กระดานสุขภาพ

ติดเชื้อ H.pylori คับ
Anonymous

27 สิงหาคม 2560 08:24:26 #1

ผมมีอาการขับถ่ายเปลี่ยนไป (ท้องผูกสลับท้องเสีย) ผมเลยไปส่องกล้องครับ ปรากฏว่า ผมติดเชื้อ H.pylori กระเพราอาหารและลำไส้อักเสบ ผลชิ้นเนื้อออกมาว่า ยังไม่เป็นมะเร็ง แต่เชื้อตัวนี้อยู่ในร่างกายมานาน ตอนนี้แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองแล้ว คำถามครับ 1. ผมได้รับยาปฏิชีวนะ เป็น Amoxicillin (ทานวันที่1-5)หลังจากนั้นทาน clarithromycin คู่กับ Flagyl วันที่ (6-10) และเหลือ flagyl อย่างเดียว (วันที่ 11-13) ผมอยากสอบถามคุณหมอครับ ว่าถ้าเชื้อลุกลามไปต่อมน้ำเหลือง แล้วผมได้ยาปฏิชีวินะต่อเหลือง -ผมมีโอกาสหายขาดมั้ย -ในระหว่างการรักษาเป็นไปได้ไหมที่เชื้อจะทำให้ผมมีอาการขอฃโรคแย่ลงเช่น ตอนตรวจชิ้นเนื้อยังไม่เป็นมะเร็ง แต่ระหว่างรักษาแล้วเพิ่งมาเป็นมะเร็งครับ หมอบอกถ้าคิดครบแล้วหมอจะให้ยาอื่นต่อเนื่องอีก2เดือนครับ ขอบคุณคับผม 1.ผมได้ยาปฏิชีวนะ
อายุ: 31 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 70 กก. ส่วนสูง: 175ซม. ดัชนีมวลกาย : 22.86 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

29 สิงหาคม 2560 19:52:30 #2

เชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือย่อว่า เอชไพโลไร (Helicobacter pylori หรือย่อว่า H.pylori) เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งการติดต่อเกิดขึ้นระหว่างคนสู่คน เชื้อที่เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะไปอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหาร และทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการ แต่ในบางราย เชื้ออาจทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น รวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย ซึ่งมียาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อนี้ สำหรับรักษาให้โรคติดเชื้อนี้หายได้

ผู้ที่ติดเชื้อเอชไพโลไรเข้าไปแล้ว จะเกิดพยาธิสภาพของกระเพาะอาหารอักเสบ แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ ในบางรายที่มีอาการ ก็จะมีอาการเหมือนอาการของโรคกระเพาะอาหารจากทุกสาเหตุ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียดลิ้นปี่ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย บางรายอาจมีอาการอิ่มเร็วหลังกินอาหาร หรือมีอาการหิวมากในตอนเช้าที่ตื่นนอน

ในผู้ป่วยบางราย เมื่อมีการอักเสบที่รุนแรงเกิดขึ้น จนเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (แผลเปบติก) อาการดังกล่าวข้างต้น ก็จะรุนแรงมากขึ้น นอกจาก นี้ อาจมีถ่ายอุจจาระเป็นสีดำมีลักษณะเหมือนยางมะตอยได้ (อุจจาระเป็นเลือด) จากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก อาจมีเลือดออก ซึ่งส่วนใหญ่เลือดจะค่อยๆซึมออกจากแผลเมื่อเลือดค่อยๆไหลผ่านลำไส้ใหญ่ ธาตุเหล็กซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเม็ดเลือดแดง จะทำปฏิ กิริยากับอากาศ ทำให้มองเห็นเป็นสีดำ เมื่อเราถ่ายอุจจาระออกมา จึงเห็นอุจจาระเป็นสีดำ

ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารจากเชื้อ เอชไพโลไร จะมีอาการของกระเพาะอาหารอักเสบที่เป็นเรื้อรัง และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การใช้ยาลดกรด และยาแก้ปวดท้อง มักไม่ช่วยให้อา การดีขึ้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร และน้ำหนักลดอย่างมีนัยสำคัญ

โดยทั่วไป เมื่อผู้ป่วยมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดแน่นท้อง จุกเสียดลิ้นปี่ ท้องอืด มักได้รับการวินิจฉัยจากอาการเหล่านี้ว่า เป็นโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจเกิดจากการอักเสบของกระเพาะอาหาร หรือมีแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิด อาจเป็นผลจากการติดเชื้อเอชไพโลไร หรือจากสาเหตุอื่นๆก็ได้ เช่น การใช้ยาแก้ปวดลดอักเสบกลุ่ม เอ็นเสด (NSAIDs) เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนาน เป็นต้น ดังนั้นในเบื้องต้น แพทย์จะทำการรักษาโดยการให้ยาลดกรด ยาลดอาการปวดท้อง และให้ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุไปก่อน หากอาการของผู้ป่วยเป็นเรื้อรัง ไม่ดีขึ้น อาการรุนแรง หรือมีอาการที่น่าสง สัยว่าอาจเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร จึงจะใช้การตรวจด้วยการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น (Gastroscope) ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อจากรอยโรคที่พบจากการส่องกล้องเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ป่วยมีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นหรือไม่ และเป็นมะเร็งของกระ เพาะอาหาร รวมทั้งการพิสูจน์ว่ามีการติดเชื้อเอชไพโรไล ร่วมด้วยหรือไม่

การพิสูจน์ว่ามีการติดเชื้อเอช ไพโลไรหรือไม่นั้น ทำได้หลายวิธี ได้แก่

การตัดชิ้นเนื้อจากกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก แล้วนำไปตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธีที่เรียกว่า Urease test หรืออาจนำชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งนอกจากจะตรวจหาเชื้อแบคทีเรียได้แล้ว ยังสามารถประเมินความรุนแรงของการอักเสบ และเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะ เร็งกระเพาะอาหารหรือไม่
การนำสารคัดหลั่งหรือชิ้นเนื้อจากกระเพาะอาหารไปเพาะเชื้อ วิธีนี้มักจะใช้เพื่อต้องการดูความไว/การตอบสนองของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่ให้ยาไป 2 ครั้งแล้ว เชื้อแบคทีเรียนี้ยังไม่หายไป
การให้ผู้ป่วยดื่มสารยูเรียที่มีสารกัมมันตภาพรังสี หากผู้ป่วยมีเชื้อ เอช ไพโลไร เชื้อจะไปย่อยสารยูเรีย กลายเป็นแอมโมเนียและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีสารกัมมันตภาพรังสีติดอยู่ ซึ่งจะตรวจพบสารดังกล่าวจากลมหายใจออกของผู้ป่วยได้ เรียกการตรวจนี้ว่า Urea breath test
การตรวจหาส่วนประกอบของเชื้อจากอุจจาระ (Stool antigen test)

การรักษาโรคติดเชื้อเอชไพโลไร คือ การให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ ร่วมกับการให้ยาลดกรด จะให้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการส่องกล้อง และตรวจพบแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น ร่วมกับการตรวจพบเชื้อเอช ไพโลไร หรือให้ในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกระเพาะอาหาร แล้วไม่ได้ส่องกล้องตรวจ แต่ตรวจพบเชื้อ เอช ไพโลไร ด้วยวิธีต่างๆดังกล่าวในหัวข้อ การวินิจ ฉัย

ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาเชื้อแบคทีเรีย จะประกอบด้วยยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 2 ชนิด การใช้ยาชนิดเดียวพบว่า ไม่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้ นอกจากนี้ จะต้องให้ยาลดกรดควบคู่ไปด้วย การให้ยาจะอยู่ในรูปแบบรับประทาน โดยให้นานประมาณ 7-14 วัน หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน จะตรวจดูอีกครั้งว่า ยังมีเชื้อแบคทีเรียอีกหรือไม่ ซึ่งอาจใช้วิธี Ureabreath test หรือ Stool antigen test หากยังพบเชื้ออยู่ จะต้องรักษาอีกครั้ง โดยเปลี่ยนชนิดยาปฏิชีวนะที่ให้ หลังจากนั้นก็จะตรวจซ้ำเช่นเดิม หากยังไม่หาย ต้องมีการนำเชื้อแบคทีเรียไปเพาะเชื้อ เพื่อทด สอบความไวของยาปฏิชีวนะต่อเชื้อ

สำหรับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองของกระเพาะอาหารชนิด (MALT lymphoma) ที่ตรวจพบเชื้อ เอช ไพโลไร พบว่าการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ มีโอกาสทำให้โรคหายได้ ส่วนโรคมะเร็งกระเพาะอาหารชนิด Adenocarcinoma การให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อไม่สามารถทำให้โรคหายได้ ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด การฉายรังสีรักษา

ผลข้างเคียงจากโรคและการพยากรณ์โรคของโรคติดเชื้อเอช ไพโลไร คือ

ผู้ที่ได้รับยาปฏิชีวนะรักษาจนเชื้อแบคทีเรียหาย มีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้อีก แต่ค่อน ข้างน้อย โดยการติดเชื้อซ้ำมักจะเกิดในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
ผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น หากได้รับปฏิชีวนะรักษาจนเชื้อหายไป แผลจะสามารถหายได้เป็นปกติ
ผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น แล้วไม่ได้รับการรักษา หากมีการเสียเลือดจากการมีเลือดออกจากแผล เป็นเวลานานๆ จะทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง/ภาวะซีดได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการ อ่อนเพลีย และเหนื่อยง่าย ในบางครั้งหากมีเลือดออกปริ มาณมาก ผู้ป่วยก็จะแน่นท้อง และอาจอาเจียนออกมาเห็นเป็นสีกาแฟได้ เรียก Coffee ground ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการใจสั่น หน้ามืด มีความดันโลหิตต่ำ จนถึงช็อก หมดสติ ได้

Anonymous

30 สิงหาคม 2560 06:08:05 #3

ผมมีอาการเรอบ่อยเวลากินนํ้าเปล่า   แล้วก็ถ่ายเหลวไม่ค่อยจับตัวเป็นก้อน   ผลตรวจอุจาระปกติ

แต่คิดว่าตัวเองติดเชื้อนี้ เลย ไปตรวจเลือด เอาที่ lab 

H.pylori IGG บวก

เลยไปหาหมอ  หมอจะให้ส่องกล้อง  ผมไม่อยากส่องกล้อง อยากให้หมอตรวจด้วยวิธีอืนๆ

หมอไม่ยอมเลยให้ ยารักษาโรคกระเพราะมาเฉยๆ

 

ผมเลยไปหายา มากินเอง Amoxicillin 7 วัน

ต่อด้วย Amoxicillin กับ  clarithromycin อีก 14 วัน

ไม่รู้เหมือนกันว่า เชื้อหายยัง  กินยา หาตามข้อมูลใน net เอา

 

ทุกวันนี้ รู้สึกว่าอาการเบาลง แต่ยังคง มีอยู่

 

แล้วก็มีกล้ามเนื้อกระตุกเองบ้าง เล็กน้อย ปลายนิ้วลอก มื้อสั่น ไม่รู้เป็นไรกันแน่ งงมากไปหาหมอก็หาสาเหตุไปเจอ ตรวจหลายอย่างแล้ว

 

เลย ทนๆๆไป จนกว่า อาการจะรุ้นแรง หมอ จะได้ หาโรคเจอ