กระดานสุขภาพ
มีใครเคยใส่กางเกงผ้าอ้อมแบบสลิมบ้างมั้ยคะ | |
---|---|
25 กรกฎาคม 2560 16:33:00 #1 ตอนนี้เรามีอาการปัสสาวะเล็ดเยอะขึ้น แบบแผ่นซึมซับแบบบางๆเริ่มรับไม่ไหวละ ทีนี้เห็นบางยี่ห้อเค้ามาเกงเกงผ้าอ้อมแบบอัลตร้าสลิมด้วย เลยอยากมาถามข้อมูลเผื่อมีใครเคยใส่ ลองแชร์ประสบการณ์นิดนึงค่ะ |
|
อายุ: 34 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 70 กก. ส่วนสูง: 165ซม. ดัชนีมวลกาย : 25.71 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
Anonymous |
25 กรกฎาคม 2560 16:48:38 #2 เรายังไม่เคยใส่นะคะ แต่เราว่าถ้า จขกท เป็นเยอะขึ้น รีบไปหาหมอเถอะค่ะ จะได้รีบรักษาให้ถูกวิธี แต่ที่ จขกท ใช้แผ่นซึมซับอยู่ ถือว่ามาถูกทางแล้วนะคะ ยังไงขอให้หายไวไวค่ะ |
Anonymous |
27 กรกฎาคม 2560 17:05:40 #3 เราเคยใส่ค่ะ แรกๆเราใช้แผ่นซึมซับปัสสาวะของไลฟ์รี่ก่อน ใช้แบบที่รองรับได้เยอะสุด แต่พอหลังๆเริ่มเยอะขึ้นอีก ก้อเปลี่ยนมาใช้แบบกางเกงสลิม เราโอเคนะไม่อบเลย ไม่ชื้นด้วย แถมเป็นแบบเอวต่ำ แต่งตัวได้สบายๆ เจ้าของกระทู้ลองไปซื้อมาใช้ดูค่ะ |
Anonymous |
27 กรกฎาคม 2560 17:34:18 #4 ตอนเราเป็นเยอะ เราข้ามไปใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่เลยค่ะ หนาเชียววว เดี่ยวนี้มีแบบสลิมแล้วหรอคะเนี่ยะเพิ่งรู้ |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
29 กรกฎาคม 2560 07:57:44 #5 โรคชำรั่ว หรือ อาการปัสสาวะเล็ด (Urinary incontinence (UI), Involuntary urination, Enuresis) หมายถึง ภาวะที่มีปัสสาวะไหลเล็ดออกมาโดยไม่ตั้งใจและไม่สามารถควบคุมได้ (กลั้นปัสสาวะไม่ได้) น้ำและของเสียในร่างกายจะถูกขับออกโดยไต ทางกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ในระหว่างการถ่ายปัสสาวะ กล้ามเนื้อ Detrusor ในผนังกระเพาะปัสสาวะจะหดตัวทำให้ปัสสาวะไหลออกทางท่อปัสสาวะในขณะเดียวกันกล้ามเนื้อ Sphincter ที่อยู่รอบๆ ท่อปัสสาวะจะคลายตัวให้ปัสสาวะไหลออกจากร่างกาย อาการปัสสาวะเล็ดจะเกิดเมื่อกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะหดตัวทันทีทันใดหรือกล้ามเนื้อที่อยู่รอบท่อปัสสาวะคลายตัวในทันทีทันใด นพ.ดนัยพันธ์ กล่าวว่า โดยทั่วไปผู้หญิงน่าจะเป็นมากกว่าผู้ชาย สาเหตุเนื่องจากผู้หญิงมีหูรูดซึ่งทำหน้าที่ปลดปล่อยปัสสาวะเพียง 2 อัน แต่ผู้ชายมี 3 อัน และเมื่อวัยล่วงเลย การทำงานของหูรูดเสื่อมสภาพลง ทำให้ควบคุมปัสสาวะได้น้อยลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ชายเมื่อถึงวัยหนึ่งต่อมลูกหมากที่โตขึ้นจะไปก่อให้เกิดการระคายเคืองที่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการบีบตัวบ่อยขึ้น ทำให้โอกาสที่จะเกิดอาการโอเอบีสูงมากขึ้นเช่นกัน โดยอัตราเฉลี่ยของผู้มีโอกาสจะเป็นโรคนี้เริ่มต้นที่อายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุของของอาการปัสสาวะเล็ดในผู้หญิงมักเกิดจาก Stress urinary incontinence (SUI) หมายถึง ภาวะที่มีปัสสาวะเล็ดออกมาโดยควบคุมไม่ได้ขณะออกแรงเบ่ง ไอ หรือจาม ซึ่งเป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์มากที่สุด ภาวะปัสสาวะเล็ดอาจเกิดจาก การมีปัสสาวะมาก (Polyuria) ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) อาการกระหายน้ำมากเรื้อรัง (Primary polydipsia) โรคเบาจืดชนิด Central diabetes insipidus (CDI) และ ชนิด Nephrogenic diabetes insipidus (NDI) ความผิดปกติอย่าง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) ความผิดปกติของแนวกระดูกสันหลัง (Spina bifida) โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน (Strokes) และการได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง อาจทำให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ การตรวจร่างกายจะเน้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ด เช่น มีก้อนเนื้อที่อุดขวางทางเดินปัสสาวะ ภาวะอุจจาระอุดตัน (Stool impaction) และประสาทรับรู้การทำงานไม่ดี การทดสอบจะวัดความสามารถของกระเพาะปัสสาวะและปัสสาวะที่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งสะท้อนถึงการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะที่แย่ลง การรักษามีหลายวิธี ตั้งแต่การจัดพฤติกรรม (Behavior management) การฝึกหัดให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดและควบคุมการขับถ่าย (Bladder training) การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic floor therapy) การกินยา และ การผ่าตัด การรักษาจะได้ผลดีหรือไม่ขึ้นกับการวิเคราะห์โรคเป็นอันดับแรก หนึ่งในการรักษาที่นิยมมากที่สุดคือ การออกกำลังกายบริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน การฝึกขมิบกล้ามเนื้อรอบช่องคลอด (Kegel exercise) จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นแข็งแรง และกล้ามเนื้อหูรูด(Sphincter muscles) สามารถลดการรั่วได้ ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 60 ปี จะได้รับประโยชน์มากที่สุด ผู้ป่วยควรทำอย่างน้อย 24 ครั้ง ใน 1 วัน และอย่างน้อย 6 สัปดาห์ติดต่อกัน จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และทำให้การควบคุมกระเพาะปัสสาวะทำได้ดีขึ้น เมื่อกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงขึ้น ก็ให้เพิ่มน้ำหนักของแท่งพลาสติกเพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงทีละน้อย กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจะแข็งแรงขึ้นภายใน 2 - 3 สัปดาห์ และอาการปัสสาวะเล็ดระดับอ่อนถึงระดับปานกลางจะสามารถหายไปหลังระยะเวลา 8 - 12 สัปดาห์ ยังมีวิธี Biofeedback ซึ่งเป็นการสะท้อนกลับทางชีวภาพ ด้วยการใช้เครื่องมือวัดค่าการทำงานของร่างกายหรือการจดบันทึกเพื่อติดตามดูการหดตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ วิธีนี้สามารถใช้คู่กับการออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อผ่อนคลายและรักษาอาการปัสสาวะเล็ด การจดเวลาถ่ายปัสสาวะและการฝึกหัดให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดและควบคุมการขับถ่าย (Bladder training) ก็เป็นวิธีของ Biofeedback ในการจดเวลาถ่ายปัสสาวะ ผู้ป่วยจะเขียนตารางการถ่ายปัสสาวะและการรั่วไหลของปัสสาวะ จากข้อมูลที่ปรากฏบนตาราง ผู้ป่วยสามารถที่จะวางแผนในการถ่ายปัสสาวะออกก่อนที่ปัสสาวะจะเล็ดครั้งต่อไป มักมีการขอให้ผู้ป่วยจดบันทึกรายละเอียดการถ่ายปัสสาวะ เวลา และจำนวนปัสสาวะใน 1วัน หรือเป็นเวลาหลายวัน หรือ 1 สัปดาห์ การรักษาอาการปัสสาวะเล็ดด้วยยาอาจรวมถึงการใช้ ยา Fesoterodine ยา Tolterodine และ ยา Oxybutynin มีรายงานว่าการใช้ยาได้ผลค่อนข้างน้อยและต้องคำนึงผลข้างเคียง (Side effects) ด้วย การผ่าตัด TVT/Transvaginal tape (Tension-free transvaginal) เป็นการผ่าตัดที่ใช้รักษาอาการปัสสาวะเล็ดแบบ Stress incontinence โดยการวางแถบตาข่ายพอลิโพรพิลีน (Polypropylene mesh tape) ไว้ใต้ท่อปัสสาวะ เป็นการผ่าตัดเล็กโดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที เปิดแผลเพียงเล็กๆ 2 จุด และผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลย มีอัตราในการรักษาได้อยู่ที่ร้อยละ 86 - 95 อาการแทรกซ้อน เช่น กระเพาะปัสสาวะทะลุ หากทำไม่ถูกวิธี เป็นหัตการที่เจาะเข้าร่างกายเพียงเล็กน้อย (Minimally invasive procedure) การผ่าตัด TOT (Transobturator tape) เป็นการผ่าตัดที่ใช้รักษาอาการปัสสาวะเล็ดแบบ Stress incontinence โดยการพยุงท่อปัสสาวะด้วยการใส่แถบตาข่ายไว้ใต้ท่อปัสสาวะทางขาหนีบ (Groin area) การผ่าตัดวิธีนี้มีอัตราในการรักษาได้อยู่ที่ร้อยละ 82 การปรับตำแหน่งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder repositioning) เนื่องจากผู้หญิงที่มีภาวะปัสสาวะเล็ดแบบ Stress incontinence มักมีกระเพาะปัสสาวะที่หย่อนยานลงมาถึงช่องคลอด ดังนั้นการผ่าตัดนี้จึงต้องการดึงให้กระเพาะปัสสาวะอยู่สูงกว่าระดับปกติ แล้วรัดด้วยเชือกไว้กับกล้ามเนื้อ เอ็น หรือกระดูก ในกรณีที่รุนแรงอาจผูกกระเพาะปัสสาวะด้วยแถบที่กว้าง ซึ่งไม่เป็นการช่วยยกกระเพาะปัสสาวะเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยกดก้นลงเพื่อป้องกันการรั่วที่อาจเกิดกับกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะส่วนบน การผ่าตัด MMK (Marshall-Marchetti-Krantz) เป็นการผ่าตัดบริเวณคอของท่อปัสสาวะ (Bladder neck suspension surgery) ผู้หญิงประมาณร้อยละ 85 จะใช้วิธีการผ่าตัดแบบนี้เพื่อรักษาอาการปัสสาวะเล็ดแบบ Stress incontinence นอกจากนี้ ผ้าอ้อมซึมซับปัสสาวะก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยคนที่มีอาการปัสสาวะเล็ด ซึ่งมีทั้งชนิดที่เป็นแบบกางเกงซึมซับหรือแผ่นซึมซับ |
Karn*****a