กระดานสุขภาพ
ขอคำแนะนำเรื่องการถ่ายเบาหน่อยค่ะ | |
---|---|
23 กรกฎาคม 2560 16:52:54 #1 คือเราเป็นลูกเรือบนเครื่องบินของสายการบินนึงค่ะ ซึ่งอย่างที่หลายคนอาจจะทราบดีว่า อาชีพลูกเรือมันต้องทำงานบนเครื่องตลอดเวลา จนบางทีแทบไม่มีเวลาเข้าห้องน้ำเลยค่ะ มีหลายครั้งที่เราอั้นตั้งแต่บนฟ้า กว่าจะได้เข้าก็เครื่องลงจอด เราเลยเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบค่ะ ปวดเบาบ่อยๆและถ่ายทีละน้อยๆ เลยอยากรู้ว่ามีใครมีคำแนะนำดีๆมั้ยคะ ทุกวันนี้ขึ้นเครื่องไม่กล้ากินน้ำเยอะเลยค่ะ กลัวปวดละไม่ได้เข้า |
|
อายุ: 28 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 50 กก. ส่วนสูง: 165ซม. ดัชนีมวลกาย : 18.37 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
Anonymous |
23 กรกฎาคม 2560 17:05:40 #2 เป็นแอร์อยู่เหมือนกันค่ะ แนะนำให้กินน้ำเยอะๆด้วยค่ะ เพราะทำการบนเครื่องผิวจะแห้งและเหี่ยวง่ายถ้ากินน้ำน้อยเดี๋ยวเหี่ยวเร็วนะคะ ส่วนวิธีแก้ปัญหาของเรานั้นเราใส่แผ่นซึมซับปัสสาวะเล็ดค่ะ ของไลฟ์รี่แบบที่ความจุเยอะสุดเลยค่ะ เวลาปวดเล็ดลอดมานิดหน่อยก้อพอรับได้ค่ะ แล้วมีเวลาก็จะรีบเปลี่ยนแผ่นใหม่ รู้สึกสบายขึ้นเยอะเลยค่ะ ไม่เสี่ยงต่อการเป็นนิ่วด้วยนะคะ ลองทำตามดูค่ะ |
Anonymous |
25 กรกฎาคม 2560 16:49:58 #3 จขกท.ไม่ควรกลั้นฉี่บ่อยๆ หรือดื่มน้ำน้อยนะคะ เดี๋ยวจะเป็นนิ่วแบบเรา นี่ทรมานมากเลยค่ะ ยังไงต้องรีบรักษาและปรับพฤติกรรมค่ะ แล้วช่วงที่มีอาการก้อหาตัวช่วยอย่างแผ่นซึมซับมาใช้นะคะ |
Anonymous |
27 กรกฎาคม 2560 17:06:57 #4 เป็นแอร์นี่ไม่มีเวลาแม้จะเข้าห้องน้ำเลยหรอคะ ไม่เคยรู้เลย ยังไงก้อสู้ๆนะคะ |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
29 กรกฎาคม 2560 07:48:52 #5 การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection) หรือเรียกย่อว่า ยูทีไอ (UTI) คือ โรคหรือภาวะที่เกิดจากอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ทั้งนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากเชื้อโรคทุกชนิด เช่น เชื้อรา และเชื้อไวรัส แต่พบได้น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับการติดเขื้อจากแบคทีเรีย ดัง นั้นในบทนี้จึงจะกล่าวถึงเฉพาะการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ระบบทางเดินปัสสาวะ คือระบบที่มีหน้าที่ในการกรองน้ำปัสสาวะจากเลือด และกำจัดออกจากร่างกายทางน้ำปัสสาวะ ประกอบด้วย ไต (ซ้าย และขวา) โดย ไตมีหน้าที่กรองปัสสาวะ บางคนแบ่งระบบทางเดินปัสสาวะเป็น 2 ส่วน คือ ระบบทางเดินปัสสาวะตอนบน (Upper urinary tract) ซึ่งประกอบด้วยไต กรวยไต (ไตส่วนที่มีลักษณะเป็นโพรง มีหน้าที่เก็บกักปัสสาวะก่อนปล่อยลงสู่ท่อไต) และท่อไต การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นโรค/ภาวะที่พบได้บ่อยมาก พบเกิดได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็ก (พบได้ประมาณ 10% ของโรค/ภาวะนี้) ไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยทั่วไปมักพบในช่วงอายุ 16-35 ปี เป็นโรคพบในผู้หญิงบ่อยกว่าในผู้ชายประมาณ 4 เท่า โดยประมาณ 60%ของผู้ หญิงต้องเคยเกิดโรค/ภาวะนี้อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต เป็นโรค/ภาวะที่เกิดซ้ำได้บ่อย โดยพบว่า ประมาณ 50% เมื่อเกิดโรคแล้ว จะเกิดโรคซ้ำภายใน 1 ปี การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะมักเกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่างซึ่งเรียกว่า การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่าง (Lower Urinary tract infection หรือ Lower UTI) คือ โรค/ภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) และโรค/ภาวะท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethri tis) มากกว่าประมาณ 20-30 เท่าของการเกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะตอนบนซึ่งเรียกว่า การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะตอนบน (Upper Urinary tract infection หรือ Upper UTI) ซึ่งมักเป็นการติดเชื้อของกรวยไต (โรคกรวยไตอักเสบ) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ คือ ผู้หญิง เนื่องจาก ท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าของผู้ชายมาก เชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะ จึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ทั้งหญิงและชาย หรือมีเพศสัมพันธ์บ่อย จึงมีโอกาสติดโรคติด ต่อทางเพศสัมพันธ์ได้สูงกว่า โดยเฉพาะเมื่อมีคู่นอนหลายคน หรือในช่วงเมื่อมีการเปลี่ยนคู่นอน หรือเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศซึ่งรวมถึงท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะเกิดการบาดเจ็บจากเพศสัมพันธ์ จึงส่งผลให้ติดเชื้อได้ง่าย อาการจากการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่พบได้บ่อย คือ ปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อยๆ ปวดแสบเวลาปัสสาวะ โดยเฉพาะเมื่อสิ้นสุดปัสสาวะ และมักตื่นปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ อาการจากติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอื่นๆที่อาจพบได้ คือ อาจมีไข้ต่ำๆ อาการจากติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะตอนบนที่นอกเหนือจากที่กล่าวแล้ว คือ มีไข้ มักเป็นไข้สูง หนาวสั่น แพทย์วินิจฉัยการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ ประวัติเพศสัมพันธ์ การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะดูเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง อาจตรวจภายในในผู้ป่วยหญิง การตรวจทางทวารหนักในผู้ชายเพื่อตรวจคลำต่อมลูกหมาก และอาจมีการตรวจอื่นๆทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจย้อมเชื้อ และ/หรือเพาะเชื้อ จากปัสสาวะร่วมกับตรวจหาชนิดของยาปฏิชีวนะที่จะใช้ฆ่าเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น การเอกซเรย์ช่องท้องและอุ้งเชิงกราน และ/หรือการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ ทั้งนี้ขึ้นกับอาการของผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ แนวทางการรักษาการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ คือ การใช้ยาปฏิชีวนะ การรักษาสาเหตุ และการรักษาประคับประคองตามอาการ การใช้ยาปฏิชีวนะ โดยชนิด ขนาดยา (Dose) และระยะเวลาที่ใช้ยา ขึ้นกับ ความรุนแรงของอาการ เชื้อที่เป็นสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง การเป็นการเกิดโรคครั้งแรกหรือเป็นโรค/ภาวะย้อน กลับเป็นซ้ำ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย และในผู้ป่วยที่เกิดโรคบ่อย อาจมีการให้ยาปฏิชีว นะ เพื่อการป้องกันการเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ำ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ โดยทั่วไปเมื่อพบแพทย์ได้เร็ว การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจะไม่รุนแรง อาการจะดีขึ้นหรือหายได้ภายใน 2-3 วัน ทั้งนี้โดยเป็นการรักษาแบบผู้ป่วยนอกด้วยการกินยาปฏิชีวนะ แต่ในโรค/ภาวะกรวยไตอักเสบ โรคมักรุนแรง การให้ยาปฏิชีวนะมักให้ทางหลอดเลือดดำ และอาจจำเป็นต้องรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล แต่ถ้าพบแพทย์ช้า หรือมีการเกิดเป็นซ้ำบ่อยๆ (พบได้ประมาณ 25%ของผู้ป่วย โดย เฉพาะในผู้หญิง) อาจส่งผลให้เชื้อดื้อยา และโรครุนแรงจนเกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิต (เลือด)ได้ (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด) หรือเกิดเป็นโรคไตเรื้อรังได้ เมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ เพราะการรักษาจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องทั้งชนิดของยา ปริมาณยา (Dose) และระยะเวลาที่ได้รับยา เพื่อลดโอกาสเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ำจากการรักษาที่ไม่เหมาะสม และเชื้อดื้อยา ดังนั้นจึงเป็นโรคที่ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองให้โรคหายได้การดูแลตนเองและการพบแพทย์เมื่อมีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ คือ เมื่อพบแพทย์แล้ว ควรปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ การป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สำคัญ คือ ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วเมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม ทำความสะอาดอวัยวะเพศ และหลังการขับถ่ายจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของแบคทีเรียจากปากทวารหนัก |
Chit*****i