กระดานสุขภาพ

ท้องอืด เวียนหัว ถ่ายไม่เป็นก้อน
Watc*****4

9 กันยายน 2560 13:02:32 #1

จะมีอาการท้องอืดอิ่มนานหลังจากกินอาหารมือที่ 2 เป็นต้นไป ทุกครั้งที่ตื่นขึ้นมาเวลาดื่มน้ำแล้วเหมือนจะมีลมในกระเพาะทุกครั้ง ดื่มทีไรต้องเรอแทรกตลอด เวลาทานอาหารเสร็จได้สัก 2-3 ชม บางทีก็จะมีอาการเรอแล้วมีฟองหรืออิ่มนาน บางทีทานอาหารปกติแต่ทานน้ำน้อย พอผ่านไป2-3 ชม อยากจิบน้ำก็เลยจิบน้ำ 1-2 อึก สักพักจะมีอาการเรอแล้วมีน้ำหรือเศษอาหารออกมาด้วย ส่วนมากมื้อเช้าจะไม่เป็น แล้วช่วงนี้ไม่รู้เป็นอะไรตกเย็นจะมีอาการเวียนหัวตึบๆด้วยแทบทุกวัน เดินปกติทรงตัวได้แต่เวียนหัวบวกกับเวลาถ่ายอุจจาระ อุจจาระจะเป็นสีเขียวอ่อนเหลืองบางทีก็น้ำตาลอ่อนเข้มบ้างและจะไม่เป็นก้อนแบบสมบูรณ์ คือ ออกแนวนิ่มๆถ้าโดนน้ำชักโคกอุจจาระจะแหลกละเอียดเลย อุจจาระเป็นแบบนี้ก่อนแล้วอาการเวียนหัวจึงตามมา ทำให้ไม่กล้าออกกำลังกายกลัวว่าจะเวียนหัวหนักกว่าเก่า น้ำหนัก 56 รูปร่างออกแนวผอม แต่มีพุง อยากทราบว่าเป็นอะไร ต้องไปปรึกษาแพทย์อะไร อาการร้ายแรงไหม ผมว่าจะไปโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ อยากได้คำแนะนำจากเว็บหาหมอครับ 

อายุ: 21 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 56 กก. ส่วนสูง: 172ซม. ดัชนีมวลกาย : 18.93 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

12 กันยายน 2560 09:19:43 #2

จากที่ปรึกษามาคิดถึงอาการของอาหารไม่ย่อย หรือธาตุพิการ (Indigestion หรือ Dyspepsia) คือ อาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น อาจมีเพียงอาการเดียว หรือหลายๆอาการพร้อมกัน อาจเกิดในขณะกินอาหาร และ/หรือภายหลังกินอาหาร เช่น แน่นท้อง อึดอัด เรอ แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ บางครั้งอาเจียน
อาหารไม่ย่อย เป็นอาการมักพบในผู้ใหญ่ เป็นอาการพบบ่อยประมาณได้ถึง 25-40% ของประชากรทั้งหมดต่อปี โอกาสเกิดอาการใกล้เคียงกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย
อาการอาหารไม่ย่อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบได้บ่อยที่สุดประมาณ 60%ของผู้มีอาการนี้ทั้งหมด คือ แพทย์หาสาเหตุไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยการตรวจด้วยวิธีใดๆก็ตาม ซึ่งรวมทั้งการตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่ง เรียกผู้ป่วยในกลุ่มนี้ว่า Functional dyspep sia
นอกจากนั้นที่พบเป็นสาเหตุของอาการนี้ คือ

  • • จากโรคแผลเปบติค หรือ แผลในกระเพาะอาหาร พบได้ประมาณ 15-25%
  • • โรคกรดไหลย้อน (ไหลกลับ) หรือโรคเกิร์ด (GERD, Gastroesophageal reflux) พบได้ประมาณ 5-15%
  • • โรค มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือโรคมะเร็งหลอดอาหาร พบได้ประมาณ น้อยกว่า 2%
  • • นอกนั้น จากสาเหตุอื่นๆที่พบได้บ้างประปราย เช่น โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคตับอ่อนอัก เสบ โรคกระเพาะอาหารบีบตัวได้น้อย โรคขาดน้ำย่อยอาหารบางชนิด เช่น น้ำย่อยน้ำนม โรคเบาหวานมีพยาธิลำไส้ โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งตับอ่อนและจากผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดส์ (NSAIDS, Non-steroidal anti-inflammatory drug)

อาการจากอาหารไม่ย่อยที่พบได้บ่อย คือ

    • • แน่น อึดอัดท้อง โดยเฉพาะบริเวณกลางช่องท้องตอนบน มักมีอาการได้ตั้งแต่ใน ขณะกินอาหาร หรือหลังกินอาหารอิ่มแล้ว
    • • ปวดท้อง มวนท้อง แต่อาการไม่มาก โดยเฉพาะบริเวณกระเพาะอาหาร (ช่องท้องบริเวณลิ้นปี่/ตรงกลางของช่องท้องตอนบน)
    • • แสบ ร้อน บริเวณลิ้นปี่ และ/หรือ แสบร้อนกลางอก
    • • อาจมีคลื่นไส้ และ/หรืออาเจียนได้
    • • อาจมีท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอ และ/หรือมีแก๊สในกระเพาะอาหารลำไส้มาก

การดูแลตนเอง การพบแพทย์เมื่อมีอาการอาหารไม่ย่อย คือ

      • • การปรับพฤติกรรมการกินอาหาร โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อปัจจัยเสี่ยง
      • • อาจปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยา ซื้อยาลดกรด หรือยาช่วยย่อยอาหารกินเอง
      • • ถ้าภายหลังการดูแลตนเองแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3-4 สัปดาห์ หรือเมื่อกังวลในอาการ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการ
      • • แต่ถ้าอาการต่างๆเลวลง ควรรีบพบแพทย์ภายใน 1 สัปดาห์ และ
      • • ควรรีบพบแพทย์ฉุกเฉิน เมื่อถ่ายอุจจาระเป็นสีดำเหมือนยางมะตอย หรือมีอาเจียนเป็นเลือด

ป้องกันการเกิดอาการอาหารไม่ย่อยได้โดย การป้องกันสาเหตุ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังได้กล่าวแล้วในตอนต้นที่ป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการกินอาหาร เช่น

    • • กินอาหารให้ตรงเวลา
    • • กินอาหารแต่ละมื้อไม่ให้อิ่มมากเกินไป
    • • เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
    • • ไม่กินอาหารรสจัด
    • • หลังกินอาหารไม่นอนทันที
    • • เคลื่อนไหวร่างกายสักพักหลังกินอาหารเพื่อช่วยการย่อย และการบีบตัวของกระ เพาะอาหารเพื่อขับเคลื่อนอาหารออกจากกระเพาะอาหารได้เร็ว ไม่คั่งค้างให้เกิดอาการ

นอกจากนั้น คือการสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างอาการ กับประเภท และปริมาณอาหาร และหลีกเลี่ยง หรือลดปริมาณอาหารเหล่านั้นๆลง ค่อยๆปรับตัวไปเรื่อยๆ