โรคซึมเศร้ารุนแรง เป็นภาวะซึมเศร้าที่มีอารมณ์หดหู่และไม่อยากทำกิจกรรมที่ปกติเคยชอบทำ มักจะหมกมุ่น มีความคิดหรือรู้สึกถึงการไม่มีคุณค่า ความเสียใจหรือรู้สึกผิดอย่างไม่มีเหตุผล ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หมดหวัง และเกลียดตัวเอง ความต้องการทางเพศลดลง และมีความคิดเกี่ยวกับความตายหรือการฆ่าตัวตาย ในรายที่รุนแรงจะแสดงอาการของภาวะทางจิต (Psychosis) และมีผลกระทบอย่างชัดเจนต่อครอบครัวผู้ป่วย ความสัมพันธ์ส่วนตัว การทำงานหรือการเรียน การนอนหลับและการรับประทานอาหาร และสุขภาพทั่วไป

 

2.โรคซึมเศร้าต่อเนื่องยาวนาน มีความรุนแรงน้อยกว่าโรคซึมเศร้าแบบรุนแรงดังกล่าว แต่จะมีอาการต่อเนื่องเรื้อรังเป็นเวลานาน จะมีอารมณ์ซึมเศร้า การปฏิบัติงานไม่ได้ดีเท่าปกติ และมีอาการโรคซึมเศร้าอื่นๆเช่น นอนไม่หลับ มองโลกในแง่ร้าย ขาดสมาธิ ไม่ค่อยสังคม อา การเป็นเกือบทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเรื้อรังจึงแตกต่างจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงตรงที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเรื้อรังยังทำหน้าที่ต่างๆได้ตามปกติ ซึ่งคนที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าเรื้อรังนี้สามารถเปลี่ยนเป็นโรคซึมเศร้าแบบรุนแรงได้

 

3.โรคซึมเศร้าที่มีประสาทหลอน ผู้ป่วยชนิดนี้จะมีอาการรุนแรงและมีอาการประสาทหลอนหรืออาการหลงผิดเช่น มีความคิดว่าตนมีความผิดหรือบาปอย่างมาก หรือมีหูแว่วเป็นเสียงตำหนิตนเอง หรือมีความคิดว่ามีคนจะทำร้าย เชื่อว่าคนอื่นล่วงรู้ความคิดของตนเอง

 

4.โรคซึมเศร้าหลังคลอด ผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตร บางคนจะร้องไห้อยู่ระยะหนึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ภาวะนี้จะสามารถหายไปได้เองในหนึ่งสัปดาห์โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่ผู้หญิงที่เพิ่งคลอดจะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด 1% ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตลอดในช่วงปีแรกหลังคลอด ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลังคลอดจะมีอาการของโรคซึมเศร้าและไม่สนใจดูแลลูก ไม่มีความสุขกับลูกทั้งที่เพิ่งมีลูก

 

5.โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว คนทั่วไปอาจมีความรู้สึกซึมได้เมื่อสภาพอากาศที่มืดมัว แต่ผู้ป่วยซึมเศร้าตามฤดูกาลจะมีความรู้สึกแย่กว่าความรู้สึกซึมเศร้าของคนปกติ ซึ่งสภาพอากาศจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าพลังงานลดลง รู้สึกแย่แต่ไม่ถึงขั้นซึมเศร้า แต่บางรายอาจเป็นเหมือนกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรง ซึ่งอาการนี้สามารถดีขึ้นได้เมื่อได้รับการบำบัดด้วยการให้แสงสว่าง

 

6.โรคซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่น อาการค่อนข้างแตกต่างจากผู้ใหญ่ ซึ่งในเด็กและวัยรุ่นบางรายซึมเศร้าจะไม่ซึม แต่จะมีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียว เจ็บป่วยทางร่างกายบ่อยๆ ไม่มีสมาธิในการเรียน เก็บตัวไม่เล่นกับเพื่อนๆ

 

อาการเครียดสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป แต่ที่จัดว่าอยู่ในเกณฑ์เครียดจนอาจกลาย เป็นโรคซึมเศร้าได้แก่

 

  1. รู้สึกผิดหวัง สิ้นหวัง ไม่มีใครช่วยได้
  2. ไร้ความสนใจกิจวัตรประจำวันหรือสิ่งแวดล้อมจากที่เดิมเคยสนใจเช่น เคยดูทีวีแล้วสนุก ก็ไม่อยากดูทีวี
  3. การกินและน้ำหนักเปลี่ยนแปลง บางคนกินเยอะขึ้น บางคนเบื่ออาหาร ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง
  4. ปัญหาการนอน เมื่อเกิดภาวะ/โรคซึมเศร้ามักจะมีอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย
  5. โกรธและหงุดหงิดง่าย ซึ่งมักจะเกิดจากความอดทนต่อความเครียดต่ำลง มักจะพบในวัยรุ่น
  6. รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด ตำหนิตนเองบ่อยๆ
  7. ไร้พลัง มีความรู้สึกสูญเสียพลัง ไม่มีพลังขับเคลื่อนให้ต้องทำอะไรในชีวิตประจำวัน
  8. พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เมื่อเศร้าแล้วบางคนหาทางออกด้านพฤติกรรมเสี่ยงเช่น ติดยาเสพติด ติดพนัน ขับรถเร็ว เล่นกีฬาเสี่ยงตาย เป็นต้น
  9. อาการทางร่างกายเช่น การเจ็บป่วย (เช่น ปวดท้อง มึนศีรษะ) และ/หรือการเจ็บปวด(เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่) บ่อย โดยไม่สามารถอธิบายสาเหตุทางร่างกายได้
  10. การดูแลรักษาความเครียด
  11. ความเครียดมีผลกับร่างกาย 3 อย่างคือ การหายใจ ปวดท้อง และปวดศีรษะ วิธีคลายเครียดหรือการดูแลความเครียดก็คือ วิธีทำให้ทั้ง 3 ระบบของร่างกายได้ผ่อนคลายเช่น ออกกำลังกาย ฝึกการหายใจเข้า-ออกลึกๆช้าๆ โยคะ ปลูกต้นไม้ รดน้ำต้นไม้ ทำงานอดิเรกที่ตนเองชอบ พูดคุยกับเพื่อน เป็นต้น ซึ่งหากอยู่ในขณะทำงานควรหาเวลาซัก 5 นาทีในการผ่อนคลายตนเอง จะทำให้ความเครียดไม่ก่อตัวรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นโรคได้
  12. หากใครมีความสามารถในการจัดการกับความคิดตนเอง หรือฝึกเจริญสติตนเองได้ในระ หว่างทำงาน ก็จะทำให้ความเครียดบรรเทาเบาบางลงได้มาก
  13. หลายคนสามารถจัดการความเครียดได้ด้วยตนเอง หรือมีบุคคลรอบข้างพูดคุยผ่อนคลายได้บ้างก็ไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ก็ได้ ส่วนคนที่เครียดจนรบกวนชีวิตประจำวันของตนเองและผู้ อื่นทั้งด้านการทำงาน การเรียน และการใช้ชีวิต ควรพบจิตแพทย์เพื่อรับการช่วยเหลือ
  14. กรณีเกิดความเครียดที่รุนแรงมากขึ้นจนไม่สามารถจัดการได้ด้วยตนเองกล่าวคือ จนกลายเป็นภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้า ควรไปพบแพทย์/จิตแพทย์

___________________________________

 

  1. การรักษาโรคซึมเศร้า
  2. เมื่อมาพบแพทย์มีวิธีรักษาหลายๆวิธีร่วมกันดังต่อไปนี้
  3. รักษาอาการทางกายให้สงบ: เช่น โรคกระเพาะอาการ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการรักษาปลายเหตุแต่เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำก่อน
  4. แพทย์จะพูดคุยสัมภาษณ์ประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจสภาพจิต เพื่อวินิจฉัยทางการ แพทย์และหาเหตุของปัญหา
  5. การให้ยา ในกรณีที่บางคนมีปัญหาภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้าร่วมกับมีอาการนอนไม่หลับ หรือมีอาการทางจิตอื่นๆที่แพทย์พิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้ยา
  6. การให้คำปรึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบปัญหา โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับการปรึกษา ใช้เทคนิคการสื่อสาร ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหา การรู้จักใช้ศักยภาพของตนเองในการคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
  7. จิตบำบัด: ซึ่งต้องได้รับการบำบัดโดยจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาบำบัดที่โรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ในกรณีที่เครียดเรื้อรังจนเกิดภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้า เพื่อผ่อนคลายความเครียดและอาการต่างๆรวมถึงการแก้ไขปัญหาชีวิตให้สำเร็จและมีการปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่นได้ดีโดยในการบำบัด ผู้บำบัดจะพูดคุยเพียงลำพังกับผู้ที่ซึมเศร้าครั้งละประมาณ 45 นาที 8 - 12 ครั้ง ซึ่งจะมีการร่วมกันแก้ปัญหาและหาทางออกปัญหานั้นๆร่วมกันเพื่อไม่กลับไปเกิดความรู้สึกหรือความคิดที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้าได้อีก
  8. จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมเช่น จัดโต๊ะทำงานให้ผ่อนคลายได้ ทำงานพอเหมาะไม่หนักมากเกินไป ให้มีเวลาผ่อนคลายระหว่างทำงาน