กระดานสุขภาพ
เรื่องของลำไส้ | |
---|---|
6 กันยายน 2560 08:48:34 #1 คุณหมอคะหนูมีอากรปวดท้องน้อยคะ ไปตรวจมาแล้ว มดลูกปกติกระเพาะปัสสาวะปกติ แต่วันนี้หนูจะถามอะคะว่าลำไส้หนูผิดปกติไหมคะ 1 หนูไม่ถ่าย2วันแล้วคะ(พอถ่ายก็ถ่ายออกนิดเดียว) 2 เวลาหนูเบ่งหนูจะปวดท้องน้อย 3 บ้างที่ผายลมก็ปวดท้องน้อยคะ หมายเหตุ ถ่ายไม่มีเลือดค |
|
อายุ: 26 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 69 กก. ส่วนสูง: 157ซม. ดัชนีมวลกาย : 27.99 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
9 กันยายน 2560 18:54:24 #2 ท้องผูก (Constipation) เป็นอาการ ไม่ใช่โรค ได้แก่ อาการไม่ถ่ายอุจจาระตามปกติ ซึ่งโดยคำนิยามทางการแพทย์ ท้องผูกหมายถึงความผิดปกติทั้งจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ ซึ่งต้องน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ลักษณะของอุจจาระต้องแห้ง แข็ง การขับถ่ายต้องใช้แรงเบ่งหรือใช้มือช่วยล้วง และภายหลังอุจจาระแล้วยังมีความรู้สึกว่าอุจจาระไม่สุด ท้องผูก เป็นอาการพบบ่อยมากประมาณ 12% ของประชากรทั้งโลก พบได้ในทุกอายุตั้ง แต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ แต่พบได้บ่อยกว่าในเด็ก (จากกล้ามเนื้อเพื่อการขับถ่ายในเด็กยังเจริญเติบ โตไม่เต็มที่) และในผู้สูงอายุ (จากกล้ามเนื้อเพื่อการขับถ่ายเสื่อมตามอายุ รวมทั้งผู้สูงอายุยังขาดการเคลื่อนไหวและมักมีโรคประจำตัวที่ส่งผลถึงการทำงานของกล้ามเนื้อเพื่อการขับถ่าย) และผู้ หญิงพบได้บ่อยกว่าผู้ชาย ซึ่งอาจเป็นผลจากฮอร์โมนเพศที่แตกต่างกัน ท้องผูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อยคือ เกิดจากลำไส้เคลื่อนตัวช้ากว่าปกติหรือบีบตัวลดลง ทั้งนี้เพราะขาดตัวกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้จากมีลำอุจจาระเล็ก เช่น จากกินอาหารที่ขาดใยอาหาร และ/หรือ ดื่มน้ำน้อย อุจจาระจึงแข็งและลำอุจจาระเล็ก ลำไส้จึงบีบตัวลดลง อุจจาระจึงเคลื่อนตัวได้ช้า จากขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย จึงส่งผลให้ลำไส้บีบตัวเคลื่อนตัวช้า มีโรคเรื้อรังที่ส่งผลให้เกิดการเสื่อมของกล้ามเนื้อลำไส้และ/หรือประสาทลำไส้ จึงส่งผลให้ลำไส้บีบตัวลดลง กากอาหาร/อุจจาระจึงเคลื่อนตัวได้ช้าลง เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆเช่น เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ และไตวาย โรคของกล้ามเนื้อเอง จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อลำไส้บีบตัวลดลง เช่น โรคหนังแข็ง (Scleroderma) โรคของลำไส้เอง ก่อให้เกิดการอุดกั้นลำไส้ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปัจจัยต่อการเกิดอาการท้องผูกที่พบบ่อยคือ กินอาหารมีกากใยต่ำ (กินผักผลไม้น้อย)
แนวทางการรักษาอาการท้องผูกที่สำคัญคือ การเพิ่มมวลอุจจาระและทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มเคลื่อนที่ได้ง่าย ซึ่งคือ การกินอาหารมีใยอาหารสูง (ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วต่างๆ) และดื่มน้ำสะ อาดวันละมากๆเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม (เช่น โรคหัวใจล้มเหลว) อย่างน้อยวันละ 8 - 10 แก้ว และเคลื่อนไหวร่างกายออกกำลังกายเสมอ ถ้าอาการท้องผูกยังคงมีอยู่ไม่ดีขึ้นหลังปรับเปลี่ยนอาหาร ดื่มน้ำ และเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย อาจใช้ยาแก้ท้องผูกโดยปรึกษาเภสัชกรก่อนเสมอ ถ้าซื้อยากินเอง เมื่อใช้ยาแก้ท้องผูกนานเกิน 5 - 7 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เพราะการใช้ยาแก้ท้องผูกบ่อยๆจะยิ่งกลับมาท้องผูกมากขึ้นและต้องเพิ่มปริมาณใช้ยามากขึ้นจนอาจก่ออันตรายได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มวนท้อง ปวดท้อง นอกจากนั้นคือ การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น รักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อเป็นสาเหตุของท้องผูก เป็นต้น โดยทั่วไปอาการท้องผูกไม่รุนแรง เมื่อปรับพฤติกรรมการกิน/ดื่มน้ำและเคลื่อนไหวออกกำ ลังกายเพิ่มขึ้น อาการท้องผูกจะหายไปเอง แต่ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุด้วย ดังนั้น เมื่อเกิดอาการท้อง ผูกโดยไม่เคยเป็นมาก่อนและอาการไม่ดีขึ้นหลังดูแลตนเองภายใน 1 - 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ แต่เมื่อใช้ยาแก้ท้องผูกแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์ภายใน 5 - 7 วันหลังใช้ยาเพื่อหาสาเหตุ และเพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากยาแก้ท้องผูกถ้าใช้ยานานกว่านี้ดังกล่าวแล้ว การดูแลตนเองเมื่อท้องผูก เช่นเดียวกับการป้องกันท้องผูกคือ
ควรพบแพทย์ เมื่อ
ควรรีบพบแพทย์หรือพบแพทย์เป็นการฉุกเฉินขึ้นกับความรุนแรงของอาการ เมื่อท้องผูกร่วมกับ
|
Payn*****m