กระดานสุขภาพ
เนื้องอกในสมอง | |
---|---|
15 สิงหาคม 2560 11:43:50 #1 แม่ของดิฉัน เป็นเนื้องอกในสมองค่ะ เป็นมาตั้งแต่ปี58 ได้รับการผ่าไปแล้ว ตอนปี58 พอผ่าแม่ก็กลับมาใช้ชีวิตปกติ พอปี 59 ต้นปี แม่มีอาการปวดหัวอีก ตามองไม่ชัด แพทย์บอกว่าสมองบวมมีเนื้องอกโตอีก แล้วก็ผ่าอีกรอบ ตาแม่ก็ไม่สามารถมองได้เห็นเหมือนคนปกติอาจเป็นเพราะเนื้องอกไปกดทับประสาทด้านการมองเห็น.หลังจากนั้น ปี60 ต้นปี แม่มีอาการปากเบี้ยว เดินแล้วหน้ามืด ไปพบแพทย์ แพทย์บอกก้อนเนื้องอกโตอีก อยู่ในจุดสำคัญต้องรีบผ่าให้เร็วที่สุด ให้แม่นอนโรงบาลตั้งแต่วันที่11 บอกว่าจะผ่าวันที่15 พอถึงวันที่15 หมอบอกขอเลื่อน เป็นวันที่21 เพราะติดผ่าเคสอื่น วันที่ไปพบแพทย์ที่แพทย์บอกให้ผ่าตัด แพทย์บอกว่าที่ก้อนเนื้องอกมันโตเป็นเพราะ พันธุกรรมของตัวคนไข้เอง ถ้าเป็นอย่างนี้แม่ดิฉันก็ต้องผ่าแบบนี้ไปเรื่อย หรอค่ะ มีวิธีไหนที่สามารถกำจัดเนื้องอกได้ โดยไม่ผ่าตัดไหมค่ะ |
|
อายุ: 53 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 50 กก. ส่วนสูง: 156ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.55 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
17 สิงหาคม 2560 16:34:40 #2 เนื้องอกสมอง (Benign brain tumor) เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยมากนัก แต่มีหลายชนิด โดยตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก แบ่งชนิดของเนื้องอกสมองออก เป็นคร่าวๆได้ถึงประมาณ 120 ชนิด อย่างไรก็ตาม เราสามารถแบ่งเนื้องอกสมองได้อย่างง่ายๆเป็น 2 ชนิด คือ เนื้องอกของตัวเนื้อสมองเอง เนื้องอก สมอง และ เยื่อหุ้มสมอง/เส้นประสาท เป็นเนื้องอกธรรมดา มีการเจริญเติบโตช้า ไม่สามารถลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง หรือแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด (โลหิต)ได้ แต่เมื่อก้อนเนื้องอกมีขนาดโตมากขึ้น อาจกดเบียดทับตัวเนื้อสมองข้างเคียงได้ อย่างไรก็ตามเนื้องอกสมองเหล่านี้จัดเป็นโรคที่มีความรุนแรงมากกว่าเนื้องอกของอวัยวะอื่นๆ เพราะสมองเป็นอวัยวะที่สำคัญ มีหน้าที่ในการควบคุมอวัยวะต่างๆของร่างกาย เนื้องอกเหล่านี้จึงส่งผลต่อการดำรงชี วิตของเราได้สูงกว่า ส่วนโรคมะเร็งสมอง (Malignant brain tumor) นั้น ก็สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดเหมือน กัน คือ โรคมะเร็งของตัวเนื้อสมองเอง หรือโรคมะเร็งสมองปฐมภูมิ (Primary malignant brain tumor) และโรคมะเร็งที่แพร่กระจายมาจากโรคมะเร็งของอวัยวะอื่นๆ หรือโรคมะเร็งสมองทุติยภูมิ (Secondary malignant brain tumor หรือ Brain metastasis) เช่น แพร่กระ จายมาจาก โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ เนื้องอก/มะเร็งสมองสามารถพบได้ตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งวัยผู้สูงอายุ แต่มีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดของโรค เช่น เนื้องอกบางชนิดมักพบในผู้ป่วยเด็ก เช่น Medulloblastoma แต่เนื้องอกบางชนิดมักพบในผู้ใหญ่ เช่น Glioblastoma multiforme หรือเรียกย่อว่า จีบีเอ็ม (GBM) อนึ่ง ในผู้ใหญ่ โรคมะเร็งที่พบที่สมอง มักเป็นโรคมะเร็งของเนื้อเยื่อ/อวัยวะอื่นๆที่แพร่ กระจายมาที่สมองมากที่สุด (โรคมะเร็งสมองทุติยภูมิ) ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดเนื้องอก/มะเร็งสมอง แต่มีการศึก ษาพบว่า มีปัจจัยบางอย่างที่อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับรังสีต่างๆ การฉายรังสี (รังสีรักษา) ที่สมองในวัยเด็ก สารพิษจากโรงงานผลิตยาง หรือสารพิษจากโรงงานกลั่นน้ำมัน อายุ ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งสมอง (มะเร็งสมองปฐมภูมิ) และเป็นโรคมะเร็งที่แพร่กระจายมาสมอง (มะเร็งสมองทุติยภูมิ) มากกว่าคนอายุน้อย พันธุกรรม โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางโรคที่ทำให้เกิดเนื้องอกในหลายๆเนื้อ เยื่อ/อวัยวะรวมทั้งในสมอง เช่น โรค Von Hippel-Lindau Syndrome แต่อย่างไรก็ตามเนื้องอก/มะเร็งสมองชนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม นั้นพบได้น้อยมากๆ และเป็นเพียงโอกาสของการเป็นเนื้องอก/มะเร็งของสมองสูงกว่าคนทั่วๆไปเท่านั้น ไม่ไช่ญาติพี่น้องต้องเป็นโรคทุกคน ปัจจัยอื่นๆ คือ ปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ ก็ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่จะเพิ่มโอกาสให้มีโรคมะเร็งแพร่กระจายมาที่สมอง (มะเร็งสมองทุติยภูมิ) เพิ่ม ขึ้นได้ด้วย อาการที่พบได้ในผู้ป่วยเนื้องอก/มะเร็งสมอง จะมีกลุ่มอาการที่สำคัญ 3 ลักษณะอาการ คือ อาการปวดศีรษะ เป็นอาการที่พบบ่อย และมักพบอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย โดยลักษณะของการปวดศีรษะนั้น มักมีอาการปวดในตอนเช้าหลังตื่นนอน หรือช่วงหลับตอนกลางคืน จนอาจทำให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นมาได้ และอาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆหากไม่ได้รับการรักษา เนื่องจากรอยโรคมีขนาดขยายใหญ่ขึ้นๆ บางรายอาจมีการมองเห็นผิดปกติ หรือสูญเสียการมองเห็นแบบฉับพลันร่วมกับอาการปวดศีรษะได้ ทั้งนี้ขึ้นกับตำแหน่งที่เกิด โรค อาการชัก ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ อาการชักทั้งตัว อาจพบมีการหมดสติหลังการชัก และ/หรืออาจมีปัสสาวะ อุจจาระโดยไม่รู้ตัวได้ด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการหมดสติเฉียบพลัน และอาจร่วมกับมีอาการอื่นๆคล้ายกับอาการของโรคหลอดเลือดสมองได้ เช่น แขน ขา อ่อนแรง หน้าชา พูดไม่ชัด ปัสสาวะ อุจจาระเองไม่ได้ ในการดูแลรักษาผู้ป่วยเนื้องอก/มะเร็งสมองนั้น มักไม่แบ่งโรคออกเป็นระยะๆเหมือนในโรคมะเร็งของอวัยวะอื่นๆ แต่จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มของผู้ป่วย คือ กลุ่มเนื้องอก/มะเร็งสมอง ที่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้ ในการดูแลรักษาเนื้องอก/มะเร็งสมองนั้น มีการรักษาหลักๆร่วมกันอยู่ 3 วิธี คือ การผ่า ตัด รังสีรักษา และยาเคมีบำบัด การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักของโรคนี้ โดยส่วนใหญ่ หากรอยโรคอยู่ในตำแหน่งที่สามารถผ่าตัดออกได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อความพิการและชีวิตผู้ป่วย แพทย์ที่ทำการรักษามักพิจารณาผ่าตัดก้อนเนื้อออกให้หมด หรือผ่าตัดออกให้มากที่สุด เพื่อลดขนาดของเนื้องอก/มะเร็ง ลดการใช้ยาสเตียรอยด์ในผู้ป่วยบางราย (ใช้รักษาภาวะสมองบวม) หรือในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดออกได้ แพทย์ที่ทำการรักษาอาจจำเป็นต้องผ่าตัด หรือเจาะ/ดูดชิ้นเนื้อออกมาบางส่วนเพื่อการตรวจทางพยาธิ หรือการตรวจทางเซลล์วิทยา เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้องสำหรับวางแผนการรักษาต่อไป การให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งการให้ยาเคมีบำบัดนั้นจะใช้ในผู้ป่วยเนื้องอก/มะเร็งสมองเฉพาะชนิดที่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดซึ่งมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น และราคายายังแพงมหาศาลเกินกว่าผู้ป่วยทุกคนจะเข้าถึงยาได้ อนึ่งการดูแลรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้องอก/มะ เร็งสมอง สภาพร่างกายของผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ที่ทำการรักษา ส่วนการรักษาโดยใช้ยารักษาตรงเป้า ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษา นอกจากการรักษาหลักทั้ง 3 วิธีแล้ว ผู้ป่วยยังจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมตามอา การด้วย ดังนี้ ควบคุมอาการชัก แพทย์ที่ทำการรักษามักให้ยาป้องกันการชักกับผู้ป่วยที่เคยมีประวัติชักมาก่อน ซึ่งในระหว่างที่ผู้ป่วยใช้ยากันชักอยู่นั้น ควรกินยาอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรขาดยา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการชักขึ้นมาอีก กายภาพบำบัด หากเนื้องอก/มะเร็งสมองมีรอยโรคอยู่ในบริเวณที่ควบคุมการเคลื่อน ไหวของร่างกาย อาจส่งผลให้ผู้ป่วยใช้งานของอวัยวะต่างๆได้น้อยลง หรือผิดปกติไป ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อฟื้นฟูการทำงานของอวัยวะต่างๆที่ผิดปกติไป โดยเฉพาะอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อ แขน ขา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การจัดการเกี่ยวกับกระบวนการคิด และการปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ อาจส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ดังนั้น ครอบครัว เพื่อน และผู้เกี่ยวข้องต่างๆเช่น นายจ้าง อาจต้องได้รับคำ แนะนำจากแพทย์ พยาบาล เพื่อให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย และให้ผู้ป่วยรับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล เช่น การทำกิจกรรมบำบัด และโปรแกรมการฟื้นฟูอาชีพ ความรุนแรงของโรคเนื้องอก/มะเร็งสมอง ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยจากตัวผู้ ป่วยเอง และปัจจัยจากตัวโรค ปัจจัยจากตัวผู้ป่วยเอง ได้แก่ อายุ ผู้ป่วยอายุน้อย มักทนการรักษาได้ดีกว่าผู้ป่วยสูงอายุ จึงมีผลการรักษาที่ดีกว่า ปัจจัยจากตัวโรค ได้แก่ ชนิดของเนื้องอก/มะเร็งสมอง เนื้องอกชนิดมีความรุนแรงน้อย จะให้ผลการรัก ษาที่ดีกว่าชนิดมีความรุนแรงมาก รวมถึงการรักษาโรคเนื้องอกสมอง ให้ผล การรักษาดีกว่าการรักษาโรคมะเร็งสมอง ตำแหน่งของรอยโรคในสมอง คือ รอยโรคที่เกิดขึ้นในบริเวณที่สำคัญและส่ง ผลอันตรายต่อร่างกายก็จะมีผลการรักษาที่ไม่ดี เนื่องจากทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติมาก รวมไปถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือการฉายรังสีรักษาก็อาจจะมีข้อจำกัดมากกว่ารอยโรคที่ไม่ได้อยู่ในบริเวณที่สำคัญ เช่น รอยโรคในตำ แหน่งก้านสมอง เป็นต้น |
Pond*****g