กระดานสุขภาพ
การตรวจแบบ IgM สามารถแยก type ของเริมได้หรือปล่าวค่ะ ต้องไปโรงพยาบาลใหนค่ะ | |
---|---|
27 สิงหาคม 2560 03:45:16 #1 รบกวนสอบถามค่ะ ดิฉันเป็นเริม type1 ที่ริมฝีปากนานแล้ว และอยากรู้ว่าที่ผ่านมาเป็น type2 หรือปล่าว เนื่องจากไม่เคยมีอาการของ type2 เลยค่ะ ได้อ่านเจอว่าผู้ติดเริม type2 อาจไม่แสดงอาการเลย ดิฉันได้ไปตรวจแบบ Herpes Simplex Virus IgM (by CLIA) ผลคือ Positive แต่ไม่สามารถแยก type ได้ เจ้าหน้าที่แลบแนะนำให้ตรวจแบบ Herpes Simplex Virus(HSV) 1,2 PCR(EDTA-blood) Real time PCR ผลคือ Herpes simplex virus type1...Undetectable Herpes simplex virus type2...Undetectable แต่จุดประสงค์ของดิฉันคือ อยากทราบว่าที่ผ่านมาดิฉันติดเริม type2 หรือปล่าว ต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลใหนค่ะ ต้องตรวจแบบใหนค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
|
|
อายุ: 39 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 42 กก. ส่วนสูง: 154ซม. ดัชนีมวลกาย : 17.71 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
27 สิงหาคม 2560 15:35:30 #2 ก่อนอื่นต้องขออนุญาตสอบถามให้ข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัส Herpes simplex virus ก่อนนะคะ เริม หรือ โรคเริม (Herpes simplex) เป็นโรคทางผิวหนังที่พบบ่อยอีกโรคหนึ่ง พบได้ในทุกอายุ แต่พบได้บ่อยกว่าในวัยหนุ่มสาวและในวัยผู้ใหญ่ โอกาสเกิดโรคใกล้ เคียงกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย และจัดเป็นโรคติดต่อ โรคเริมเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ชื่อ เฮอร์ปี ซิมเพล็กไวรัส หรือ เรียกย่อว่า เอชเอสวี (Herpes simplex virus, HSV) ซึ่งเป็นไวรัสต่างชนิดกับโรคงูสวัดและโรคอีสุกอี ใส ถึงแม้จะก่อให้เกิดตุ่มน้ำกับผิวหนังได้คล้ายๆกัน เมื่อติดเชื้อเริมมักไม่มีอาการอะไร แต่เชื้อจะอยู่ในตัวตลอดชีวิต ในปมประสาท รอจนเมื่อร่างกายอ่อนแอลงจึงแสดงอาการ อาการสำคัญของโรคเริมคือ การเกิดตุ่มพองเล็กๆเจ็บ ต่อมาเกิดเป็นตุ่มน้ำอย่างรวดเร็วภายใน 1 - 2 วัน ในตุ่มมีน้ำใสๆ ตุ่มมักเกิดเป็นกลุ่มๆ ลักษณะตุ่มคล้ายของโรคงูสวัดและตุ่มโรคอีสุกอีใส แต่เกิดในตำแหน่งและมีการแพร่กระจายของตุ่มผิดกัน อาการเป็นอยู่ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์และหายเองได้ ควรรีบพบแพทย์เมื่อ
จากประวัติคุณมีอาการของเริมที่บริเวณริมฝีปาก ก็มักจะเป็น type 1 |
Bua9*****9 |
29 สิงหาคม 2560 05:03:58 #3 เนื่องจากดิฉันและแฟนเป็นเริมที่ริมฝีปากทั้งคู่ ทำให้เป็นกังวลมากค่ะ ถ้าจะขอเข้ารับการตรวจเพื่อดูว่าที่ผ่านมาเป็นเริม type2 หรือปล่าว ต้องเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลใหนค่ะ ต้องตรวจระบบใหนค่ะ ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
30 สิงหาคม 2560 07:21:44 #4 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสเริมหรือ HSV นั้น สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ดังนี้ 1. การเพาะแยกเชื้อไวรัสเริม ตัวอย่างที่นิยมใช้คือ สวอปที่ป้ายเก็บจากตุ่มน้ำใสหรือบริเวณรอยโรคที่ปรากฏ จุ่มใส่ใน transport medium นำส่งห้องปฏิบัติการโดยการแช่น้ำแข็งทันที หรือน้ำไขสันหลัง ถ้าส่งไม่ได้ให้นำเข้าตู้เย็นเก็บที่ 2-8 องศาเซลเซียส ห้ามนำเข้าช่องแช่แข็งโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ปริมาณไวรัสลดต่ำลง เนื่องจากไวรัสเริมเป็นไวรัสที่เพาะแยกได้ง่าย และใช้รอบเวลาในการเพิ่มจำนวนสั้นมาก (13-18 ชั่วโมงต่อการเพิ่มจำนวน 1 ครั้ง) นอกจากนี้ไวรัสสามารถเพิ่มจำนวนในเซลล์เพาะเลี้ยงได้หลายชนิด เช่น เซลล์ของคน HeLa cell และ HEp-2 cell ที่นิยมใช้มากคือเซลล์จาก African green monkey kidney ชื่อ Vero cell เซลล์ติดเชื้อ HSV จะมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป เรียกว่า เกิด cytopathic effect (CPE) ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างเฉพาะคือ จะพบเซลล์มีขนาดใหญ่ กลม วาว และมีนิวเคลียสอยู่รวมกันในเซลล์เดียว เรียกลักษณะนี้ว่า Multinucleated giant cell หรือ Polykaryotic cell การเพาะแยกไวรัสปัจจุบันก็ยังเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค เพราะผลที่ได้แสดงภาวการณ์ดำเนินของโรค ดังนั้นการเพาะแยกเชื้อจึงเป็นวิธีที่นิยมใช้อยู่ แม้ว่าจะใช้เวลาประมาณ 3-7 วัน 2. การตรวจหาไวรัสแอนติเจน เนื่องจากการเพาะแยกเชื้อใช้เวลาค่อนข้างนานจึงมีการพัฒนาที่จะตรวจหาไวรัสแอนติเจนโดยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลรวดเร็วขึ้น แบ่งลักษณะการตรวจออกเป็น 2 แบบ คือ 2.1. การตรวจแบบไม่จำเพาะ ได้แก่ 2.2. การตรวจแบบจำเพาะ ได้แก่ 3. การตรวจหาแอนติบอดีจำเพาะต่อไวรัส ตัวอย่างที่นิยมใช้คือ น้ำเหลืองซีรั่ม การตรวจพบแอนติบอดีชนิด IgM เป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ ซึ่งการตรวจแอนติบอดีนี้มีความสำคัญในการวินิจฉัยโรคในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อครั้งแรก แต่ในรายที่มีการติดเชื้อซ้ำ ร่างกายของผู้ป่วยเหล่านั้นจะมีระดับแอนติบอดีอยู่แล้ว ทำให้การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG มักจะไม่ค่อยได้ประโยชน์ เพราะการตรวจพบ IgG ก็ไม่บ่งบอกภาวการณ์ติดเชื้อปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการตรวจหาการเพิ่มขึ้น 4 เท่าหรือมากกว่าของระดับแอนติบอดีชนิด IgG ในน้ำเหลืองผู้ป่วยที่เก็บ 2 ครั้ง และการตรวจพบ IgM อาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ภาวะการติดเชื้อได้ แต่ส่วนใหญ่ในผู้ติดเชื้อซ้ำมักตรวจไม่พบ IgM วิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ ELISA และบางห้องปฏิบัติการยังใช้วิธี Immunofluorescent assay ความสำคัญในการจำแนกไทป์หรือชนิดของ HSV พบว่านอกจากมีความสำคัญในแง่ระบาดวิทยาแล้ว ยังช่วยในการพยากรณ์ความรุนแรงของโรค เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาระยะเวลาการให้ยารักษาโรค โดยทั่วไปพบว่า HSV-2 มักมีความรุนแรงของโรคมากกว่า HSV-1 จึงนิยมให้ยารักษาระยะนานกว่า วิธีการจำแนกไทป์ที่นิยมทำคือการใช้แอนติบอดีจำเพาะต่อไทป์ (โมโนโคลนอลแอนติบอดี) มาย้อมเซลล์ติดเชื้อไวรัสที่มาจากตัวอย่างส่งตรวจโดยตรงหรือที่ได้จากการเพาะแยกเชื้อ หรือตรวจหาแอนติบอดีจำเพาะต่อไทป์ ซึ่งปัจจุบันมีชุดน้ำยาสำเร็จรูปของบริษัทจำหน่ายแล้ว |
Bua9*****9