กระดานสุขภาพ
เป็นต่อมน้ำเหลือที่ขาหนีบ | |
---|---|
3 ตุลาคม 2560 15:03:56 #1 สวัสดีค่ะ คือตอนนี้มีต่อมน้ำเหลืองขึ้นที่ขาหนีบข้างขวา ซึ่งกดแล้วเจ็บหรือเวลาเดินเบียดไปโดนก็จะเจ็บค่ะ ซึ่งเป็นลูกก้อนกลมๆค่ะ เลยอยากสอบถามคุณหมอว่าเป็นอะไรร้ายแรงหรือเปล่าคะ (แต่ก่อนหน้านี้เป็นโรคหูดหงอนไก่ ซึ่งทำการรักษาแล้วค่ะ)
|
|
อายุ: 24 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 156ซม. ดัชนีมวลกาย : 24.65 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
10 ตุลาคม 2560 09:43:41 #2 ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Lymphadenitis) คือภาวะที่เกิดมีการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองที่อาจเกิดจากการติดเชื้อของเนื้อเยื่อและ/หรืออวัยวะต่างๆ แล้วส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงเกิดการอักเสบตามไปด้วยโดยไม่มีการติดเชื้อในต่อมน้ำเหลือง(เช่น ฟันผุ แล้วส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองที่คออักเสบ), หรือจากการอักเสบติดเชื้อของต่อมน้ำเหลืองเอง (เช่น วัณโรคต่อมน้ำเหลือง), หรือจากการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองโดยไม่ได้มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อก็ได้ (เช่น ในโรคออโตอิมมูน) ต่อมน้ำเหลือง เป็นเนื้อเยื่อในระบบน้ำเหลือง โดยมีลักษณะเป็นก้อนเล็กๆ รูปไข่ นุ่ม เคลื่อนที่ได้เล็กน้อย มีขนาดเล็กเป็นมิลลิเมตร ในภาวะปกติมักคลำไม่พบเพราะจะอยู่ปนไปกับเนื้อเยื่อไขมันและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ ต่อมน้ำเหลืองจะมีกระจายอยู่ทั่วตัวในทุกอวัยวะยกเว้นในสมอง มีหน้าที่สำคัญคือ เป็นตัวดักจับสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายโดยเฉพาะเชื้อโรค นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคให้กับร่างกายด้วย ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะที่เกิดจากมีการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ/อวัยวะใดๆแล้วส่งผลให้เกิดการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียงตามมา แต่ไม่มีรายงานความชุกของภาวะนี้ อย่างไรก็ตาม เป็นภาวะที่พบได้ในทุกวัยตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ และพบได้ในทั้งในเพศหญิงและเพศชายเท่าๆกัน ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ อาจเกิดเพียง ต่อมเดียว, หลายๆต่อมพร้อมๆกัน, ในหลายตำแหน่ง (เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ), และ/หรือ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ทั้งนี้ ขึ้นกับสาเหตุ และ/หรือ ตำแหน่งของเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เกิดการอักเสบ สาเหตุของต่อมน้ำเหลืองอักเสบได้แก่ ก. มีการติดเชื้อของเนื้อเยื่อและ/หรืออวัยวะต่างๆ แล้วส่งผลให้เกิดต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ข้างเคียงอักเสบตามไปด้วย โดยไม่มีการติดเชื้อที่ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งสาเหตุนี้ เป็นสาเหตุพบบ่อยที่สุดของต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เช่น - การอักเสบของช่องปากและช่องคอจากเชื้อแบคทีเรีย (เช่น เหงือก ลิ้น กระพุ่งแก้มอักเสบ ฟันผุ ต่อมทอนซิลอักเสบ) ซึ่งต่อมน้ำเหลืองที่อักเสบคือ ต่อมน้ำเหลืองในบริเวณลำคอ ข. มีการติดเชื้อของต่อมน้ำเหลืองเอง ซึ่งอาจเกิดต่อเนื่องมาจากการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง เมื่อเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียงนั้นเกิดการติดเชื้อรุนแรงจนเชื้อลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองด้วย ซึ่งต่อมน้ำเหลืองที่ติดเชื้อนี้ จะมีลักษณะ บวมแดง เจ็บ เป็นหนอง, หรือ เป็นการติดเชื้อโดยตรงของต่อมน้ำเหลืองนั้น ซึ่งการติดเชื้อโดยตรงนี้ ต่อมน้ำเหลืองมักมีการอักเสบ โต หลายต่อมพร้อมกัน และมักมีลักษณะเหมือนสายลูกประคำ เช่น วัณโรคต่อมน้ำ เหลือง หรือ ในโรคเอดส์ ค. ต่อมน้ำเหลืองอักเสบที่สาเหตุไม่ใช่การติดเชื้อ เช่น ในโรคออโตอิมูน, ในโรคมะเร็ง (ลักษณะสำคัญคือ ต่อมน้ำเหลืองจะไม่ค่อยเจ็บและจะโตขึ้นเรื่อยๆอย่างรวดเร็ว มักมีขนาดโตมากกว่า 1 เซนติเมตร), ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด หรือจากการแพ้ยาบางชนิด เช่น ยากันชัก Phenytoin, ยารักษาโรคความดันโรคหิตสูง Atenolol, ยาลดกรดยูริคในเลือดและรักษาโรคเกาต์ Allopurinol เป็นต้น ง. ประมาณ 0.5 - 1% ของผู้ที่มาพบแพทย์ด้วยต่อมน้ำเหลืองอักเสบ/ต่อมน้ำเหลืองโต แพทย์หาสาเหตุไม่พบ อาการที่พบบ่อยที่สุดของต่อมน้ำเหลืองอักเสบคือ มีต่อมน้ำเหลืองโตจนคลำพบได้ ซึ่งอาจเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้ การรักษาต่อมน้ำเหลืองอักเสบคือ การรักษาสาเหตุ เช่น การหยุดยาหรือปรับเปลี่ยนยาเมื่อสาเหตุเกิดจากยา, การทำฟัน เมื่อสาเหตุเกิดจากฟันผุ, การรักษาแผลต่างๆเมื่อสาเหตุเกิดจากแผล, การให้ยาปฏิชีวนะเมื่อสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย, การรักษาวัณโรคเมื่อสาเหตุเกิดจากเชื้อวัณโรค, และการรักษาโรคมะเร็งเมื่อสาเหตุเกิดจากโรคมะเร็ง เป็นต้น นอกจากนั้นคือ การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวด ถ้ามีอาการปวดต่อมน้ำเหลืองมาก เป็นต้น การดูแลตนเองเมื่อมีต่อมน้ำเหลืองอักเสบคือ การดูแลตามสาเหตุนั้นๆ (เช่น การดูแลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อสาเหตุเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น) ร่วมกับการดูแลสุขภาพทั่วไปได้แก่
พบแพทย์/ไปโรงพยาบาลก่อนนัด เมื่ออาการต่างๆเลวลง ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้น มีอาการที่ผิดไปจากเดิม และ/หรือ เมื่อกังวลในอาการ |
Anonymous