กระดานสุขภาพ
วิตกกังวลมากครับ | |
---|---|
4 กันยายน 2560 10:17:13 #1 เมื่อเช้าวันศุกร์ ผมได้รู้สึกตัวตื่นขึ้นเวลาประมาณ 04:00 น. จากนั้นมีความรู้สึกเหมือนมีอะไรมาโดนฝ่ามือเพียงช่วงเวลาแปบนึง ผมจึงยกมือขึ้นเพื่อจะดู พบว่า มีตัวอะไรดำๆเล็กๆ กระโดดออกไปจากที่นั้น ผมสงสัยว่าเป็นจิ้งจกหรือหนู เำราะเห็นไม่ชัด ถ้าเป็นหนู แล้วมาโดนมือผมในกรณีเช่นนี้ ผมจะติดเชื้อฉี่หนูหรือพิษสุนัขบ้าไหมครับ เพราะผมรีบลุกขึ้นไปล้างมือด้วยสบู่ทันที และบนมือผมมีแผลเป็นที่แห้งและหายแล้วอยู่แผลนึงครับ ผมต้องไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าหรือไม่ครับ ตอนนี้กังวลมากครับ |
|
อายุ: 31 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 65 กก. ส่วนสูง: 165ซม. ดัชนีมวลกาย : 23.88 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
Song*****b |
4 กันยายน 2560 10:19:02 #2
เพิ่มเติมครับ ตอนที่ไปล้างมือ สังเกต ไม่พบแผลใดๆ เพิ่มเติมครับ มือยังปกติ ไม่มีแผลหรือเลือดออกครับ
|
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
6 กันยายน 2560 16:13:52 #3 การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ การฉีดวัคซีนก่อนการสัมผัสสัตว์(prophylaxis) มักจะทำในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกสัตว์กัด เช่น สัตวแพทย์ บุรุษไปรษณีย์ เจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวกับเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า หรือเด็ก เนื่องจากเด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคพิษสุนัขบ้าเช่นกัน การฉีดวัคซีน จะต้องฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง ในวันที่ 0, 7 และ 21 หรือ 28 หลังจากนั้นอีก 1 ปีอาจฉีดกระตุ้นอีก 1 ครั้ง การฉีดวัคซีนหลังการสัมผัสสัตว์ จะต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงในการติดเชื้อด้วยเสมอ โดยอาจแบ่งเป็นกรณีได้ดังนี้ 1. ไม่ต้องฉีดวัคซีนในกรณีที่สัมผัสกับสัตว์โดยที่ผิวหนังไม่มีแผลหรือรอยถลอก เช่น การให้อาหาร ถูกเลีย สัมผัสน้ำลายหรือเลือด (ยกเว้น น้ำลายหรือเลือดของสัตว์กระเด็นเข้าทางตา หรือปากจะต้องรับการฉีดวัคซีน) 2 ต้องฉีดวัคซีนในกรณีที่
นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายที่ถูกสัตว์กัด หรือข่วนจนเป็นแผลและมีเลือดออก หรือถูกกัดเป็นแผลที่ใบหน้า ศีรษะ คอ มือ และนิ้วมือ หรือมีแผลลึก แผลฉีกขาดมาก จะต้องได้รับการฉีดอิมมูโนโกลบุลิน(Immunoglobulin; IG) โดยเร็วที่สุด โดยฉีดบริเวณรอบแผลร่วมกับวัคซีนในวันที่ 0 เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้เป็นกลุ่มมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูง ในการเข้ารับการฉีดวัคซีนนั้นสามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง) ในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เช่น สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลรัฐบาลที่ใกล้ที่สุด (ที่ใดก็ได้) ทันที จนครบทุกเข็มโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใดๆ ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกสุนัข แมวหรือสัตว์อื่นๆ กัด? เมื่อถูกสัตว์ข่วนหรือกัดโดยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าควรรีบปฐมพยาบาลและปฏิบัติตัวดังนี้
|
Song*****b