กระดานสุขภาพ
คุณแม่มือใหม่ ขอคำแนะนำจากคุณหมอและคุณแม่รุ่นพี่ เรื่องอาการปัสสาวะเล็ด+น้ำคาวปลาหลังคลอดหน่อยค่ะ | |
---|---|
8 สิงหาคม 2560 10:06:28 #1 ปกติ ตอนท้องก็จะมีปัญหานี้อยู่แล้ว แต่พอหลังคลอดผ่านมา 1 เดือน อาการเหล่านี้ก็ยังไม่หมดไปค่ะ คุณแม่รุ่นพี่เป็นเหมือนกันไหมค่ะ พอดีท้องแรก เลยไม่ค่อยทราบข้อมูล ตอนแรกๆเราก็ใส่แพมเพิสตอนท้อง แต่นี่คลอดแล้วจะให้มาใส่แพมเพิสเหมือนเดิม ก็คงไม่ค่อยสะดวก มันใหญ่และอึดอัด ไหนจะต้องอุ้มลูก ถือกระเป๋านมอีก = = |
|
อายุ: 30 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 155ซม. ดัชนีมวลกาย : 24.97 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
Anonymous |
9 สิงหาคม 2560 05:21:34 #2 จิ้บ จิ้บ ค่ะ คุณน้อง เรื่องปกติเลย ปัสสาวะเล็ด กับน้ำคาวปลา กลิ่นอีก ต้องรอผ่านไปสักพัก อาการพวกนี้จะดีขึ้น ไม่ต้องไปกังวล ส่วนแพมเพิสก็ไม่ต้องไปใส่หรอกใหญ่ตายเลย ไปใส่แผ่นซึมซับบางๆเอา ลักษณะมันจะบางๆเหมือนผ้าอนามัยเลย ที่เคยใช้ก็จะมี Certianty กับ Lifree แล้วแต่ความชอบอะ แต่พี่ใช้ Lifree เพราะแอบเป็นคนติดแบรนด์ญี่ปุ่น 555 |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
14 สิงหาคม 2560 19:37:42 #3 โรคชำรั่ว หรือ อาการปัสสาวะเล็ด (Urinary incontinence (UI), Involuntary urination, Enuresis) หมายถึง ภาวะที่มีปัสสาวะไหลเล็ดออกมาโดยไม่ตั้งใจและไม่สามารถควบคุมได้ (กลั้นปัสสาวะไม่ได้)
โดยทั่วไปผู้หญิงน่าจะเป็นมากกว่าผู้ชาย สาเหตุเนื่องจากผู้หญิงมีหูรูดซึ่งทำหน้าที่ปลดปล่อยปัสสาวะเพียง 2 อัน แต่ผู้ชายมี 3 อัน และเมื่อวัยล่วงเลย การทำงานของหูรูดเสื่อมสภาพลง ทำให้ควบคุมปัสสาวะได้น้อยลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ชายเมื่อถึงวัยหนึ่งต่อมลูกหมากที่โตขึ้นจะไปก่อให้เกิดการระคายเคืองที่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการบีบตัวบ่อยขึ้น ทำให้โอกาสที่จะเกิดอาการโอเอบีสูงมากขึ้นเช่นกัน โดยอัตราเฉลี่ยของผู้มีโอกาสจะเป็นโรคนี้เริ่มต้นที่อายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุของของอาการปัสสาวะเล็ดในผู้หญิงมักเกิดจาก Stress urinary incontinence (SUI) หมายถึง ภาวะที่มีปัสสาวะเล็ดออกมาโดยควบคุมไม่ได้ขณะออกแรงเบ่ง ไอ หรือจาม ซึ่งเป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์มากที่สุด ภาวะปัสสาวะเล็ดอาจเกิดจาก
การตรวจร่างกายจะเน้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดเช่น มีก้อนเนื้อที่อุดขวางทางเดินปัสสาวะ ภาวะอุจจาระอุดตัน (Stool impaction) และประสาทรับรู้การทำงานไม่ดี การทดสอบจะวัดความสามารถของกระเพาะปัสสาวะและปัสสาวะที่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งสะท้อนถึงการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะที่แย่ลง การรักษามีหลายวิธี ตั้งแต่การจัดพฤติกรรม (Behavior management) การฝึกหัดให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดและควบคุมการขับถ่าย (Bladder training) การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic floor therapy) การกินยา และ การผ่าตัด การรักษาจะได้ผลดีหรือไม่ขึ้นกับการวิเคราะห์โรคเป็นอันดับแรก หนึ่งในการรักษาที่นิยมมากที่สุดคือ การออกกำลังกายบริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน การฝึกขมิบกล้ามเนื้อรอบช่องคลอด (Kegel exercise) จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นแข็งแรง และกล้ามเนื้อหูรูด(Sphincter muscles) สามารถลดการรั่วได้ ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 60 ปี จะได้รับประโยชน์มากที่สุด ผู้ป่วยควรทำอย่างน้อย 24 ครั้ง ใน 1 วัน และอย่างน้อย 6 สัปดาห์ติดต่อกัน จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และทำให้การควบคุมกระเพาะปัสสาวะทำได้ดีขึ้น เมื่อกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงขึ้น ก็ให้เพิ่มน้ำหนักของแท่งพลาสติกเพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงทีละน้อย กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจะแข็งแรงขึ้นภายใน 2 - 3 สัปดาห์ และอาการปัสสาวะเล็ดระดับอ่อนถึงระดับปานกลางจะสามารถหายไปหลังระยะเวลา 8 - 12 สัปดาห์ ยังมีวิธี Biofeedback ซึ่งเป็นการสะท้อนกลับทางชีวภาพ ด้วยการใช้เครื่องมือวัดค่าการทำงานของร่างกายหรือการจดบันทึกเพื่อติดตามดูการหดตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ วิธีนี้สามารถใช้คู่กับการออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อผ่อนคลายและรักษาอาการปัสสาวะเล็ด การจดเวลาถ่ายปัสสาวะและการฝึกหัดให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดและควบคุมการขับถ่าย (Bladder training) ก็เป็นวิธีของ Biofeedback ในการจดเวลาถ่ายปัสสาวะ ผู้ป่วยจะเขียนตารางการถ่ายปัสสาวะและการรั่วไหลของปัสสาวะ จากข้อมูลที่ปรากฏบนตาราง ผู้ป่วยสามารถที่จะวางแผนในการถ่ายปัสสาวะออกก่อนที่ปัสสาวะจะเล็ดครั้งต่อไป มักมีการขอให้ผู้ป่วยจดบันทึกรายละเอียดการถ่ายปัสสาวะ เวลา และจำนวนปัสสาวะใน 1วัน หรือเป็นเวลาหลายวัน หรือ 1 สัปดาห์ การรักษาอาการปัสสาวะเล็ดด้วยยาอาจรวมถึงการใช้ ยา Fesoterodine ยา Tolterodine และ ยา Oxybutynin มีรายงานว่าการใช้ยาได้ผลค่อนข้างน้อยและต้องคำนึงผลข้างเคียง (Side effects) ด้วย ผ่าตัดที่เรียกว่า Sling procedure เป็นการผ่าตัดที่ใช้รักษาอาการปัสสาวะเล็ดแบบ Stress incontinence ในผู้หญิง โดยใช้เชือก (Sling) ที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ที่อยู่ในรูปของโบว์เส้นเล็ก หรือบางทีก็ทำด้วยวัสดุชีวภาพที่ได้จากวัวหรือหมู หรือจากเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ท่อปัสสาวะของผู้ป่วยเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมาใช้ทดแทนกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่เสื่อมไป และช่วยพยุงท่อปัสสาวะ การผ่าตัด TVT/Transvaginal tape (Tension-free transvaginal) เป็นการผ่าตัดที่ใช้รักษาอาการปัสสาวะเล็ดแบบ Stress incontinence โดยการวางแถบตาข่ายพอลิโพรพิลีน (Polypropylene mesh tape) ไว้ใต้ท่อปัสสาวะ เป็นการผ่าตัดเล็กโดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที เปิดแผลเพียงเล็กๆ 2 จุด และผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลย มีอัตราในการรักษาได้อยู่ที่ร้อยละ 86 - 95 อาการแทรกซ้อน เช่น กระเพาะปัสสาวะทะลุ หากทำไม่ถูกวิธี เป็นหัตการที่เจาะเข้าร่างกายเพียงเล็กน้อย (Minimally invasive procedure) การผ่าตัด TOT (Transobturator tape) เป็นการผ่าตัดที่ใช้รักษาอาการปัสสาวะเล็ดแบบ Stress incontinence โดยการพยุงท่อปัสสาวะด้วยการใส่แถบตาข่ายไว้ใต้ท่อปัสสาวะทางขาหนีบ (Groin area) การผ่าตัดวิธีนี้มีอัตราในการรักษาได้อยู่ที่ร้อยละ 82 การปรับตำแหน่งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder repositioning) เนื่องจากผู้หญิงที่มีภาวะปัสสาวะเล็ดแบบ Stress incontinence มักมีกระเพาะปัสสาวะที่หย่อนยานลงมาถึงช่องคลอด ดังนั้นการผ่าตัดนี้จึงต้องการดึงให้กระเพาะปัสสาวะอยู่สูงกว่าระดับปกติ แล้วรัดด้วยเชือกไว้กับกล้ามเนื้อ เอ็น หรือกระดูก ในกรณีที่รุนแรงอาจผูกกระเพาะปัสสาวะด้วยแถบที่กว้าง ซึ่งไม่เป็นการช่วยยกกระเพาะปัสสาวะเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยกดก้นลงเพื่อป้องกันการรั่วที่อาจเกิดกับกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะส่วนบน การผ่าตัด MMK (Marshall-Marchetti-Krantz) เป็นการผ่าตัดบริเวณคอของท่อปัสสาวะ (Bladder neck suspension surgery) ผู้หญิงประมาณร้อยละ 85 จะใช้วิธีการผ่าตัดแบบนี้เพื่อรักษาอาการปัสสาวะเล็ดแบบ Stress incontinence นอกจากนี้ ผ้าอ้อมซึมซับปัสสาวะก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยคนที่มีอาการปัสสาวะเล็ด ซึ่งมีทั้งชนิดที่เป็นแบบกางเกงซึมซับหรือแผ่นซึมซับ |
Soff*****i |
16 สิงหาคม 2560 15:09:41 #4 ขอแอบเกาะกระทู้เข้ามาติดตามศึกษาไว้ก่อนด้วยคน เพราะหลังคลอดแล้วเราก็อยากออกจากบ้านไปแบบสวยๆ ไม่ต้องมาใส่แพมเพิสให้ตุงกางเกงอะค่ะ |
Anonymous |
17 สิงหาคม 2560 01:55:44 #5 เดี๋ยวก็ชินค่ะ ตอนแรกๆเราก็ตกใจนะ จนตอนนี้ท้องลูกคนที่ 3 แล้วค่ะ เลยชิวๆ อาการเหล่านี้เดี๋ยวมันจะหายไปเอง ช่วงที่เป็น ดิชั้นก็ไปซื้อแผ่นสำหรับซึมซับปัสสาวะของไลฟ์รี่มาใช้ ใช้ยี่ห้อเดียวตั้งแต่ลูกคนแรกยันลูกคนที่สาม เพราะใช้มานานแล้วด้วยไม่อยากจะเปลี่ยน แต่ถ้ากังวลก็ไปปรึกษาคุณหมอดูก็ได้ค่ะ เพื่อความสบายใจ |
Sins*****a