กระดานสุขภาพ

รู้สึกเหมือนอุจาระไม่สุด
Jjss*****1

11 สิงหาคม 2560 07:15:49 #1

สอบถามอาการครับ ก่อนหน้านี้มีอาการท้องผูกจนอึบาดทวารเป็นแผล หลังจากนั้นไปพบแพทย์มาอาการต่อมาคือเบื่ออาหารไม่อยากกินอะไรเลย ตื่นเช้าเวลาถ่ายก็จะมีแต่ลมถ่ายไม่ออกนั่งซักพักจะถ่ายเป็นนิ่มๆปกติ แต่เหมือนจะถ่ายไม่สุดเลยนั่งต่อหลังจากนั้นจะออกมาเป็นก้อนเล็กๆเรียวๆบ้างเป็นใยๆบ้างไม่เหลวเป็นน้ำ พอกลับมานั่งได้ซักพักเหมือนรู้สึกปวดอุจาระอีกเหมือนที่ถ่ายไปไม่สุด ไปนั่งถ่ายก็จะเป็นแบบเดิมคือออกมามีน้ำๆมีใยๆครับ แบบนี้ผิดปกติมั้ยครับเป็นผลข้างเคียงจากยารึเปล่า

ได้ยา Ibuprofen 400mg กับ Reparil-Dragees และ Cyclo 3 fort มาทานครับ เป็นโรคอะไรรึเปล่าครับกังวลและเครียดมากเลย 

อายุ: 26 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 67 กก. ส่วนสูง: 168ซม. ดัชนีมวลกาย : 23.74 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Jjss*****1

11 สิงหาคม 2560 11:45:34 #2

ล่าสุดนั่งถ่ายออกมามีแค่เส้นๆสองสามเส้นแล้วก็ถ่ายไม่ออกอีก ยังมีอาการปวดเหมือนถ่ายไม่สุดมีอะไรดำๆในอุจจาระด้วย ปกติมั้ยครับแบบนี้

 

 

ภาพครับ

http://haamor.com/media/images/webboardpics/jjssaa1-37677.jpg

พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

12 สิงหาคม 2560 05:01:45 #3

ท้องผูก (Constipation) เป็นอาการ ไม่ใช่โรค ได้แก่ อาการไม่ถ่ายอุจจาระตามปกติ ซึ่งโดยคำนิยามทางการแพทย์ ท้องผูกหมายถึงความผิดปกติทั้งจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ ซึ่งต้องน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ลักษณะของอุจจาระต้องแห้ง แข็ง การขับถ่ายต้องใช้แรงเบ่งหรือใช้มือช่วยล้วง และภายหลังอุจจาระแล้วยังมีความรู้สึกว่าอุจจาระไม่สุด

ท้องผูก เป็นอาการพบบ่อยมากประมาณ 12% ของประชากรทั้งโลก พบได้ในทุกอายุตั้ง แต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ แต่พบได้บ่อยกว่าในเด็ก (จากกล้ามเนื้อเพื่อการขับถ่ายในเด็กยังเจริญเติบ โตไม่เต็มที่) และในผู้สูงอายุ (จากกล้ามเนื้อเพื่อการขับถ่ายเสื่อมตามอายุ รวมทั้งผู้สูงอายุยังขาดการเคลื่อนไหวและมักมีโรคประจำตัวที่ส่งผลถึงการทำงานของกล้ามเนื้อเพื่อการขับถ่าย) และผู้ หญิงพบได้บ่อยกว่าผู้ชาย ซึ่งอาจเป็นผลจากฮอร์โมนเพศที่แตกต่างกัน

ท้องผูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อยคือ

เกิดจากลำไส้เคลื่อนตัวช้ากว่าปกติหรือบีบตัวลดลง ทั้งนี้เพราะขาดตัวกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้จากมีลำอุจจาระเล็ก เช่น จากกินอาหารที่ขาดใยอาหาร และ/หรือ ดื่มน้ำน้อย อุจจาระจึงแข็งและลำอุจจาระเล็ก ลำไส้จึงบีบตัวลดลง อุจจาระจึงเคลื่อนตัวได้ช้า
จากขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย จึงส่งผลให้ลำไส้บีบตัวเคลื่อนตัวช้า
จากปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ เช่น ความเครียด ความกังวล หรือการไม่มีเวลาพอในการขับถ่าย จึงส่งผลถึงการทำงานของลำไส้ลดการบีบตัวลง
มีโรคเรื้อรังที่ส่งผลให้เกิดการเสื่อมของกล้ามเนื้อลำไส้และ/หรือประสาทลำไส้ จึงส่งผลให้ลำไส้บีบตัวลดลง กากอาหาร/อุจจาระจึงเคลื่อนตัวได้ช้าลง เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆเช่น เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ และไตวาย
มีโรคของระบบประสาท จึงส่งผลถึงการทำงานเคลื่อนไหวบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ลด ลง เช่น โรคหลอดเลือดสมองโรคเนื้องอก/มะเร็งของสมอง หรือของไขสันหลัง
โรคของกล้ามเนื้อเอง จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อลำไส้บีบตัวลดลง เช่น โรคหนังแข็ง (Scleroderma)
กินยาบางชนิดที่ลดการบีบตัวของลำไส้ เช่น ยาคลายเครียดบางชนิด ยาโรคกระเพาะอาหารบางชนิด ยาลดความดันโลหิตบางชนิด หรือยาขับน้ำ/ยาขับปัสสาวะ
โรคของลำไส้เอง ก่อให้เกิดการอุดกั้นลำไส้ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจัยต่อการเกิดอาการท้องผูกที่พบบ่อยคือ

กินอาหารมีกากใยต่ำ (กินผักผลไม้น้อย)
ดื่มน้ำน้อย
ขาดการเคลื่อนไหวร่างกายและ/หรือการออกกำลังกาย
มีโรคเรื้อรังประจำตัว ทำให้ต้องจำกัดการออกแรงและ/หรือการออกกำลังกาย หรือโรคส่งผลต่อประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้
กินยาบางชนิด ซึ่งมีผลข้างเคียงลดการบีบตัวของลำไส้ เช่น ยาแก้ปวดในกลุ่มมอร์ฟีน
โรคเนื้องอกหรือโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ดังกล่าวแล้ว

แนวทางการรักษาอาการท้องผูกที่สำคัญคือ การเพิ่มมวลอุจจาระและทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มเคลื่อนที่ได้ง่าย ซึ่งคือ การกินอาหารมีใยอาหารสูง (ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วต่างๆ) และดื่มน้ำสะ อาดวันละมากๆเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม (เช่น โรคหัวใจล้มเหลว) อย่างน้อยวันละ 8 - 10 แก้ว และเคลื่อนไหวร่างกายออกกำลังกายเสมอ

ถ้าอาการท้องผูกยังคงมีอยู่ไม่ดีขึ้นหลังปรับเปลี่ยนอาหาร ดื่มน้ำ และเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย อาจใช้ยาแก้ท้องผูกโดยปรึกษาเภสัชกรก่อนเสมอ ถ้าซื้อยากินเอง

เมื่อใช้ยาแก้ท้องผูกนานเกิน 5 - 7 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เพราะการใช้ยาแก้ท้องผูกบ่อยๆจะยิ่งกลับมาท้องผูกมากขึ้นและต้องเพิ่มปริมาณใช้ยามากขึ้นจนอาจก่ออันตรายได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มวนท้อง ปวดท้อง

นอกจากนั้นคือ การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น รักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อเป็นสาเหตุของท้องผูก เป็นต้น

โดยทั่วไปอาการท้องผูกไม่รุนแรง เมื่อปรับพฤติกรรมการกิน/ดื่มน้ำและเคลื่อนไหวออกกำ ลังกายเพิ่มขึ้น อาการท้องผูกจะหายไปเอง แต่ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุด้วย ดังนั้น เมื่อเกิดอาการท้อง ผูกโดยไม่เคยเป็นมาก่อนและอาการไม่ดีขึ้นหลังดูแลตนเองภายใน 1 - 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ แต่เมื่อใช้ยาแก้ท้องผูกแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์ภายใน 5 - 7 วันหลังใช้ยาเพื่อหาสาเหตุ และเพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากยาแก้ท้องผูกถ้าใช้ยานานกว่านี้ดังกล่าวแล้ว

การดูแลตนเองเมื่อท้องผูก เช่นเดียวกับการป้องกันท้องผูกคือ

กินอาหารมีใยอาหารสูงในทุกมื้ออาหาร
ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6 - 8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
เคลื่อนไหวร่างกายออกกำลังกายเสมอไม่นั่งๆนอนๆ
ผ่อนคลายอารมณ์ ลดความเครียด ลดความกังวล
ฝึกขับถ่ายเป็นเวลา ควรเริ่มตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก และมีเวลาให้ในการขับถ่ายไม่รีบเร่ง
ไม่กลั้นอุจจาระจนเป็นนิสัย เมื่อปวดถ่ายควรรีบเข้าห้องน้ำเสมอ
ควรปรึกษาแพทย์เรื่องท้องผูกโดยไม่ควรใช้ยาแก้ท้องผูกเอง แต่ถ้าจะใช้ยาแก้ท้องผูกเอง ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยาเสมอ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา
ควรพบแพทย์ เมื่อ

ดูแลตนเองในเบื้องต้นแล้วยังท้องผูก
ใช้ยาแก้ท้องผูก ประมาณ 5 - 7 วันแล้วท้องผูกยังไม่ดีขึ้น
ท้องผูกเกิดโดยไม่เคยมีอาการมาก่อน
มีอาการท้องผูกเรื้อรังนานเกิน 1 สัปดาห์
ท้องผูกสลับท้องเสียโดยไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะเป็นอาการหนึ่งของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
อุจจาระมีลักษณะเล็กแบนเหมือนริบบิ้น เพราะเป็นตัวบ่งชี้ว่า อาจมีลำไส้ใหญ่ตีบ ซึ่งอาจจากมีก้อนเนื้อในลำไส้ใหญ่
มีเลือดออกหลังอุจจาระบ่อย เพราะอาจเป็นอาการของโรคริดสีดวงทวาร หรือมีก้อนเนื้อในลำไส้ใหญ่ หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่
กังวลในอาการ

ควรรีบพบแพทย์หรือพบแพทย์เป็นการฉุกเฉินขึ้นกับความรุนแรงของอาการ เมื่อท้องผูกร่วมกับ

ปวดเบ่งมากเมื่อถ่าย
ปวดท้องมาก และ/หรือคลื่นไส้ อาเจียน เพราะอาจเป็นอาการของ ลำไส้อุดตัน
อุจจาระเป็นเลือด