กระดานสุขภาพ
ปรึกษาเรื่องการเข้าห้องน้ำ ถ่ายผิดปกติครับ | |
---|---|
4 กันยายน 2560 10:08:08 #1 ผมมีเรื่องปรึกษาครับ ปกติคนเราถ่ายหรือเข้าห้องน้ำกี่ครั้งครับ 1-2 ครั้ง/วันหรือเปล่าครับ แต่ผมเข้าห้องน้ำปกติ 2-3 ครั้งเป็นอย่างต่ำ แต่เมื่อ 2 อาทิตย์ที่แล้วไม่รู้เป็นอะไรครับ ผมเข้า 4-5 ครั้งต่อวันครับ มีช่วงก่อนมาทำงาน ตอนสายๆ และบ่ายอีก 1-2 ครั้งครับ และกลางคืนช่วง 3-5 ทุ่มอีกครั้งก่อนนอน สำหรับช่วงบ่ายๆ ประมาณ 3-5 โมงเย็นนั้น จะรู้สึกปวดๆ แน่นท้อง จุกๆ นิดหน่อย ผมอธิบายไม่ถูก ต้องเข้าห้องน้ำทุกครั้ง แต่ว่าเข้าแต่ละครั้งก็ถ่ายปกตินะครับ ไม่มีเลือด ไม่แข็งหรือเหลว เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ผมได้เข้าไปหาหมอที่ถือประกันสังคมที่ รพ.กล้วยน้ำไท ผมก็บอกหมอว่า ผมเข้าห้องน้ำ 4-5 ครั้งต่อวัน หมอก็ไม่ได้ตรวจอะไรเลย ฟังอาการก็สรุปว่า คุณท้องเสีย และไม่ได้ตรวจอะไรผมเลย จัดยาฆ่าเชื้อให้ 1 ชุด มีเกลือแร่ และยาอีกชุดหนึ่งผมจำไม่ได้ หลังจากกินหมด ส-อ ที่ผ่านมาก็ค่อยยังชั่ว ตอนนี้ยาหมดแล้วครับ ตอนนี้ก็ได้แต่รอดูอาการครับว่าจะเป็นอีกไหมครับ ส่วนวันนี้ก็เข้า 4 ครั้ง เช้า สาย และบ่ายๆ อีก 2 ครับคุณหมอ ไม่ทราบว่าพอจะมีวิธีรักษาให้หายขาดบ้างไหมครับ เบื้องต้นก่อนหน้านี้ผมคิดว่าส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการกินของผมด้วยครับ กินกาแฟทุกเช้า และจะเน้นหนักอาหารเย็นด้วยครับ อาทิตย์ที่แล้วก็ไม่กล้ากินเยอะเหมือนเคย และอีกอย่างเวลานั่งทำงานผมใส่กางเกงทำงานค่อนข้างแน่น จะแน่นและรัดท้อง อึดอัดนิดหน่อย ไม่รู้ว่ามีส่วนด้วยไหมครับ ขอบคุณครับ |
|
อายุ: 34 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 73 กก. ส่วนสูง: 168ซม. ดัชนีมวลกาย : 25.86 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
9 กันยายน 2560 18:51:33 #2 โรคลำไส้แปรปรวน หรือเรียกย่อว่า โรคไอบีเอส (IBS, Irritable bowel syndrome หรือ อาจเรียกว่า Spastic colon) ได้แก่ โรคซึ่งเกิดจากการทำงานผิดปกติของลำไส้ ซึ่งก่อให้เกิดอาการ ปวดท้อง ท้องเสียสลับท้องผูก เป็นๆหายๆ โดยแพทย์มักตรวจไม่พบพยาธิสภาพ (สิ่งผิดปกติ) ของอวัยวะต่างๆในระบบทางเดินอาหาร (กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่) ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดโรคลำไส้แปรปรวน แต่จากการศึกษา มีได้หลายสมมุติฐาน คือ - กล้ามเนื้อของอวัยวะภายใน ซึ่งรวมทั้งกล้ามเนื้อลำไส้ อาจทำงานตอบสนองต่อสิ่งกระ ตุ้น (สิ่งเร้า) ผิดปกติ โดยถ้าลำไส้ตอบสนองมากเกินไปต่ออาหาร/เครื่องดื่มที่บริโภค จะทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเร็วขึ้น จึงเกิดท้องเสีย แต่ถ้าลำไส้เคลื่อนไหวลดลง จะเกิดท้องผูก ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้ มักมีอาการกลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่อยู่ร่วมด้วย จึงเป็นที่มาของสมมุติฐานว่า อาจมีการทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อของอวัยวะภายในต่างๆ - เยื่อบุลำไส้ อาจตอบสนองไวต่ออาหาร/เครื่องดื่มสูงกว่าคนปกติ จากการกระตุ้นด้วยอา หาร/เครื่องดื่มบางชนิด เช่น กาเฟอีน จึงส่งผลให้เกิดท้องเสียเมื่อกิน/ดื่ม อาหารที่มีสารตัวกระ ตุ้นเหล่านี้ - มีตัวกระตุ้นสมองให้หลั่งสารบางชนิด เช่น ซีโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง ร่วมกับอาการท้องเสีย เช่น ปัญหาทางอา รมณ์/จิตใจ เช่น ความเครียด - อาจจากร่างกายสร้างสารต้านการติดเชื้อของลำไส้ เพราะในผู้ป่วยบางราย พบเกิดโรคนี้ตามมา ภายหลังมีการอักเสบติดเชื้อของลำไส้ - อาจจากสมองทำงานแปรปรวน จึงส่งผลต่อการแปรปรวนของลำไส้ อาจจากการทำงาน หรือมีปริมาณแบคทีเรียประจำถิ่น (Normal flora แบคทีเรียที่มีประ จำในลำไส้ มีหน้าที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรค ช่วยการดูดซึมและสร้างวิตามินเกลือแร่บางชนิด) ในลำไส้ผิดปกติ โรคลำไส้แปรปรวน เป็นโรคเรื้อรัง ดังนั้น อาการต่างๆจึงมักเป็นๆหายๆ บางครั้งอาการอาจดีขึ้น ไม่มีอาการเป็นหลายๆเดือน แล้วกลับมามีอาการใหม่อีก โดยอาการพบบ่อยของโรคลำไส้แปรปรวน ได้แก่
อนึ่งอาการของโรคมักรุนแรงขึ้นเมื่อ กินอาหาร หรือ ดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เช่น นม เครื่องดื่มกาเฟอีน (เช่น ชา กาแฟ โคลา) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต และ/หรือ ผัก ผล ไม้ บางชนิด กินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณมาก ช่วงมีประจำเดือน และ/หรือในช่วงมีความ เครียด แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเหล่านี้แตกต่างกันได้ในแต่ละบุคคลซึ่งควรต้องสังเกตด้วยตนเอง การดูแลตนเอง เมื่อมีอาการดังกล่าวแล้วในหัวข้อ อาการ คือ การปรึกษาแพทย์ เพราะดังกล่าวแล้วว่า เป็นอาการคล้าย โรคลำไส้อักเสบ หรือ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทั้งนี้เพื่อวินิจฉัยแยกโรคเหล่านั้น และเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคลำไส้แปรปรวน การดูแลตนเอง/การพบแพทย์ ได้แก่
รีบพบแพทย์ก่อนนัด เพราะแสดงว่า อาจมีโรคอื่นๆเกิดขึ้น เช่น ลำไส้อักเสบ หรือ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อ
|
Isur*****n |
13 กันยายน 2560 11:00:23 #3 ขอบคุณคุณหมอมากครับ สาเหตุหลักๆ ที่คิดไว้ตรงกับที่คุณหมอมากเลยครับ คือความเครียด และดื่มกาแฟเป็นประจำครับ |
Isur*****n